Advertisement
มันมากับความเงียบ "โรคกระดูกพรุน" เร่งสะสม "แคลเซียม"ก่อนสายเกินแก้!!! (สกู๊ปแนวหน้า) |
|
|
|
คุณทราบหรือไม่ว่า...
"โรคกระดูกพรุน" (Osteoporosis) คือมฤตยูร้าย ที่กำลังคุกคามชาวโลกอย่างเงียบเชียบ
จากข้อมูลของ "องค์การอนามัยโลก" (WHO) บ่งชี้ว่ามีผู้คนมากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลกมีชีวิตอยู่ด้วยความทรมาน จากความพิการและความเจ็บปวดจากโรคกระดูกพรุน
มฤตยูเงียบชนิดนี้กลายเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอันดับ 2 ของโลก รองจากโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด โดยโรคนี้เกิดขึ้นกับผู้หญิง 1 ใน 3 ที่มีช่วงอายุระหว่าง 60-70 ปี และ 2 ใน 3 ของผู้มีอายุมากกว่า 80 ปี และอายุเฉลี่ยของผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ โฟกัสเข้ามาที่ทวีปเอเชีย องค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ.2050 จะมีคนเอเชียป่วยด้วยโรคกระดูกพรุนสูงถึง 50% ของจำนวนประชากรในโลก !!!
สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย พบว่ามีแนวโน้มผู้เป็นโรคกระดูกพรุนเพิ่มมากขึ้น คาดว่าในวันนี้มีคนไทยมากกว่า 2.25 ล้านคนต้องทนทุกข์กับมฤตยูเงียบดังกล่าว
ด้วยเหตุที่ โรคกระดูกพรุน ถูกจัดอันดับให้เป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการอาการผิดปกติใดๆ ในระยะเริ่มแรกก่อนจะแผลงฤทธิ์ให้รู้ตัวก็ต่อเมื่อกระดูกผุจนเกินเยียวยา การบอกกล่าวให้ความรู้เกี่ยวกับ โรคกระดูกพรุน จึงเป็นหนทางช่วยให้ผู้คนอีกมากมายไหวตัวรอดพ้นจากมฤตยูเงียบดังกล่าว...
ในร่างกายคนเรามีกระดูกชิ้นเล็ก-ใหญ่มากมายถึง 206 ชิ้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ...
"กระดูกแกน"(Axial skeleton) และ "กระดูกรยางค์" (Appendicularskeleton) โดยกระดูกแกนอยู่บริเวณกลางลำตัวทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะภายในและช่วยพยุงร่างกายได้แก่กระดูกขากรรไกร,สันหลัง, ซี่โครงฯ
ส่วนกระดูกรยางค์เป็นกระดูกที่ใช้ในการเคลื่อนไหวได้แก่ กระดูกสะบ้า-ไหปลาร้า,กระดูกแขนขา-เชิงกราน, ก้นกบ,กระดูกข้อมือ,ข้อเท้า, ฯ
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อยๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูกซึ่งมีผลทำให้กระดูกไม่สามารถจะรับน้ำหนักหรือแรงกดดันได้ตามปกติ ซึ่งภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดอาการ...
"กระดูกหัก"
โดยปกติกระดูกคน เราประกอบด้วยสารอินทรีย์ชื่อ "คอลลาเจน" (จากโปรตีน) ซึ่งจะก่อตัวเป็นฐานให้สารอนินทรีย์เช่น แคลเซียมฟอสเฟต มาตกผลึกจับตัวกับคอลลาเจน จนแปรสภาพกลายเป็นของแข็งที่สามารถรับน้ำหนักและมีความยืดหยุ่นในตัวเอง
เมื่อมองลึกลงไปถึงระดับเซลล์จะพบว่า กระดูกประกอบด้วยเซลล์หลัก 2 ชนิดคือ "เซลล์ที่เป็นตัวสร้างกระดูก"( Osteoblast) และ"เซลล์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูก"(Osteoclast) เพราะกระดูกของเราไม่ได้อยู่ในลักษณะนิ่งๆเหมือน การก่อกำแพงแต่จะเป็นลักษณะแบบไดนามิกคือ มีการเคลื่อนไหวถ่ายเท มีการสร้างขึ้นใหม่และสลายของเดิมกันไปอยู่ตลอดเวลา
ช่วงที่มีการสะสมของแคลเซียม มากที่สุดจะอยู่ในช่วงเด็ก ที่กำลังเจริญเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คือ ประมาณอายุ 14 ปีในเด็กผู้หญิง และประมาณ 16 ปีในเด็กชาย หลังจากหยุดสูงแล้วกระดูกยังมีการหนาตัวได้อีกเล็กน้อยจนถึงช่วงอายุประมาณ 30 ปี และจะคงที่อยู่สักระยะหนึ่งแล้วจึงจะเริ่มมีการสูญเสียเนื้อกระดูกไปเรื่อยๆ ปีละ 0.5-1% ต่อปีทั้งหญิงและชาย
ทว่าประเด็นที่สำคัญคือเมื่อกระดูกเริ่มบางลง เรา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากมีอาการแค่ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย หากไม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอกระดูกสลายเรื่อยๆ !!!
จากผลการศึกษาพบว่า แต่ละช่วงวัยมีการสูญเสียมวลกระดูกไม่เท่ากัน ผู้หญิงก่อนหมดประจำเดือนจะมีการสูญเสียมวลกระดูกสันหลังอัตราร้อยละ 1 ต่อปี และเพิ่มเป็นร้อยละ 3 ต่อปี หลังหมดประจำเดือน หากไม่ได้รับฮอร์โมนเสริมจะมีการสูญเสียถึงร้อยละ 20 ของปริมาณรวมที่จะต้องสูญเสียตลอดชีวิต หลังหมดประจำเดือน 5-7 ปี และก่อนอายุ 80 ปี ความหนาแน่นของกระดูกจะลดลงมากกว่าร้อยละ 47 ของมวลกระดูกทั้งหมด
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า เมื่อมองจากภายนอก กระดูกคนเรายังแยกได้อีก 2 แบบ คือ "แบบท่อนยาว" (cortical bone) และ"แบบท่อนแบน" (cancell ous bone) โดยจะมีการสูญเสียของเนื้อกระดูกที่แตกต่างกัน โดยที่กระดูกท่อนแบน จะมีการสูญเสียของเนื้อกระดูกก่อนและรวดเร็วกว่าแบบกระดูกท่อนยาว เมื่อความหนาแน่นลดลงจนถึงระดับหนึ่งจะเกิดการทรุดตัวได้แม้ในขณะที่กำลังทำงานบ้านอยู่
ส่วนกระดูกท่อนยาวนั้น มักไม่มีการทรุดตัวแต่มักจะหักเมื่อเกิดแรงกระแทกเข้ามาซึ่งแรงกระแทกอาจไม่จำเป็นต้องรุนแรงนัก เช่น อาจเกิดกระดูกต้นขาหักจาก การล้มลงในระดับยืน การเซถลาไปปะทะกำแพง เป็นต้น
ข้อมูลข้างต้นจะช่วยให้มองเห็นสถานภาพรวมของกระดูกในร่างกาย ตั้งแต่เกิดจนถึงวัยสูง อายุ...
ในช่วงเด็กจะมีการสร้างมากกว่าการทำลาย ในช่วงกลางคนการสร้างและการทำลายจะพอ ดีกันและการทำลายของกระดูกจะมีมากกว่าเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ
แต่ก็ไม่ใช่หมายความว่าผู้สูงอายุทุกคนจะต้องเกิดกระดูกสันหลังทรุดหรือกระดูกหักทุก ราย ตัวแปรสำคัญอยู่ที่การสะสมของเนื้อกระดูกไว้ตั้งแต่ในช่วงเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงที่มีการสะสมของกระดูกสูงสุด เพราะเมื่อมีการสูญเสียเนื้อกระดูกเพิ่มขึ้นในช่วงวัยหมดประจำเดือนไปก็ยังมีความหนาแน่นของกระดูกในเกณฑ์ปกติได้ ซึ่งจะต่างกับรายที่ไม่ได้มีการสะสมของกระดูกไว้ในวัยเด็ก เนื้อกระดูกก็อาจจะลดลงจนถึงระดับที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
สำหรับปัจจัยที่มีผลทำให้การสะสมของเนื้อกระดูกได้ไม่ดีนั้น มีหลากหลายปัจจัยไม่ว่าจะมาจากพันธุกรรม ,รับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วนและมีรสชาติเค็มจัด, ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน ,สูบบุหรี่ ,ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ,ไม่ออกกำลังกาย ,ขาดแคลเซียมเป็นเวลานาน ฯ
จากปัจจัยต่างๆข้างต้นนี้ บางปัจจัยมีผลต่อช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง แต่บางปัจจัยก็มีผลต่อการก่อให้เกิดโรคได้ตลอดชีวิต เช่น พันธุกรรม จะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกำหนดว่าแต่ละคนจะมีมวลกระดูกสูงสุดได้เท่าใด หนทางหลีกเลี่ยงหรือชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุน ควรเริ่มตั้งแต่วินาทีนี้ เด็กๆ เริ่มจาก
การออกกำลังกาย ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กระดูก การรับประทานอาหาร ครบ 5 หมู่ ที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ประกอบด้วยนมและผลิตภัณฑ์นม ปลาตัวเล็ก ถั่วเหลือง ผักใบเขียว โดยเฉพาะนมควรเริ่มดื่มตั้งแต่เด็ก ๆ เพื่อเสริมสร้างกระดูกให้มีความแข็งแรง
ส่วนในผู้ใหญ่-ผู้สูงอายุควรดื่มนมที่มีไขมันต่ำ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มเนื้อกระดูก บำรุงกระดูกให้แข็งแรงแต่เนิ่นๆ เพื่อรับมือกับมฤตยูเงียบนามว่า...
โรคกระดูกพรุน"
SCOOP@NAEWNA.COM |
|
วันที่ 22/5/2009 |
วันที่ 27 พ.ค. 2552
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,186 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,350 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,189 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,171 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 9,570 ครั้ง |
เปิดอ่าน 66,678 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,253 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,838 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,247 ครั้ง |
|
|