ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ป้องกันก่อนถูก 'ฟ้าผ่า' เรื่องง่าย ๆ ไม่ควรมองข้าม


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 27,743 ครั้ง
Advertisement

ป้องกันก่อนถูก

Advertisement

ฤดูฝนเวียนผ่านเข้ามาอีกหน ดูเหมือนปีนี้ “ฟ้าแรงเอาเรื่อง”เพราะแค่เริ่มต้นฤดู ฟ้าก็ผ่าคร่าชีวิตมนุษย์ไปแล้วหลายคน ทำเอาพวกที่ชอบสาบานหนาว ๆ ร้อน ๆ กันเป็นแถว และเกิด  คำถามมากมายถึง “สื่อล่อฟ้า” อย่าง ตะกรุด โทรศัพท์มือถือ  ว่าผู้ที่มีไว้ครอบครองเสี่ยงต่อการ ถูกฟ้าผ่าหรือไม่ ?
 
จากอดีตที่ผ่านมาปรากฏการณ์ฟ้าผ่าก่อให้เกิดความเชื่อมากมาย เช่น โลกตะวันตกกล่าวถึงสายฟ้าคือ อาวุธของเทพซีอุส (Zeus) อันเป็นเจ้าแห่งเทพ  ทั้งหมด ส่วนคนไทยมีเรื่องเล่าของยักษ์รามสูรและนางเมขลา ซึ่งนอกจากเรื่องเล่ามากมายแล้ว “ฟ้าผ่า” ยังส่งผลให้เกิดความ สูญเสียทรัพย์สินและชีวิตอีกด้วย
 
อ.คมสัน เพ็ชรรักษ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสื่อล่อฟ้าที่ทำให้คนได้รับผลกระทบว่า หากมองถึงวัตถุที่เป็นตัวทำให้ฟ้าผ่าใส่มนุษย์คือ วัตถุที่อยู่เหนือศีรษะขึ้นไป โดยเฉพาะสิ่งของเหล่านั้นมีลักษณะปลายแหลม เช่น ร่มที่ด้านปลายบนสุดเป็นเหล็กแหลมซึ่งเป็นตัวล่อให้ฟ้าผ่าได้เป็นอย่างดีหากอยู่ในที่โล่งแจ้ง
 
อย่างการที่ฟ้าผ่ามาบนตึกส่วนใหญ่สังเกตได้ว่า มักผ่าบริเวณส่วนที่เป็นมุมของตึก ซึ่งเสมือนสิ่งที่ล่อฟ้าผ่าได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหาก คนที่อยู่บนตึกสูงไม่ควรขึ้นไปยืนบนดาดฟ้าในเวลาฝนตกเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้
 
จากข่าวการเสียชีวิตของผู้สวมตะกรุดและผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ อ.คมสัน มองว่า ไม่น่าจะมีส่วนทำให้ฟ้าผ่าบุคคลดังกล่าวเพราะปกติสายฟ้าที่ผ่าลงมายังคนมักเกิดจากวัตถุที่อยู่เหนือศีรษะ ซึ่งการไปหลบฝนใต้ต้นไม้ใหญ่หรือใต้เสาไฟฟ้าในที่โล่งอาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้เสียชีวิต ขณะเดียวกันการใช้โทรศัพท์มือถือค่อนข้างมีความเป็นไปได้น้อยในการเป็นสื่อล่อฟ้า เนื่องจากมีคลื่นความถี่ต่ำ แต่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเวลา  ฝนตกอาจได้รับอันตรายจากแบตเตอรี่ระเบิด เพราะเมื่อน้ำฝนเข้าไปยังขั้วแบตจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้นจากการศึกษาโลหะต่าง ๆ ไม่อาจเป็นวัตถุล่อฟ้าได้หากไม่อยู่เหนือศีรษะมนุษย์
 
“สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ คนส่วนใหญ่ที่ถูกฟ้าผ่ามักมีร่างกายที่เปียกเพราะการถูกฟ้าผ่าผู้ที่ได้รับอันตรายมีผลเหมือนการถูกไฟฟ้าช็อต ดังนั้นการที่ร่างกายเปียก ก็เป็นอีกตัวกระตุ้นให้กระแสไฟจากฟ้าผ่าคร่าชีวิตได้”
 
ด้านแนวทางป้องกันเพื่อให้ปลอดภัยจากฟ้าผ่า อ.คมสัน กล่าวว่า ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใต้วัตถุที่มีความสูงในที่โล่ง เช่น เสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์ ต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น แต่หากหาที่กำบังมั่นคงไม่ได้ควรทำตัวให้ต่ำที่สุดโดยการนั่งยอง ๆ เก็บแขนและมือไว้บนตัก ไม่ควรหมอบหรือนอนราบไปกับพื้นเพราะหากฟ้าผ่ามาบริเวณใกล้เคียงน้ำบนพื้นอาจเป็นตัวนำกระแสไฟทำอันตรายได้
 
ส่วนอีกกรณีคือ การที่คนนั้นสวมใส่โลหะต่าง ๆ แล้วเกิดฟ้าผ่าบริเวณใกล้เคียง ส่งผลให้โลหะที่สวมอยู่หลอมละลายอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ เช่น ที่ผ่านมามีผู้เคราะห์ร้ายสวมใส่ทองยืนอยู่บริเวณป้ายรถเมล์แล้วเกิดฟ้าผ่าบริเวณใกล้เคียง รัศมีความร้อนของสายฟ้าทำให้สร้อยทองที่สวมอยู่หลอมละลาย พอตรวจชันสูตรศพดูแล้วพบว่า เหตุจากการเสียชีวิตเกิดจากการได้รับความร้อนจากวัตถุบริเวณต้นคอ 

พื้นที่เสี่ยงต่อการโดนฟ้าผ่าส่วนใหญ่เกิดบริเวณบนภูเขาสูง ที่ไม่มีต้นไม้ปกคลุมมาก และในกระท่อมซึ่งตั้งอยู่บริเวณสถานที่โล่งแจ้ง บริเวณเหล่านี้ประชาชนควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดความ เสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
 
อ.คมสัน กล่าวถึงการสังเกตฟ้าผ่าที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ว่า ฟ้าผ่า เกิดจากสายฟ้าที่วิ่งอยู่ในก้อนเมฆมีทั้งประจุ บวกและลบแลบออกมาเพื่อหาวัตถุเหนี่ยวนำบนพื้นโลก ซึ่ง ทำให้เกิดฟ้าผ่า สามารถแยกปรากฏการณ์ฟ้าผ่าได้ด้วยลักษณะดังนี้ 1.ฟ้าผ่าขึ้น สังเกตจากเส้นสายฟ้าที่ผ่าลงมามีลักษณะผ่าจากล่างขึ้นไปบน ส่วนใหญ่เกิดจากตึกที่มีขนาดสูง 2.ฟ้าผ่าจากบนลงล่าง ซึ่ง 80% มักเกิดในรูปแบบนี้ และมีอันตรายต่อมนุษย์ สามารถสังเกตจากเส้นฟ้าผ่า    มีลักษณะจากบนลงมาล่าง ขณะเดียวกันหากเห็นกลุ่มก้อนเมฆ กำลังเคลื่อนตัวมายังบริเวณที่  ยืนอยู่ควรรีบหาที่กำบังเพราะเป็นอีกสัญญาณอันตราย
 
“อานุภาพของฟ้าผ่ามีกระแสไฟฟ้าที่สูง เทียบได้เท่ากับการผ่าหนึ่งครั้งสามารถทำให้หลอดไฟสว่างได้ถึง 2 นาที หากมนุษย์โดนโดยตรงมีโอกาสเสียชีวิตสูง แต่หากอยู่ในรัศมีอาจได้รับบาดเจ็บและหูหนวกได้”
 
ด้านคนที่ต้องขับรถขณะฟ้าผ่ามีโอกาสได้รับอันตรายน้อย เพราะเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมาบนหลังคารถจะไหลลงไปยังพื้นดิน แต่ในบางรายที่ผู้โดยสารนั่งอยู่ในกระบะหลังกลางแจ้งย่อมทำให้เกิดอันตราย
 
อ.คมสัน กล่าวทิ้งท้ายว่า อยากให้ประชาชนทำตามคำ แนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะหาก ประสบเคราะห์ร้ายเหล่านี้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อตัวเอง ขณะเดียวกันต้องคอยสอดส่องดูแลบุตรหลานในช่วงที่ฝนตก เพราะเด็กหลายคนชอบออกไปเล่นน้ำฝนกลางแจ้ง
 
ดังนั้นหากทำความเข้าใจและรู้ถึงแนวทางแก้ไขจากการถูกฟ้าผ่า ย่อมเป็นผลดีต่อการดำรงชีวิตอย่างระมัดระวังจากภัยธรรมชาติ.


ปฐมพยาบาลเบื้องต้น... ช่วยชีวิตคนถูกฟ้าผ่า
 
การปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกฟ้าผ่าคือ

1. หากหัวใจหยุดเต้น (ตรวจโดยเอาหูฟังที่หน้าอกหรือจับชีพจร) ให้ใช้วิธี “นวดหัวใจภายนอก” โดยเอามือกดตรงที่ตั้งหัวใจให้ยุบลงไป 3-4 เซนติเมตร เป็นจังหวะ ๆ เท่าจังหวะการเต้นของหัวใจ (ผู้ใหญ่วินาทีละ 1 ครั้ง เด็กเล็กวินาทีละ 2 ครั้ง) นวด 10-15 ครั้ง เอาหูแนบฟังครั้งหนึ่ง
 
2. หากไม่หายใจ (ตรวจโดยดูการขยายของซี่โครง   และหน้าอก) ให้ใช้วิธีเป่าลมเข้าทางปากหรือทางจมูกของผู้ป่วย โดยการเป่าปาก จับผู้ป่วยนอนหงาย ใช้หัวแม่มือง้างปลายคางผู้ป่วยให้ปากอ้าออก หากมีเศษอาหารหรือวัสดุใด ๆ ให้ล้วงออกให้หมด แล้วจับศีรษะให้เงยหน้ามาก ๆ ผู้ช่วยเหลืออ้าปากแล้วประกบกับปากผู้ป่วยให้สนิท และเป่าลมเข้าไปอย่างแรงจนปอดผู้ป่วยขยายออก (ซี่โครงและหน้าอกพองขึ้น) แล้วปล่อยให้ลมหายใจของ  ผู้ป่วยออกเอง แล้วเป่าอีก ทำเช่นนี้เป็นจังหวะ ๆ เท่ากับจังหวะหายใจปกติ (ผู้ใหญ่นาทีละ 12-15 ครั้ง เด็กเล็กนาทีละ 20-30 ครั้ง) ถ้าเป่าปากไม่ได้ให้ปิดปากผู้ป่วยแล้วเป่าเข้าทางจมูกแทน 

ถ้าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นและไม่หายใจด้วย ให้นวดหัวใจสลับกับการเป่าปาก ถ้ามีผู้ช่วยเหลือเพียงคนเดียวก็ให้เป่าปาก 2 ครั้ง สลับกับการนวดหัวใจ 15 ครั้ง หรือถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคน ก็ให้นวดหัวใจสลับกับการเป่าปากเป็นทำนองเดียวกัน โดยเป่าปาก 1 ครั้ง นวดหัวใจ 5 ครั้ง การปฐมพยาบาลนี้ ต้องรีบทำทันที หากช้าเกินกว่า 4-6 นาที โอกาสที่จะฟื้นมีน้อย ขณะพาส่งแพทย์ก็ควรทำการปฐมพยาบาลไปด้วยตลอดเวลา.


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


ป้องกันก่อนถูก 'ฟ้าผ่า' เรื่องง่าย ๆ ไม่ควรมองข้ามป้องกันก่อนถูก'ฟ้าผ่า'เรื่องง่ายไม่ควรมองข้าม

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การดูแลรถเมื่อน้ำท่วม

การดูแลรถเมื่อน้ำท่วม


เปิดอ่าน 15,713 ครั้ง
คีเลชั่น (Chelation) คืออะไร

คีเลชั่น (Chelation) คืออะไร


เปิดอ่าน 15,719 ครั้ง
"SEGWAY" นวตกรรมแห่งโลกอนาคต

"SEGWAY" นวตกรรมแห่งโลกอนาคต


เปิดอ่าน 14,955 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ประกาศสงกรานต์ 2554 นางสงกรานต์ปี 2554 ชื่อ กิริณีเทวี

ประกาศสงกรานต์ 2554 นางสงกรานต์ปี 2554 ชื่อ กิริณีเทวี

เปิดอ่าน 19,752 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เดนมาร์ก แชมป์โลกความสุข
เดนมาร์ก แชมป์โลกความสุข
เปิดอ่าน 9,389 ☕ คลิกอ่านเลย

ไข่ดิบมีประโยชน์จริงหรือ
ไข่ดิบมีประโยชน์จริงหรือ
เปิดอ่าน 10,376 ☕ คลิกอ่านเลย

ชวนดู ฝนดาวตก โอไรโอนิดส์ Orionid Meteors shower
ชวนดู ฝนดาวตก โอไรโอนิดส์ Orionid Meteors shower
เปิดอ่าน 17,610 ☕ คลิกอ่านเลย

สดร.ชี้ข่าวโลกมืดสนิท 6 วันเพราะฝุ่น-ขยะอวกาศบดบังไม่จริง
สดร.ชี้ข่าวโลกมืดสนิท 6 วันเพราะฝุ่น-ขยะอวกาศบดบังไม่จริง
เปิดอ่าน 9,961 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำอย่างไรให้ "เด็ก" ปลอดภัย ใน "อินเตอร์เน็ต"
ทำอย่างไรให้ "เด็ก" ปลอดภัย ใน "อินเตอร์เน็ต"
เปิดอ่าน 11,662 ☕ คลิกอ่านเลย

สร้างบ่อปลาหน้าบ้านเสริมภูมิทัศน์ "เพิ่มพลังฮวงจุ้ย"
สร้างบ่อปลาหน้าบ้านเสริมภูมิทัศน์ "เพิ่มพลังฮวงจุ้ย"
เปิดอ่าน 14,844 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สุภาษิต หรือ ภาษิต
สุภาษิต หรือ ภาษิต
เปิดอ่าน 46,032 ครั้ง

"เจตพังคี" คืออะไร?
"เจตพังคี" คืออะไร?
เปิดอ่าน 11,068 ครั้ง

ตกยกชาติ
ตกยกชาติ
เปิดอ่าน 9,762 ครั้ง

คำว่า สปา มาจากไหน
คำว่า สปา มาจากไหน
เปิดอ่าน 13,778 ครั้ง

อ้วนลงพุงกินอย่างไรให้เหมาะสม
อ้วนลงพุงกินอย่างไรให้เหมาะสม
เปิดอ่าน 12,841 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ