Advertisement
สพฐ.เสนอตั้ง"หน่วยเฉพาะ"ป้องกันการซื้อเสียงเลือกตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตฯ แนะคุรุสภาถอนใบอนุญาตฯได้ถ้าเข้าข่ายผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ นายกสมาคม กก.ขั้นพื้นฐานเชื่อมีครูใช้วิธีไม่โปร่งใสเข้ามาเป็นตัวแทน แต่เอาผิดไม่ได้ แนะใช้วิธีสรรหา-แต่งตั้งแทน
จากกรณีที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาควบคุมการเลือกตั้งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา ที่จะมีการเลือกตั้งในเร็วๆ นี้ เพื่อไม่ให้เกิดการซื้อสิทธิขายเสียง ขณะที่เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ยืนยันไม่แก้กฎหมาย เพราะเพิ่งเริ่มใช้เมื่อปี 2551 และมองว่าเรื่องนี้อยู่ที่จิตสำนึกครูมากกว่านั้น
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า แนวทางการป้องปรามการทุ่มเงินซื้อเสียงเพื่อเข้ามาเป็นผู้แทนครูใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา 178 เขต ที่จะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 19 มิถุนายนนั้น ขณะนี้ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงจะมอบให้ผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งดูแลในเรื่องต่างๆ ของ สพฐ.ให้ช่วยดูแลเรื่องการเลือกตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตฯ ด้วย ทั้งนี้ สพฐ.จะรวบรวมข้อมูลจากหลายทาง หากมีการร้องเรียนก็จะส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบ
"ที่สำคัญในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในวันที่ 27 พฤษภาคม สพฐ.จะเสนอขอตั้งหน่วยเฉพาะ เพื่อติดตามดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ อีกทั้งจะขอให้โรงเรียนที่มีสภานักเรียนเข้มแข็ง ส่งนักเรียนเข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งของ อ.ก.ค.ศ.เขตฯ ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนรู้กระบวนการหนึ่งของประชาธิปไตยด้วย อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว ยังไม่เคยเห็นครูซื้อเสียงเข้ามาเป็นกรรมการ แต่ครูที่มีพรรคพวกเพื่อนฝูงก็อาจไปเจรจาชักชวนขอให้ช่วยสนับสนุนตัวเอง ซึ่งอาจเป็นบล็อคโหวตได้" นายสมเกียรติกล่าว
นายพิษณุ ตุลสุข ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สพฐ.กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ว่าการซื้อสิทธิขายเสียงไม่ได้เป็นเหมือนกันทุกเขต มีเพียงบางเขตที่ได้ยินข่าวว่า มีการจัดเลี้ยงเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ แต่ก็ยังเป็นแค่ข่าวลือ ไม่มีหลักฐาน และพยานยืนยัน จึงไม่อาจเอาผิดได้ แต่ถ้ามีจริงก็ถือว่าไม่ถูกต้อง ผิดจรรยาบรรณ และเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่นักเรียนในเรื่องประชาธิปไตย หากใครพบเบาะแสก็ขอให้ร้องเรียนมาที่คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ.และตน เพื่อตรวจสอบเอาผิดต่อไป โดยจะเก็บข้อมูลของผู้ร้องเรียนเป็นความลับ ซึ่งบางกรณีแม้ไม่อาจเอาผิดทางวินัย แต่หากเข้าข่ายผิดจรรยาบรรณวิชาชีพครู คุรุสภาก็สามารถพิจารณาถอดถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้
"ขอให้ทุกคนสำนึกในความเป็นครู เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน และต่อต้านพฤติกรรมซื้อสิทธิขายเสียง ซึ่งนายจุรินทร์ได้มอบนโยบายให้ ผอ.สพท.ช่วยดูแล อีกทั้ง สพฐ.อาจเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.เพื่อพิจารณาให้ ก.ค.ศ.ออกหลักเกณฑ์การควบคุมการเลือกตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตฯ รวมทั้ง ขอให้คุรุสภาดูแลควบคุมจรรยาบรรณวิชาชีพเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด" นายพิษณุกล่าว
นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ นายกสมาคมกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า การออกกฎระเบียบมาควบคุมเรื่องเลือกตั้งนั้น คงทำได้เพียงป้องปราม แต่ไม่สามารถป้องกันได้ เพราะเป็นเรื่องของจิตสำนึก เชื่อว่าในการเลือกตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตฯ ครั้งนี้ จะมีผู้แทนครูบางคนเข้ามาอย่างไม่โปร่งใส แต่จะตามไปเอาผิดไม่ได้ เพราะไม่มีหลักฐาน เนื่องจากคนที่จ้องกระทำผิด ย่อมต้องหาทางซ่อนหลักฐาน
นายบรรจงกล่าวว่า ขอเสนอให้มีการสรรหาและแต่งตั้งแทนการเลือกตั้งที่เลียนแบบสนามเลือกตั้งระดับชาติ โดยในส่วนของการสรรหานั้น ขอให้ตั้งคณะกรรมการจากบุคคลที่มีตำแหน่งและน่าเชื่อถือ มาดำเนินการสรรหาใน 76 จังหวัด จากนั้นเสนอ ศธ.เพื่อแต่งตั้ง การใช้กระบวนการสรรหาและแต่งตั้ง เชื่อว่าจะลดปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกผู้แทนครูใน อ.ก.ค.ศ.เขตฯ ได้ เพราะคงไม่มีใครอยากเอาตำแหน่งหน้าที่การงานของตัวเองมาเสี่ยงทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ข้อมูลจาก www.matichon.co.th
วันที่ 27 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,130 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,132 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,126 ครั้ง เปิดอ่าน 7,129 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง เปิดอ่าน 7,131 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,129 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,130 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,129 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,128 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,127 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,127 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 32,756 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,535 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,442 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,668 ครั้ง |
เปิดอ่าน 35,875 ครั้ง |
|
|