Advertisement
วิเคราะห์เจาะลึกการศึกษาไทย และการศึกษาต่างประเทศ |
เขียนโดย Administrator |
Thursday, 15 May 2008 |
วิเคราะห์เจาะลึกการศึกษาไทย และการศึกษาต่างประเทศ
(บทความนำเที่ยวเชิงวิพากษ์)
โดย ดร.สกุลรัตน์ กมุทมาศ
ผู้เขียนใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 40 ปี ทั้งเรียนหนังสือ เรียนแล้วเรียนอีก ได้ปริญญามาหลายใบ และทำงานสารพัดรูปแบบ ให้ได้ทั้งเงิน และประสบการณ์ สิ่งสำคัญที่ตักตวงมาได้มากที่สุดคือวิธีการพัฒนาการศึกษาทุกระดับ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ ที่ไปดูงานมากว่า 17 ประเทศ จากประสบการณ์ดังกล่าวผู้เขียนมองการศึกษาของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ที่ผ่านมา เห็นความแตกต่างที่ชัดเจน เหมือนคนส่องกระจกที่มีคุณภาพดี เห็นใบหน้าของตนเองแจ่มชัดทุกจุดฉันนั้น ครั้นจะไม่นำสิ่งที่ตนมองเห็นมาช่วยเหลือประเทศบ้านเกิดก็คงจะใจจืดใจดำทีเดียว
ผู้เขียนจะหยิบยกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเปรียบเทียบ วิเคราะห์ วิจารณ์ วิจัยเป็นเรื่อง ๆ พร้อมข้อเสนอแนะ แถมด้วยการพานำเที่ยวประเทศต่าง ๆ ตะลุยทุกเรื่องเป็นตอน ๆ ไป บางครั้งอาจจะพาไปสู่โลกแห่งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม คู่คี่ไปกับการศึกษาก็อย่าว่ากัน เพราะสิ่งเหล่านี้จะแยกกันไม่ออกเพราะอยู่ในวงจรเดียวกัน
ผู้เขียนขอเริ่มต้นเรื่องคุณภาพของคน โดยเฉพาะเยาวชนของประเทศสหรัฐอเมริกาเสียก่อน นิสัยของคนอเมริกันโดยรวมจะไม่เชื่อเรื่องงมงาย หรือยอมคนง่าย ๆ จะฟังมากกว่าพูด เวลาฟังเขาจะไม่พูดสวนคำ จะหยุดคิดสักนิด แล้วตอบเป็นฉาก ๆ ว่าไม่เห็นด้วยหรือเห็นด้วย เรื่องใดที่เกี่ยวกับทฤษฎี หลักการ ความคิด อุดมการณ์ ความถูกต้อง จะไม่ยอมรับง่าย ๆ แต่เมื่อเถียงกันเสร็จแล้ว ไม่เกิน 5 นาที ก็จะเลิกทะเลาะกัน และกลับมาพูดดีด้วยกันเป็นปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ชาวต่างชาติอย่างเราเมื่อไปอยู่ร่วมสังคมกับเขาใหม่ ๆ จะรับไม่ได้ แต่พออยู่กับเขาไปนาน ๆ ก็เริ่มติดนิสัยโต้แย้ง เอาเหตุผลออกมางัดข้อกับเขาบ้าง เหตุผลใครชนะก็ต้องยอมกัน
กลายเป็นสังคมที่อยู่ด้วยกันโดยใช้ปัญญา แต่ไม่ใช้อารมณ์ ฉะนั้นอเมริกันชนจึงสงบสุข เพราะเขาจะใช้ปัญญาแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อความถูกต้องสมบูรณ์ บ้านเมืองของเขาจึงร่วมกันแก้ปัญหาอย่างมีระบบ
อีกอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ คนในสังคมพูดภาษาเดียวกันหมด คำว่าภาษาเดียวกัน หมายถึง ความเข้าใจที่ตรงกัน ความเข้าใจในการปฏิบัติตนเพื่อความเป็นพลเมืองดี ความเข้าใจในการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามระเบียบของสังคม และความเข้าใจในการปฏิบัติกับคนอื่น เช่น รู้จักขอโทษ ขอบคุณ ให้โอกาสคนอื่นที่มาก่อนโดยการเข้าคิว ให้โอกาสคนอื่น และมีความสุภาพอ่อนน้อมต่อกัน รวมไปถึงความเคารพในสิทธิของคนอื่น พลเมืองรู้หน้าที่ของตนว่าอะไรเป็นหน้าที่ และสิทธิ คนอเมริกันจะหวงแหนและรักศักดิ์ศรียิ่งชีวิต
เยาวชนที่รู้หน้าที่ของตนมีอยู่ 3 ประเทศ ที่ฝึกได้ใกล้เคียงกัน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และเยอรมันนี ตอนเด็กเยาวชนของประเทศเหล่านี้จะใฝ่เรียนใฝ่รู้ ตักตวงวิชาการ ที่เห็นได้เด่นชัด ถ้าใครรู้ตัวว่าเรียนไม่เก่ง เมื่อสำเร็จชั้นมัธยมปลาย อายุอยู่ในเกณฑ์ทำงานได้คือ 18 ปีขึ้นไป จะหางานทำช่วยพ่อแม่ทันที บางคนก็แยกตัวออกไปตั้งตัวเป็นอิสระ บางคนก็ไปเรียนต่อเมื่อมีเงินสนับสนุนตนเองได้ เพราะมีมหาวิทยาลัยเปิดให้เข้าเรียนได้ตลอดชีวิต อยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อให้โอกาสคนได้เรียนจนถึงที่สุด
การที่คุณลักษณะของเยาวชน ประชาชน และสังคมของเขาเป็นเช่นนี้ เพราะนโยบายการศึกษาของชาติเขาดี ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่เหมือน ๆ กันคือ
1. รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาคน พัฒนาการศึกษาเป็นอันดับหนึ่ง โดยถัวเฉลี่ยทุกรัฐ ทุกประเทศที่พัฒนาแล้ว จะจัดงบประมาณเพื่อสร้างคน 70 – 80 เปอร์เซนต์ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด
2. เยาวชนทุกคนที่อยู่ในเกณฑ์เข้าเรียนจะต้องได้เรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ บุตรหลานที่อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อย จะได้เรียนฟรีหมด แม้ค่าเดินทางไปโรงเรียนก็จ่ายให้ ส่วนผู้มีรายได้มากจะมีโรงเรียนเอกชนที่ดี ๆ คู่คี่กันไป ให้ส่งบุตรหลานไปเรียนได้เสมอ
3. หลักสูตรในโรงเรียนโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา มีหลักสูตรที่แปลกกว่าประเทศไทยหลายอย่าง เช่น นักเรียนชั้นประถมศึกษาจะเริ่มมีวิชาการรู้จักและยกย่องตัวเอง (Self Esteem) และหลักสูตรการเคารพคนอื่น เป็นหลักสูตรปลูกฝังประชาธิปไตย บางทีก็ใช้ชื่อว่า Respect of Individuals เป็นต้น เด็กจึงรู้จักเข้าคิว เข้าแถว กล่าวคำสวัสดี ขอโทษ ขอบคุณ มาตั้งแต่เด็ก ๆ
4. วิธีการสอนของเขา จะเน้นการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ทุกเนื้อหา ทุกบริบท จะไม่เน้นการจำ และบูรณาการวิชาที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน และทุกขั้นตอนการสอนจะเน้นการรักษาสุขภาพ การควบคุมอารมณ์ และคุณธรรมศีลธรรมร่วมด้วย จะไม่มีวิชานี้แยกออกมาต่างหาก วิชาประวัติศาสตร์จะเรียนตั้งแต่เด็ก ๆ
คำว่าการสอนเชิงคิดวิเคราะห์ คือ ให้นักเรียนหัดแยกแยะ (Analyze) ว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร และสังเคราะห์ คือ สร้างสรรค์ตามความถนัด (Synthesyze) และนำสิ่งที่เรียนไปใช้เสมอนอกห้องเรียน (Apply) นี่เองที่ทำให้คนของเขารู้จักเถียงกันด้วยเหตุผล กลายเป็นสังคมอุดมปัญญา
ประเทศที่เป็นต้นแบบของสังคมอุดมปัญญาในเอเชียก็มีประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ในยุโรปมีหลายประเทศ จะหยิบยกมาอธิบายรายละเอียดต่อไป แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่สังเกตได้ง่ายคือการเมืองของประเทศเหล่านี้สงบนิ่ง เพราะคนมีการศึกษาที่ถูกต้องเศรษฐกิจดี มุ่งสร้างคนให้มีอาชีพ และเป็นคนดีของสังคม เขาทำได้อย่างไร ? จะพาไปเจาะลึกหลาย ๆ มุม
สำหรับประเทศไทย มีอะไรที่ดี ๆ มากมายจนประเทศอื่น ๆ อิจฉา แต่เหมือนคนซื้ออุปกรณ์สร้างบ้านที่ดี ๆ มากองไว้ แต่ขาดวิศวกรออกแบบ วางแผนสร้างบ้านให้ร่มรื่นสวยงาม ขณะนี้เราต้องการวิศวกรวางแผนพัฒนาคน (Human Resources Engineer) เมื่อนั้นเราจึงจะได้นักการเมืองที่มีคุณภาพให้กับประเทศ
|
วันที่ 29 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,409 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,409 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,177 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 37,664 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,998 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,895 ครั้ง |
เปิดอ่าน 47,502 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,944 ครั้ง |
|
|