Advertisement
รักลูกอย่างไร........ให้เป็น
นายแพทย์จอม ชุมช่วย
จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่น
"ผมไม่แน่ใจว่า พ่อแม่รักผมหรือเปล่า บางทีเขาอาจรักที่ผมเรียนเก่งมากกว่า" เป็นคำพูดของเด็กชาย อายุ 11 ปี ที่ผมได้ยินเมื่อเร็วๆ นี้ หลายคนคงคัดค้าน และคิดว่าเด็กคิดมากไปเอง ไม่จริงหรอก มีพ่อแม่ที่ไหนไม่รักลูก หลังจากผมพบกับพ่อแม่ของเด็ก ก็ทราบว่า พ่อแม่รายนี้รักลูกมาก แต่อะไรทำให้เด็กไม่สามารถรับความรู้สึกนี้ได้
เราคง คุ้นเคยกับคำกล่าวในทำนอง ใครหนอรักเราเท่าชีวี... คุณพ่อ คุณแม่ ความรักของพ่อแม่ยิ่งใหญ่ ความรักของพ่อแม่เป็นสิ่งจรรโลงโลก ผมเห็นด้วยกับคำกล่าวเหล่านั้น และเชื่อด้วยว่า หากพ่อแม่ให้ความรักกับลูกอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่เยาว์วัย จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนา เป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตใจมั่นคงในอนาคต
แต่หลายครั้งจากเด็กที่มารับการปรึกษา พบว่าสิ่งสำคัญกว่าไม่ใช่การให้ความรักของพ่อแม่ แต่อยู่ที่การรับรู้ของเด็ก เด็กแน่ใจหรือเปล่าว่าพ่อแม่รักตน เด็กมั่นใจในความรักของพ่อแม่หรือไม่ เด็กแต่ละรายมีความแตกต่างกันตั้งแต่แรกเกิด เด็กไม่ใช่ผ้าขาวที่รอว่าเราจะแต่งแต้มอย่างไรก็ได้ตามใจชอบ หากพ่อแม่รักลูก ประการแรกพ่อแม่ควรเรียนรู้บุคลิกเฉพาะ ของลูกตนเองตั้งแต่เล็ก ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง และเรียนรู้วิธีเข้าหาลูกของตน เพื่อเติมความรัก ความมั่นใจพื้นฐานให้เกิดขึ้นกับเด็ก
ความรักเป็นนามธรรมที่สามารถแปรเป็นรูปธรรมได้ สำหรับเด็กเขาจะรับรู้ความรักของพ่อแม่ผ่านรูปธรรมต่างๆ
|
การสบตา พ่อแม่ควรสบตา ส่งความรู้สึก รัก พอใจ ชื่นชม เมื่อโอกาสเหมาะสม มีการศึกษาทางจิตวิทยาหลายเรื่อง ยืนยันว่า การสบตากับลูกตั้งแต่เดือนแรกๆ จะช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กได้ และสังคมเบื้องต้นก็คือ ความสัมพันธ์กับพ่อแม่นั่นเอง น่าเสียดายที่หลายครอบครัวที่ผมพบมักสบตาขึงขัง เมื่อลูกทำผิด หรือส่งสายตาอำมหิต เพื่อปรามเด็กเท่านั้น |
|
การสัมผัส เด็กรับรู้ความอบอุ่นและความรู้สึกปลอดภัย จากการสัมผัสของพ่อแม่ การกอด การหอมแก้ม การจับมือ การนวด หรือแม้แต่การเล่นต่างๆ เช่น จั๊กจี๋ ปูไต่ จะนำไปสู่การรับรู้ความรักของเด็กอย่างดี ดังนั้น พ่อแม่ควรหมั่นถามตนเองว่า วันนี้เราสัมผัสลูกแล้วหรือยัง |
|
การบอกรัก ไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน หลายครอบครัวอาจรู้สึกเขิน และมองว่าเป็นวัฒนธรรมตะวันตกเกินไป ขอให้พ่อแม่หมั่นสำรวจความรู้สึกตนเอง หากอยากบอกลูก ขจัดความเขินอายของตนเองไปแล้วพูดว่า "พ่อรักลูกจ๊ะ" "แม่คิดถึงลูกจ๊ะ" หรือคำพูดที่แสดงความชื่นชมอื่นๆ เช่น "พ่อภูมิใจในตัวลูกจังเลย" "แม่ชื่นใจมากเลยจ๊ะ" พยายามบอกรักให้เป็นธรรมชาติของตัวเราเองและตามสมควรกับพัฒนาการของเด็ก
ความเขินอายและความไม่เคยชิน อาจเป็นอุปสรรคบ้าง แต่สิ่งที่ต้องระวังมากกว่า คือ การบอกรักแบบมีเงื่อนไข พ่อแม่หลายรายคงเคยพูดในลักษณะนี้ "ลูกแม่เก่งมากเลยสอบได้ที่ 1 แม่รักลูกจังเลย" เราสามารถพูดได้เป็นครั้งคราว แต่หากทุกครั้งที่บอกรักเป็นการบอกแบบมีเงื่อนไข ลูกอาจสงสัยในความรักนั้น และอาจนำไปสู่ปัญหา เหมือนเด็กชาย 11 ปี ข้างต้น พ่อแม่อาจลองถามตนเองว่า หากลูกเราไม่เก่ง หรือไม่เป็นตามที่คาดหวัง เรายังคงรักเขาหรือไม่ หากคำตอบคือ "รัก" นั่นคือ เรารักแบบไม่มีเงื่อนไข บอกให้เขารับรู้บ่อยๆ เถอะครับ |
|
การใส่ใจ ไม่ตลอดเวลาที่ลูกๆ ต้องการเรา หากเขาต้องการ เราควรตอบสนอง แน่นอนบางครั้งพ่อแม่อาจไม่มีเวลาจริงๆ อย่างน้อยก็ควรบอกเขา ไม่ใช่แสดงเพียงท่าทีรำคาญ หรือปฏิเสธ "ลูกจ๊ะ แม่ต้องรีบไปธุระกับคุณป้า คืนนี้ 2 ทุ่ม เราค่อยคุยกันนะจ๊ะ" การปฏิเสธด้วยท่าทีให้ความสำคัญเช่นนี้ คงดีกว่า "แกนี่ยุ่งจริงๆ เลย เห็นไหม แม่รีบอยู่" |
ผมเชื่อว่า ความรักสร้างโลก จรรโลงโลกได้ แต่จะผ่านโดยการแสดงออกของพ่อแม่ ต่อลูกๆ ของตน และลูกๆ ที่รับรู้ ความรักที่เต็มเปี่ยมเหล่านั้น จะเติบโตขึ้นสร้างโลก ต่อสู้กับโลกภายนอก ตลอดจนมอบความรักกับคนรอบข้างต่อไป
|
|
|
|
วันที่ 25 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,244 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,388 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,408 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,531 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,569 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,525 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,387 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,431 ครั้ง |
|
|