พิธีไหว้ครูดนตรีไทย
( ที่มาภาพ ครูดนตรี )
ถือเป็นฤกษ์งามยามดี สำหรับการเริ่มต้นของการศึกษาเล่าเรียน ซึ่งถือว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันของคนไทยที่จะต้องทำการไหว้ครู เพื่อเป็นศิริมงคล ประสบผลสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนต่อไป
ส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคย กับพิธีการไหว้ครูเมื่อเราเป็นนักเรียน ที่จัดเตรียมพานดอกไม้ ธูปเทียน เพื่อนำไปไหว้ครู ที่จะประสิทธิ์ ประสาทวิชาให้แก่เรา แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า นักเรียนที่สมัครใจเข้าศึกษาในศาสตร์ ของดนตรี นาฏศิลป์ไทย ยังต้องเข้าพิธีไหว้ครู ครอบครู ทางศิลปะ เนื่องจากว่า เป็นพิธีการไหว้ครู ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ครูที่เสียชีวิต รวมถึง ครูที่เป็นเทพ ตามความเชื่อ ในด้านพิธีกรรมมาจากศาสนา พรามหณ์ ฮินดู
( ที่มาภาพ พิธีไหว้ครู )
ความสำคัญของการไหว้ครูดนตรีไทย เป็นแนวคิดของคนในสังคมไทยต่อครูนับว่ามีความสำคัญอย่างมากครูคือผู้ประสิทธ์ประสาทวิทยาการต่าง ๆ ให้แก่ศิษย์ เช่น วิชาด้านหนังสือ วิชาช่างศิลป์ วิชาดนตรี วิชานาฏศิลป์ เป็นต้น
ศิษย์จึงต้องนำดอกไม้ธูปเทียน และ เครื่องกำนล ไปแสดงความคารวะ มอบให้ครูและฝากตัวเป็นศิษย์ โดยเลือกไปในวันพฤหัสบดีซึ่งถือว่าเป็นวันครูวันนี้จึงเป็นวันที่สำคัญ และ มีความหมายที่สุดของการเริ่มเรียนวิชาการ และการปฏิบัติดนตรีไทย
(ที่มาภาพ ครอบครู )
การไหว้ครูดนตรีไทยนิยมจัดเป็นประจำทุกปีเพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของคุณครูอาจารย์ การทำบุญอุทิศแด่ครู การพบปะสังสรรค์ระหว่างศิษย์ พิธีไหว้ครูดนตรีไทยจึงเป็นพิธีใหญ่ มีการตั้งหน้าโขนซึ่งเป็นศีรษะครูเทพเจ้า เครื่องดนตรี มีเครื่องสังเวยบูชากระยาบวช มีครูผู้ใหญ่เป็นพิธีกรประกอบพิธีกรรมไหว้ครู มีบทอ่านโองการ คำไหว้ครู มีเพลงหน้าพาทย์บรรเลงตามขั้นตอน หลังพิธี แล้วมีพิธีครอบ สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนเพลงครู และพิธีรับมอบ สำหรับผู้ที่ศึกษาสำเร็จ เพื่อไปเป็นครูสอนผู้อื่นต่อไป
สำหรับ ครูเทพเจ้า ที่ศิลปินนักดนตรีไทย ให้ความเคารพนับถือ ตามความเชื่อของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งความเชื่อ ดังกล่าว เป็นการแสดงความเคารพนับถือ ความกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อเทพเจ้าแห่งดนตรี ที่สร้างงานศิลปะดนตรีเป็นเลิศในการบรรเลงเพลงด้วยเครื่องดนตรีและการขับร้องต่าง ๆ เทพเจ้าที่นับถือในทางดนตรีไทย ได้แก่
( ที่มาภาพ พระวิศณุกรรม )
พระวิศณุกรรม เป็นเจ้าแห่งช่างทุกประเภททั้งช่างเขียน ช่างปั้น ช่างก่อสร้าง ในคัมภีร์นาฏศาสตร์ตอนที่พระภรตฤษีรับเทวโองการจากพระมหาพรหม ให้เริ่มวิธีการแสดงละคร พระภรตฤษีได้ขอให้พระวิศณุกรรมสร้างโรงละคร พระวิศณุกรรมจึงออกแบบสร้างโรงละครไว้ และสอนให้ชาวเมืองมนุษย์รู้จักร้องรำทำเพลง
( ที่มาภาพ พระปัญจสีขร )
พระปัญจสีขร เทพเจ้าผู้มีความเป็นเลิศด้านการดีดพิณและการขับลำ ในอดีตชาติพระปัญจสีขรเป็นเด็กเลี้ยงโคไว้ผม 5 แหยม มีชื่อเรียกว่า “ปัญจสิขะ” เป็นผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในการสร้างกุศล ได้สร้างการสาธารณสถาน เช่น ศาลา สระน้ำ ถนน ยานพาหนะ แต่ต้องตายขณะอยู่ในวัยหนุ่ม จึงไปเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจาตุมหาราช มีร่างกายเป็นสีทอง มีมงกุฎห้ายอด
( ที่มาภาพ พระปรคนธรรพ )
พระปรคนธรรพ เทพเจ้าผู้เป็นยอดแห่งคนธรรพ์ นามที่แท้จริง คือ พระนารทมุนี เป็นผู้คิดและสร้างพิณคันแรกขึ้น มีความชำนาญในการขับร้องและบรรเลงดนตรีทำหน้าที่เป็นพนักงานขับร้องและบรรเลงดนตรีกล่อมพระเป็นเจ้าและเทพยนิกร พระนารทมุนีเป็นครูเฒ่าของพวกคนธรรพ์
( ที่มาภาพ ครูผู้ประกอบพิธี )
ประเพณี การไหว้ครูมีมาแต่โบราณ คนไทยเป็นคนที่มีกตัญญูอย่างแรงกล้า และได้รับการอบรมต่อๆกันมาให้เป็นผู้มีกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การที่จะกระทำ กิจการใดๆ ก็ต้องได้รับคำแนะนำจากครู แม้แต่การเลียนแบบหรือลักจำเขามาก็ ต้องเคารพผู้ให้กำเนิด หรือประดิษฐ์สิ่งนั้น ในการศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ ต้องมีการไหว้ครูก่อนทั้งนั้น การไหว้ครูถือว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในการเรียนศิลปการดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นพิธีการที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่ และมีพิธีรีตองมากกว่าการไหว้ครูทางหนังสือ โดยพิธีการจะเริ่มในตอนเย็นวันพุธ จะมีการสวดมนต์เย็น เช้าวันพฤหัสบดี ก็จะมีพิธีทำบุญตักบาตร พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นจึงเริ่มพิธีอ่านโองการโดยครูผู้ประกอบพิธีไหว้ครูจะเชิญครูเทพแต่ละองค์ อัญเชิญมารับเครื่องสังเวย แล้วส่งครูกลับ โดยจะมีวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ สลับการอ่านโองการ จนเสร็จพิธีการ
( ที่มาภาพ เจิมหน้าผาก )
พิธี การไหว้ครูทางศิลปะนั้น ได้มีการถือปฏิบัติกันเคร่งครัด มีการบรรเลงประกอบพิธีด้วยวงปี่พาทย์ ด้วยเพลงหน้าพาทย์ เป็นเพลง ที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งถือว่าถ้ายังไม่ได้เข้าพิธีไหว้ครู และพิธีครอบครู ก็ยังไม่สามารถเริ่มเรียนได้ เพราะเชื่อกันว่าจะเกิดผลร้ายแก่ครูผู้สอน และแก่ศิษย์เองด้วย
( ที่มาภาพ ผู้ร่วมพิธี )
การที่ได้ประกอบพิธีไหว้ครูตามประเพณีที่ถูกต้องนั้นทำให้ได้รักษาประเพณีอันเป็นวัฒนธรรมอันดีของไทยไว้ให้สืบต่อไป อีกทั้งได้แสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวที อันเป็นเครื่องหมายของคนดีที่เป็นแบบอย่างในการส่งเสริมให้ศิษย์รุ่นต่อ ๆ ไปรู้สึกกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ นอกจากนี้ยังเป็นการบำรุงขวัญของผู้ที่ได้ร่วมพิธีไหว้ครูและครอบครู เกิดความมั่นใจ เชื่อมั่น เพราะว่าได้กระทำพิธีต่าง ๆ ครบถ้วนตามแบบแผนแล้ว เวลาที่จะปฏิบัติ หรือเรียนจิตใจจะมีสมาธิ สติที่ดี และยังเป็นการเสริมความสามัคคี ระหว่างนักดนตรี ดุริยางคศิลปินด้วยกัน เพราะในการประกอบพิธีไหว้ครู นั้น บรรดานักดนตรีทั้งหลาย แม้จะอยู่คนละคณะ หรืออยู่กันต่างถิ่นที่ ก็มักจะมาร่วมในพิธีไหว้ครูด้วยกัน ได้พบปะสังสรรค์ กันเป็นอันดี เป็นการเชื่อมประสานกันอย่างแน่นแฟ้น เป็นการจรรโลง พิธีการอันดีงามตามแบบแผนต่อไป ( ที่มาข้อมูล )
######################
อ้างอิงแหล่งที่มา
www.bu.ac.th
www.oknation.net
www.blogspot.com
www.gotoknow.org
www.sg.ac.th
www.rmutphysics.com
www.
lh4.ggpht.comwww.variety.teenee.com