Advertisement
นักวิจัย ม.ขอนแก่นยกระดับ “ข้าวเม่า” เป็นอาหารเช้าสำเร็จรูป |
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ |
27 พฤษภาคม 2552 12:50 น. |
|
เวทีแถลงข่าว นักวิจัยมข.พบสื่อมวล |
|
|
|
|
|
ศูนย์ข่าวขอนแก่น - ศูนย์ข่าวขอนแก่น-นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดึงกระแสผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพนำ “ข้าวเม่า” ข้าวอ่อนไม่ขัดสี และเป็นธัญพืชอาหารพื้นบ้านชาวอีสาน มาสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นผลิตภัณฑ์ซีเรียล อาหารเช้าสำเร็จรูป เผยจุดเด่นผลิตภัณฑ์คงคุณค่าสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพครบถ้วน แต่ต้นทุนซีเรียลข้าวเม่าต่ำ เชื่อศักยภาพผลิตภัณฑ์แข่งขันได้กับธัญพืชซีเรียลของต่างประเทศ ล่าสุดอยู่ระหว่างขอรับรองมาตรฐาน อย. วางเป้าให้การสนับสนุนผลิตเชิงพาณิชย์ เชื่อตลาดโลกยอมรับ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) จัดกิจกรรมแถลงข่าว นักวิจัยม.ข.พบสื่อมวลชน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ เผยโฉมผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าพื้นฐานสู่อาหารสำเร็จรูป ที่เป็นผลงานวิจัยของ ผศ.ดร.วิเชียร วรพุทธพร อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี มข. วิจัยพัฒนาข้าวเม่า ให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารในรูปแบบซีเรียล สร้างมูลค่าเพิ่มกับสินค้าเกษตรในท้องถิ่น ณ ห้องประชุมสำนักงานอธิการบดี ชั้น 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผศ.ดร.วิเชียร วรพุทธพร อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้วิจัยเปิดเผยว่า จากกระแสความตื่นตัวของคนไทยและคนทั่วโลกที่ให้ความสนใจในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้นจึงได้นำข้าวเม่าซึ่งมีมากและได้รับความนิยมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาพัฒนาเป็นอาหารผลิตภัณฑ์ ข้าวเม่าซีเรียล อาหารเช้าที่มีคุณค่าสูงทางสารอาหารสูง และยังเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรด้วย
ข้าวเม่า มีลักษณะเฉพาะตัวที่มีความหอม มีสีเขียวธรรมชาติของเมล็ดข้าว คุณค่าทางอาหารคล้ายกับข้าวกล้อง เป็นข้าวที่ยังไม่สีเอารำออก จึงมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่ครบถ้วย โดยการวิจัยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สวทช.เมื่อปี 2542 การวิจัยจะคงคุณค่าทางอาหารและความหอมของข้าวเม่าไว้ ทั้งสามารถเก็บไว้ได้นาน ด้วยนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่แปรรูปเม็ดข้าวให้กลายเป็นแป้งและทำให้เม็ดข้าวยังคงคุณค่าทางอาหารตามธรรมชาติ
การศึกษาวิจัยได้เลือกพื้นที่การทำข้าวเม่าของบ้านน้ำอ้อม ตำบลน้ำอ้อม อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด และการทำข้าวเม่าของบ้านโพธิ์ศรี อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวเม่าแห้งจากข้าวเปลือก ใช้องค์ความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น ทำให้ข้าวเม่ามีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน
ผลจากการวิจัยดังกล่าวได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเช้าสำเร็จรูป หรือข้าวเม่าซีเรียล สามารถเก็บไว้นานถึง 8 เดือน มีลักษณะคล้ายกับผลิตภัณฑ์ธัญพืชซีเรียลของต่างประเทศ นำไปผสมกับนมสด รับประทานเป็นอาหารเช้า ซึ่งสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ซีเรียลของต่างประเทศได้ จุดที่ได้เปรียบคือต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เพราะวัตถุดิบสามารถปลูกได้เองทั่วไปในภาคอีสาน ทั้งยังนำมาแปรรูปได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวเม่าให้ได้รับการยอมรับในตลาดสากล
อาหารเช้าข้าวเม่า เป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็กและผู้ใหญ่ที่ต้องเร่งรีบออกจากบ้านในชั่วโมงเช้า สามารถนำข้าวเม่าอาหารเช้ามาผสมนมสด รับประทานเช่นเดียวกับอาหารเช้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีกลิ่นหอมรสชาติอร่อย และคุณค่าทางโภชนาสูง โดยเฉพาะวิตามินบี ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัส ส่งผลดีต่อสุขภาพทำให้สุขภาพจิตดี มีความตื่นตัว มีสมาธิสูง ช่วยปรับระดับกลูโคสและสารอาหารรองในสมอง ช่วยให้ระบบการทำงานของสมองดี
ผศ.ดร.วิเชียร กล่าวอีกว่าระหว่างนี้ ผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าอาหารเช้า หรือซีเรียลข้าวเม่า อยู่ระหว่างขั้นตอนการขอ อย.เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดสรรสินค้าโอทอป โดยพร้อมสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปพัฒนาเป็นข้าวเม่าซีเรียล เชื่อมั่นว่าหากมีการส่งเสริมเชิงพาณิชย์ ผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าอาหารเช้าซีเรียลจะสามารถก้าวสู่ตลาดอาหารเช้าสากลได้อย่างแน่นอน
|
|
|
|
|
|
|
วันที่ 27 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,231 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,185 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,681 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,366 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,093 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,338 ครั้ง |
เปิดอ่าน 133,094 ครั้ง |
|
|