Advertisement
|
งดงาม... ผลงานสมเด็จพระเทพฯ เมื่อทรงศึกษาปริญญาโท ศิลปากร
เป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระปรีชาทางด้านศิลปวัฒนธรรมทุกสาขา และเมื่อครั้งทรงเป็นนักศึกษาปริญญาโท คณะโบราณคดี สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ทรงเรียนสาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก ทรงมีพระปรีชา เป็นที่กล่าวขวัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องปั้นดินเผา จิตรกรรมและภาพพิมพ์ ภาษา และวรรณกรรม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มยุรี วีระประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี บอกว่า ขณะที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงศึกษาปริญญาโทอยู่นั้น ทรงสนพระราชหฤทัยด้านการอ่านและแปลจารึกโบราณ
"พระองค์ทรงเป็นนักศึกษาต้นแบบที่ดีของนักศึกษาปริญญาโท ทรงศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และรับสั่งถามเสมอเมื่อทรงสงสัย นอกจากนี้ ยังทรงมีพระดำริที่มีประโยชน์อย่างมากต่อวิชาการนั้นๆ ทรงอ่านและเขียนตัวอักษรโบราณในจารึกได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ อย่างพระวิทยานิพนธ์ ทรงเสนอเรื่อง "จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง" ทรงได้รับการยกย่องจากนักปราชญ์ เพราะพระนิพนธ์เรื่องนี้เป็นเรื่องยากมาก ซึ่งผลการศึกษาของพระองค์ทำให้ได้ความรู้ใหม่ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ทั้งเรื่องที่มาและความหมายของคำว่า "พนมรุ้ง" พระองค์ทรงศึกษาและอธิบายไว้ว่า พนมรุ้งเป็นภาษาเขมร แปลว่าภูเขาใหญ่ และเป็นชื่อเดิมของภูเขาและปราสาทแห่งนี้มาแต่สมัยโบราณ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการโบราณคดีและใช้อธิบายจนถึงทุกวันนี้"
1.ทรงใช้เทคนิคกดแปะ เคลือบมันเงาสีเขียว 2.ทรงใช้สีน้ำวาดลงบนผ้าใบ ชื่อภาพเด็กนั่งอ่านหนังสือ 3.ทรงปั้นแจกันด้วยเทคนิคเคลือบขี้หมูและเคลือบผักตบชวา 4.ทรงวาดภาพลายเส้นสัญลักษณ์ 65ปี ม.ศิลปากร 5.ชื่อภาพป่าสีรุ้ง 6.ทรงปั้นจานรูปต้นไผ่ 7.ภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพฯ-ริมน่าน 8.ทรงพิมพ์โลหะสี |
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ.2536 มหาวิทยาลัยศิลปากรทูลเกล้าฯถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติประกาศให้ทรงเป็นนักศึกษาเก่าดีเด่นอีกด้วย
ส่วนพระอัจฉริยภาพเครื่องปั้นดินเผานั้น ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เสริมศักดิ์ นาคบัว ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเครื่องปั้นดินเผา เล่าว่า ตอนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนจิตรลดา สมัยระดับประถมศึกษา ทรงเคยปั้นรูปป่าช้า และขนมจีบใส่จาน
รศ.พิษณุ ศุภนิมิต - ผศ.มยุรี วีระประเสริฐ |
นอกจากนี้ เวลาที่พระองค์ เสด็จโรงงานแม่ริมเซรามิค จ.เชียงใหม่ จะทรงงานหลายเทคนิค เช่น การเพนท์สีบนเคลือบ เทคนิครากุ เทคนิคกดแปะ พระองค์จะใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีในการทรงลงมือสร้างงาน
ด้านรองศาสตราจารย์ พิษณุ ศุภนิมิต อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ กล่าวถึงพระปรีชาของพระองค์ท่านไว้ว่า เวลาพระองค์ท่านทรงงานศิลปะทรงแย้มพระสรวลตลอดเวลา ทรงมีอิสระไม่ยึดรูปแบบการวาด ซึ่งทรงบันทึกลายเส้นในสมุดบันทึกมากมาย
"ทรงโปรดวาดทิวทัศน์ ตรัสว่าวาดง่ายกว่าวาดคน และทรงมีพระปรีชาเขียนภาพด้วยพู่กันจีนซึ่งยากมาก นอกจากนี้ แม้แต่ประชวรก็ทรงเขียนรูปเพื่อผ่อนคลายอีกด้วย และยังใช้ห้องสรงเป็นห้องทรงงานเขียนรูปอีกด้วย ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นของพระองค์ท่านเป็นที่ยกย่อง จึงทำให้พระองค์ท่านได้รับการยกย่องเป็นวิศิษฏ์ศิลปิน"
ทั้งนี้ เพราะพระอัจฉริภาพ มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงจัดโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับงานศิลปะและวัฒนธรรม เนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร และทรงเป็นนักศึกษาเก่า จึงได้อัญเชิญผลงานที่พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกอบด้วยผลงานจิตรกรรม 21 ชิ้น ผลงานภาพพิมพ์ 5 ชิ้น และผลงานเครื่องปั้นดินเผา 29 ชิ้น จัดแสดงเป็นนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ พร้อมมีปาฐกถาและจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติอีกด้วย งานมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-27 มิถุนายน ที่หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
|
www.matichon.co.th
วันที่ 26 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,628 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,814 ครั้ง |
เปิดอ่าน 48,634 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,173 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,111 ครั้ง |
|
|