Advertisement
สอนภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว (การสอนแบบบูรณาการ) |
เขียนโดย Administrator |
Wednesday, 14 May 2008 |
|
สอนภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว
(การสอนแบบบูรณาการ) |
|
|
โดย ดร.สกุลรัตน์ กมุทมาศ
|
|
ผู้เขียนได้กล่าวถึงการสอนโดยเน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์แล้ว ในฉบับก่อน อยากจะขอทบทวนอีกสักเล็กน้อยว่าเพราะเด็กไทยของเราคิดไม่เป็นนี่เอง ที่ทำให้รัฐบาลต้องปฏิรูปการศึกษากันยกใหญ่ กระบวนการคิดคือนักเรียนต้องรู้จักแยกแยะ สังเคราะห์ คือสร้างสรรค์ และนำสิ่งที่เรียนไปใช้ และหลังการปฏิรูปการศึกษาเป็นเวลา 7-8 ปี เด็กไทยคิดอย่างมีเหตุผลขึ้นไหม เด็กไทยรู้อะไรควรไม่ควรขึ้นไหม รวมทั้งผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างของความมีเหตุผล พอเหมาะพอดี และประเทศไทยเรากลายเป็นสังคมอุดมปัญญาขึ้นไหม หรือมัวแต่ทะเลาะกันโดยใช้อารมณ์ หรือยึดตนเองเป็นที่ตั้งอยู่เช่นนี้ แล้วเราจะปฏิรูปการศึกษากันไปทำไม เพื่อที่จะให้เด็กคิดเป็น คิดเก่ง และมีปัญญาในการแก้ปัญหาในชีวิต การสอนทุกวิชา ทุกบริบทต้องบูรณาการเข้าด้วยกัน โดยครูประจำสาขาต่าง ๆ ต้องทำงานเป็นทีม วางแผนร่วมกันว่า วิชาอะไรบ้างที่มีเนื้อหาตรงกัน และสามารถสอนร่วมกันในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ แทนที่โรงเรียนแต่ละแห่งจะมุ่งเน้นสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้เนื้อหาที่ไกลตัวเด็กไทย ซึ่งอยู่ในหนังสือซึ่งนำมาจากต่างประเทศ ทำให้ใช้เวลานานในการสอน เด็กเข้าใจยาก และเสียงบประมาณในการสอน ควรบูรณาการการสอนวิชาภาษาอังกฤษเข้ากับวิชาอื่นที่เรียนไปแล้ว
คำว่าบูรณาการ ภาษาอังกฤษใช้ว่า Integration หมายถึง การนำหลายวิชาที่เป็นเรื่องเดียวกันมาสอนพร้อมกัน เช่น การสอนวิทยาศาสตร์ เรื่อง อวัยวะภายในในการย่อยอาหาร ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษ ก็ควรจะสอนศัพท์ และคำบรรยายเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารเป็นภาษาอังกฤษด้วย
การสอนแบบบูรณาการมีประโยชน์มากมาย คือ 1) ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาวิชาลึกซึ้งขึ้น 2) ทำให้เนื้อหาที่จะสอนสั้นเข้า เพราะครูสอนเรื่องที่เหมือนกัน พร้อมกัน เวลาที่เหลือจะได้ทำกิจกรรมมากขึ้น
ฉะนั้น การสอนแบบบูรณาการจึงใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพราะเป็นการฝึกเยาวชนให้เป็นคนมีความรู้รอบด้าน และใช้ความรู้แก้ปัญหาอย่างผุ้มีไหวพริบ สติ ปัญญา จะเห็นว่านักเรียนได้รับการฝึกฝนในโรงเรียนเป็นเชิงบูรณาการ เมื่อเขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนไปแล้ว เขาก็จะสามารถผสมผสานวิชาที่เรียน ผนึกสิ่งที่เหมือนกันไปแก้ปัญหาในชีวิต เช่น การเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องการทำงานของเครื่องจักรกลภายในรถยนต์ รู้ชื่อ รู้หน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์แล้ว เขาก็จะถูกฝึกให้ขับรถยนต์ในวิชาการงานอาชีพ และในวิชาสังคม เรื่อง กฎจราจร เขาก็จะต้องเรียนพร้อม ๆ กันไปกับวิชาวิทยาศาสตร์และการงานอาชีพ ทำให้เขามีความรู้เรื่องการขับรถยนต์ และกฎจราจร พร้อมที่จะออกไปเป็นพลเมืองดีของสังคม คือเป็นผลผลิตที่สมบูรณ์แบบของประเทศ
|
|
ตัวอย่าง การวางแผนการสอนแบบบูรณาการ (Teaching Plan)
วิชา (Content) วิชาหลักวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร / วิชารองภาษาอังกฤษ เรื่อง Digestive System
ช่วงชั้นที่ (Level) ช่วงชั้นที่ 3
ชั้น (Grade) มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน (School) ระบุ
|
|
1. |
สาระการเรียนรู้ที่ (Theme) ศึกษาการขับถ่าย การย่อยอาหาร การรักษาสุขภาพ เรื่อง (Title) ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
(รายละเอียดในภาคผนวก หน้า ระบุหน้าในหนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร (Standard Expectation) มาตรฐาน ว. ที่ ........+ มาตรฐาน ต. ที่.............) |
|
2. |
จุดมุ่งหมาย (Purposes to meet expectations)
1. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายเป็นภาษาไทยตามหลักวิทยาศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเข้าใจ
3. เพื่อให้นักเรียนได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ร่วมวิชาและนำวิชาไปใช้ |
|
3. |
การประเมินเบื้องต้นก่อนสอน (Pre – Test) การทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอวัยวะภายในว่านักเรียนรู้ศัพท์ และเข้าใจหน้าที่หรือไม่ เช่น Stomach / Small intestine / Large intestine / etc. |
|
4. |
วางแผนการสอน – กิจกรรม นวัตกรรม (Innovation) กิจกรรมที่สร้างสรรค์ สื่อ อุปกรณ์ หนังสืออื่น ๆ
- อุปกรณ์การสอน – แผ่นภาพขนาดใหญ่เกี่ยวกับร่างกายภายใน (Internal Organism) ของมนุษย์ เน้นระบบย่อยอาหาร
4.1 (Warm – Up) ออกกำลังกาย และบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ เช่น move your stomach (3 นาที)
4.2 (Activities) นักเรียนบรรยายระบบย่อยอาหารเป็นภาษาไทยตามหลักวิทยาศาสตร์
4.3 (Activities) นักเรียนบรรยายเป็นภาษาอังกฤษตามแผ่นภาพเกี่ยวกับ Digestive System
4.4 (Activities) ครูตั้งคำถามให้นักเรียนตอบเป็นภาษาอังกฤษ
4.5 (Applications) ให้โครงงานหรือจัดนิทรรศการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและวิธีออกกำลังกาย |
|
5. |
การประเมินหลังการสอน (Post – Test) ทดสอบหลังเสร็จสิ้นการสอน เปรียบเทียบกับคะแนน Pre – Test
1. Measurement (ประเมินผล = คะแนน) หมายถึงการวัดคะแนนดิบ
2. Evaluation (วัดผล = คุณภาพ) หมายถึง การเอาคะแนนดิบมาแบ่งกลุ่มเป็นคุณภาพของนักเรียน เช่น เกรด A / B / C / D |
|
6. |
สรุป วิเคราะห์ สะท้อนผล (Analyzing Outcome) .....
1. Discipline (วินัย = ดี) นักเรียน กระตือรือร้น มีวินัย ร่วมมือหรือตั้งใจเรียน (15 % )
2. Perception (เรียนรู้ลึกซึ้ง = เก่ง) นักเรียนคิดวิเคราะห์ - แยกแยะ / สร้างสรรค์ / นำสิ่งที่เรียนไปใช้ 75 %
3. Attitude (ความลึกซึ้งชอบ เจตคตินำไปใช้ = มีความสุข) – นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน
- รักวิชา / รักครู / รักเพื่อน / รักโรงเรียน 10 % |
|
|
|
|
|
* บูรณาการ (Integration) = การสอนหลายวิชาแต่เรื่องเดียวกัน |
|
|
|
|
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Thursday, 15 May 2008 |
วันที่ 29 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,447 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 23,281 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,904 ครั้ง |
เปิดอ่าน 46,283 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,857 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,212 ครั้ง |
|
|