ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

อ้างพบธาตุหนักที่สุดมีเลขอะตอม 122


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดอ่าน : 15,143 ครั้ง
Advertisement

อ้างพบธาตุหนักที่สุดมีเลขอะตอม 122

Advertisement

เนเจอร์/นิวไซเอนทิสต์-นักฟิสิกส์อิสราเอลอ้างพบธาตุตัวใหม่ซ่อนอยู่ในธอเรียม มีเลขอะตอม 122 หนักมากที่สุดและมากกว่าธาตุยูเรเนียม แถมยังเสถียรอยู่ได้นานหลายร้อยล้านปี แต่นักวิจัยอื่นๆ ยังไม่ปักใจเชื่อ แจงอาจเป็นการปนเปื้อนของโมเลกุลอินทรีย์ขณะทดลองจึงได้สัญญาณคล้ายธาตุหนัก

แอมน็อน มารินอฟ (Amnon Marinov) นักฟิสิกส์หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮิบรู กรุงเยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล ยืนยันว่าเขาได้ค้นพบธาตุตัวใหม่ที่มีเลขอะตอม (atomic number) หรือจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากับ 122 ซึ่งถือว่ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมาไม่ว่าจะเทียบกับธาตุอื่นๆ ในธรรมชาติ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น ทำให้มันเป็นธาตุที่มีน้ำหนักมากที่สุดในเวลานี้ไปด้วย

อย่างไรก็ดีการค้นพบของเขาก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในหมู่นักฟิสิกส์ รอล์ฟ-ดีทมาร์ เฮิร์ซเบิร์ก (Rolf-Dietmar Herzberg) นักนิวเคลียร์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ชี้ว่างานวิจัยยังมีช่องโหว่อยู่หลายจุด

เฮิร์ซเบิร์กกล่าวว่า ปัจจุบันธาตุในธรรมชาติที่มีความเสถียรและมีน้ำหนักมากที่สุดคือยูเรเนียมซึ่งมีเลขอะตอมเท่ากับ 92 โดยช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักฟิสิกส์ต่างพยายามสังเคราะห์ธาตุที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้นด้วยเครื่องเร่งอนุภาค

กระทั่งปี 2549 นักฟิสิกส์จากสหรัฐฯ และรัสเซียจึงสังเคราะห์ธาตุตัวที่ 118 ได้สำเร็จ แต่แรงผลักที่ธาตุเลขอะตอม 118 มีต่ออนุภาคโปรตอนก็ทำให้เกิดแรงดันมหาศาลต่อนิวเคลียส และเพียงเสี้ยววินาทีก็แตกออกเป็นนิวเคลียสที่มีน้ำหนักน้อยลง

เฮิร์ซเบิร์กอธิบายว่า การแตกตัวของนิวเคลียสนี้เองถูกใช้ในการตรวจหาธาตุหนักตัวใหม่ โดยนักวิจัยจะจับตาดูการกระเด็นออกมาจากนิวเคลียสของธาตุฮีเลียมซึ่งเป็นธาตุเบา แล้วอนุมานน้ำหนักของธาตุต้นกำเนิดนั้นๆ แต่หากธาตุใหม่มีอายุนานหลายเดือนหรือนานไปกว่านั้นอีก นักวิจัยก็จะไม่พบการสลายตัวดังกล่าว

ทว่า มารินอฟแย้งว่า การจะค้นหาธาตุใหม่ที่มีความเสถียรต้องใช้วิธีที่ต่างออกไปจากนั้น ซึ่งเขาได้ใช้เครื่อง "พลาสมา-เซคเตอร์ ฟิลด์ แมส สเปคโทรเมทรี" (plasma-sector field mass spectrometry) ที่ให้สนามแม่เหล็กออกมากระทำต่อนิวเคลียสของธาตุธอเรียมบริสุทธิ์ซึ่งมีเลขอะตอม 90 โดยธาตุที่มีนิวเคลียสเบากว่าจะถุกเบนไปมากกว่าธาตุที่มีนิวเคลียสหนักกว่า

ธาตุธอเรียมมีมวลอะตอม (atomic mass) หรือจำนวนโปรตอนและนิวตรอนภายในนิวเคลียส 232 แต่มารินอฟพบสัญญาณของธาตุที่มีมวลอะตอม 292

"ผลการทดลองแสดงให้เห็นชัดว่าธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 122 อยู่จริง" มารินอฟกล่าว ยิ่งไปกว่านั้นเขาเชื่อด้วยว่าธาตุชนิดใหม่ยังจะเสถียรอยู่ได้เป็นร้อยๆ ล้านปี เนื่องจากโปรตอนและนิวตรอนภายในนิวเคลียสทั้ง 292 ถูกจัดเรียงใหม่ให้มีรูปร่างคล้ายเม็ดยาซึ่งสลายตัวได้ยากกว่าที่มีรูปร่างเป็นทรงกลม

กระนั้น เฮิร์ชเบิร์กยังแย้งว่า มารินอฟได้ใช้ธอเรียมไปนับล้านๆ อะตอม ทว่าสิ่งที่ตรวจพบกลับปรากฏเพียงสัญญาณอ่อนๆ อีกทั้งวิธีเทคนิคที่มารินอฟใช้ยังอาจปนเปื้อนโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดแล้วให้สัญญาณเหมือนธาตุหนัก ซึ่งโมเลกุลเหล่านั้นสามารถปนเปื้อนได้ในปั๊มสุญญากาศหรือเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ แต่มารินอฟปฏิเสธและยืนยันว่าการทดลองนี้ไม่มีการปนเปื้อนโมเลกุลที่มีน้ำหนักมากใดๆ

ขณะเดียวกัน การค้นพบยังได้รับการวิจารณ์จากนักฟิสิกส์อื่นๆ ด้วย โดยฟิล วอร์กเกอร์ (Phil Walker) นักนิวเคลียร์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ (University of Surrey) อังกฤษมองว่าหากการค้นพบดังกล่าวเป็นจริงก็จะเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่มาก แต่อีกด้านหนึ่งก็อาจมาจากการคาดเดาผิดพลาด และจากพื้นความรู้ที่มีอยู่นั้นเขาคิดว่าผลงานของมารินอฟที่นั้นยังไม่สมควรที่ตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการ

ขณะที่โรเบิร์ต อิชเลอร์ (Robert Eichler) ผู้ศึกษาในหัวข้อเดียวกันจากมหาวิทยาลัยเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เห็นว่าผลการค้นพบของมารินอฟไม่น่าเชื่อถือเอามากๆ

ส่วนเคนเน็ธ กรีกอริช (Kenneth Gregorich) จากห้องปฏิบัติการลอเรนซ์ เบิร์กเลย์สหรัฐฯ (Lawrence Berkeley National Laboratory) เผยว่ายังต้องการหลักฐานยืนยันมากกว่านี้ และเทคนิคที่พวกเขาใช้ก็อาจมีข้อผิดพลาด หากมีธาตุหนักดังกล่าวอยู่จริงก็น่าจะมีจำนวนนิวตรอนมากกว่า 170 ซึ่งตามทฤษฎี "หมู่เกาะแห่งความเสถียร" (island of stability) คาดว่าไอโซโทปของธาตุหนักที่มีอยู่น่าจะมีนิวตรอนอยู่ราว 184 ตัว แต่ยังไม่มีใครสังเคราะห์ได้

แต่ถึงจะมีเสียงแย้งมากมาย มารินอฟก็ยืนยันว่าเขาได้ค้นพบธาตุใหม่จริงๆ ผู้ออกมาวิจารณ์ก็อาจปฏิเสธสิ่งที่เขาค้นพบได้ แต่ไม่ว่าอย่างไร เขาก็ยังหวังว่างานชิ้นนี้จะได้รับการตีพิมพ์อยู่นั่นเอง.

 

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์ 8 พฤษภาคม 2551 11:40 น.


อ้างพบธาตุหนักที่สุดมีเลขอะตอม 122อ้างพบธาตุหนักที่สุดมีเลขอะตอม122

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เกลือในทะเล มาจากไหน?

เกลือในทะเล มาจากไหน?


เปิดอ่าน 30,004 ครั้ง
สรภัญตารางธาตุ

สรภัญตารางธาตุ


เปิดอ่าน 25,533 ครั้ง
หมึกปากกา ทำมาจากอะไร

หมึกปากกา ทำมาจากอะไร


เปิดอ่าน 60,667 ครั้ง
ธรรมชาติของห่วงโซ่อาหาร

ธรรมชาติของห่วงโซ่อาหาร


เปิดอ่าน 54,987 ครั้ง
แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหว


เปิดอ่าน 14,736 ครั้ง
รู้จักวิตามิน H

รู้จักวิตามิน H


เปิดอ่าน 22,055 ครั้ง
ปรากฏการณ์เรือนกระจก

ปรากฏการณ์เรือนกระจก


เปิดอ่าน 46,666 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ตารางธาตุ

ตารางธาตุ

เปิดอ่าน 64,645 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
พบหลุมยุบยักษ์ปริศนาที่ไซบีเรีย นักวิทย์เร่งหาคำตอบ
พบหลุมยุบยักษ์ปริศนาที่ไซบีเรีย นักวิทย์เร่งหาคำตอบ
เปิดอ่าน 13,753 ☕ คลิกอ่านเลย

"ซัคเกอร์"..ตัวอันตราย รุกทำลายสัตว์น้ำไทย
"ซัคเกอร์"..ตัวอันตราย รุกทำลายสัตว์น้ำไทย
เปิดอ่าน 59,722 ☕ คลิกอ่านเลย

การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
เปิดอ่าน 19,958 ☕ คลิกอ่านเลย

ความเข้าใจเรื่องแผ่นดินไหว: ประเทศไทยกับ 3 รอยเลื่อนมีพลัง และพื้นที่เสี่ยงภัย 5 ระดับ
ความเข้าใจเรื่องแผ่นดินไหว: ประเทศไทยกับ 3 รอยเลื่อนมีพลัง และพื้นที่เสี่ยงภัย 5 ระดับ
เปิดอ่าน 24,103 ☕ คลิกอ่านเลย

ฝนช่อมะม่วง
ฝนช่อมะม่วง
เปิดอ่าน 25,752 ☕ คลิกอ่านเลย

ระบบสุริยะอาจสูญสลาย! เมื่อนักดาราศาสตร์พบปรากฏการณ์ "ดาวมรณะ" กลืนดาวบริวาร
ระบบสุริยะอาจสูญสลาย! เมื่อนักดาราศาสตร์พบปรากฏการณ์ "ดาวมรณะ" กลืนดาวบริวาร
เปิดอ่าน 15,004 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบบำเหน็จบำนาญ
การยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบบำเหน็จบำนาญ
เปิดอ่าน 12,658 ครั้ง

รู้ยัง? “5 ผลไม้ เด่น ที่น่าปลูกในอนาคต” มีอะไรบ้าง
รู้ยัง? “5 ผลไม้ เด่น ที่น่าปลูกในอนาคต” มีอะไรบ้าง
เปิดอ่าน 21,224 ครั้ง

โฮเนะคาวา ซูเนโอะ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
โฮเนะคาวา ซูเนโอะ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
เปิดอ่าน 64,911 ครั้ง

ไม่ต้องพิมพ์ให้เมื่อยมืออีกต่อไป Google Docs ให้เราพิมพ์ข้อความด้วยการพูดบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ดูวิธีใช้
ไม่ต้องพิมพ์ให้เมื่อยมืออีกต่อไป Google Docs ให้เราพิมพ์ข้อความด้วยการพูดบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ดูวิธีใช้
เปิดอ่าน 44,975 ครั้ง

อริยสัจ 4
อริยสัจ 4
เปิดอ่าน 20,194 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ