ห่านแสดงความรักกัน ดูแล้วพรอยเป็นสุขด้วย
ดอกไม้ วิวเทือกภูเขา ดูแล้วสดชื่น
ทะเล ต้นมะพร้าว โขดหินริมหาดที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สวนดอกไม้ เมืองนอก ภาพจากอินเตอร์เน็ท
รีสอร์ท เมืองเหนือ มีสวนดอกไม้นานาพันธุ์ ดูแล้วสดชื่น เปลี่ยนอารมณ์คนได้
มนุษย์ เป็นสัตว์พิเศษกว่าสัตว์อื่นๆ เพราะมนุษย์มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลง
ไปในทางที่ดีก็ได้ ทางที่ไม่ดีก็ได้ สุดแล้วแต่จะเลือกเอาทางไหน สิ่งสำคัญสุดที่
เราควรใส่ใจเป็นพิเศษก็คือ เรือง “จิต” เพราะจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน จะสำเร็จ
ลงได้ก็เพราะจิต ด้วยเหตุนี้ พึงรักษาจิตของตนให้เหนืออารมณ์ อย่าปล่อยให้
อารมณ์เหนือจิต ตัวอย่างที่เราเห็นกันในรัฐสภา ซึ่งมีข่าวว่า นักการเมืองทะเลาะ
กันถึงกับลงไม้ลงมือกัน นั่นก็เป็นเรื่องแสดงให้เห็นว่า นักการเมืองผู้นั้น ปล่อยให้
อารมณ์เหนือจิตของตน จึงทำให้เกิดเรื่องดังกล่าว ในสภาผู้ทรงเกียรติ์ ซึงเด็กๆ
ที่เป็นเยาวชนของชาติได้ดู ได้รับรู้ แล้วจะนึกคิดอย่างไร หวังว่า หลายโรงเรียน
คงจะต้องตอบคำถาม จากเด็กว่า ทำไมผู้ใหญ่ในสภาต้องทะเลาะกัน ต้องรบกัน
โดยไม่ละอายใจ(ขาดหิริ โอตตัปปะ) นี่ คือภาวะผู้นำของรัฐเป็นอย่างนี้แล้ว เรา
เป็นประชาชน ยังเลือกผู้นำเหล่านี้ ให้เป็นผู้นำทางการเมืองอีกหรือ มันเป็นเรื่อง
ที่น่าคิดกันให้มาก ว่า สภาพของผู้นำที่ปล่อยให้อารมณ์เหนือจิต น่าเป็นห่วงมาก
เอาเถิด อย่าคิดอะไรให้มาก วันนี้มาปล่อยวางกัน ทำใจให้เป็นสุข สงบ ปล่อยๆ
วางๆ ทิ้งๆ ขว้างๆ ทำให้ใจเบาสบายดี อย่ามานั่งเครียดเลย หัดทำสมาธิกันบ้าง
ก็จักทำให้ใจสงบลง ซึ่งทำให้พบความสุขในตัวเราเอง ไม่เชื่อลองทำดู ต่อไป
มาอ่านกลอนนี้ก่อน แล้วเรื่องอื่นค่อยว่ากัน
กลอน ๖
พรุ่งนี้ค่อยเหงา
วันนี้ ยิ้มให้ สุดสุด สมมุติ ว่าโลก สุขสันต์
ทิ้งทุกข์ ทิ้งโศก โรคพลัน ยิ้มกัน ปันใจ ให้คน
ทิ้งโลก โศกเศร้า เคล้าทุกข์ สนุก ใจดู กุศล
ละวาง ทางชั่ว ตัวตน คิดค้น หาทาง สร้างงาน
ทิ้งเหงา เศร้าจิต คิดข้อง มัวหมอง ข้องใจ ไขขาน
เกาะกิน กังขา มานาน ให้ผ่าน พ้นไป ใจเรา
วันนี้ ใจดี ยิ้มชื่น ขมขื่น ทิ้งไป ไม่เหงา
เศร้าลด หดหู่ ทุเลา โลกเรา สุขยิ่ง จริงเอย.
...หยาดกวี...
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒
อธิบายกลอน ๖
กลอน ๖ เป็นกลอนที่ ในหนึ่งบทมี ๒ คำกลอน หนึ่งคำกลอนมี ๒ วรรค
ทุกวรรคมี ๖ คำ ในหนึ่งบทจึงมี ๔ วรรค คือ วรรคสดับ วรรครับ วรรครอง วรรคส่งมีกฏเกณฑ์สัมผัสดังนี้
คำสุดท้ายวรรคหน้าทุกวรรค สัมผัสกับคำที่ ๒ หรือ ๔ ของวรรคหลัง ให้
คำสุดท้ายของวรรครับ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครอง หากจะแต่งบทต่อไป
ให้ร้อยสัมผัสจาก คำสุดท้ายของบทหน้า ไปยังคำสุดท้ายของวรรครับ ของบท
ถัดไป ดังแผน
...หยาดกวี...
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒
|