ผลการศึกษาล่าสุดจาก Harvard School of Public Health (HSPH) ชี้ให้เห็นว่า
ผู้ที่ดื่มน้ำจากขวดโพลีคาร์บอเนตหรือขวดพลาสติกแข็งหรือขวดนมเด็กเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์จะมีสารบีพีเอ (bisphenol A; BPA) เพิ่มขึ้นในปัสสาวะถึงสองในสามส่วน สารจำพวกนี้ใช้มากในอุตสาหกรรมบิสฟีนอลเอและพลาสติกชนิดอื่น มีผลต่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ สำหรับในคนเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและเบาหวาน
จัดเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ครับที่พบว่า
การดื่มน้ำจากขวดโพลีคาร์บอเนตทำให้ปัสสาวะมีสารบีพีเอเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าสารบีพีเอจากขวดบรรจุน้ำดื่มปนเปื้อนเข้าสู่ของเหลวในขวดและหากเราดื่มในปริมาณที่พอเหมาะก็จะทำให้พบสารตัวนี้เพิ่มในปัสสาวะ
นอกจากจะพบสารบีพีเอในขวดโพลีคาร์บอเนตซึ่งเป็นขวดน้ำที่นิยมใช้กันในหมู่เด็กนักเรียน นักท่องเที่ยวและของใครอีกหลายคนแล้วยังพบสารนี้ในขวดนมเด็ก ชิ้นส่วนงานทันตกรรม กาว อลูมิเนียมที่ใช้ใส่อาหาร และเครื่องดื่มกระป๋องอีกด้วย
การศึกษาหลายเรื่องแสดงให้เห็นว่าสารบีพีเอขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อในสัตว์ ตั้งแต่ขัดขวางการเจริญของระบบสืบพันธุ์ การพัฒนาและการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อบริเวณต่อมน้ำนม ลดการผลิตสเปิร์มในรุ่นลูกรุ่นหลาน และอาจอันตรายอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการแรกเริ่ม
คาริน บี มิเชล กล่าวว่า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาจาก HSPH และ Harvard Medical School กล่าวว่า การดื่มน้ำเย็นจากขวดโพลีคาร์บอเนตแค่เพียงอาทิตย์เดียวก็สามารถทำให้ระดับบีพีเอในปัสสาวะเพิ่มขึ้นถึงสองในสามส่วนได้ และหากน้ำในขวดร้อนอย่างกรณีของขวดนมเด็กระดับของสารบีพีเอที่พบในปัสสาวะก็จะมากขึ้น จึงต้องระวังอย่างยิ่งเนื่องจากสารบีพีเอจะขัดขวางการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อในทารกได้มากกว่า
การศึกษานี้ใช้อาสาสมัครจำนวนทั้งสิ้น 77 คน โดยให้อาสาสมัครทำการ ‘ล้างท้อง’ ก่อนด้วยการดื่มน้ำเย็นจากขวดสแตนเลสเป็นเวลา 7 วันเพื่อลดระดับสารบีพีเอในร่างกาย ระหว่างนี้ทีมวิจัยก็จะตรวจสารบีพีเอในปัสสาวะไปด้วย จากนั้นจึงให้ขวดโพลีคาร์บอเนตแก่อาสาสมัครคนละสองขวดและให้อาสาสมัครดื่มน้ำทุกชนิดจากขวดที่เตรียมให้ตลอดสัปดาห์และทำการตรวจปัสสาวะไปด้วย
ผลตรวจแสดงให้เห็นว่า
สารบีพีเอในปัสสาวะอาสาสมัครเพิ่มขึ้นถึง 69% หลังดื่มน้ำจากขวดโพลีคาร์บอเนต (ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารบีพีเอที่ตรวจพบในกลุ่มเด็กนักเรียนใกล้เคียงกับคนอเมริกาทั่วไป) การศึกษาก่อนหน้านี้รายงานว่า สารบีพีเอ สามารถปนเปื้อนเข้าสู่ของเหลวในขวดได้ และการศึกษานี้เป็นงานแรกที่แสดงให้เห็นถึงระดับความเข้มข้นของสารบีพีเอในปัสสาวะคน
ที่น่ากังวลก็คือ เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ใช้ขวดประเภทนี้ดื่มน้ำเป็นประจำ แถมยังไม่ค่อยยอมล้างขวด และหากเด็กเด็กกรอกน้ำร้อนลงไปก็จะทำให้ได้รับสารบีพีเอเพิ่มมากขึ้น เพราะความร้อนช่วยทำให้สารบีพีเอรั่วไหลออกมามากขึ้น
นับได้ว่าการศึกษานี้เห็นผลพอดีเวลาก็ว่าได้ครับ เพราะหลายประเทศกำลังตัดสินใจว่าจะออกมาตรการห้ามใช้บีพีเอในขวดนมเด็กดีหรือไม่ แถมยังช่วยเติมเต็มข้อมูลผลเสียของสารตัวนี้ต่อสุขภาพให้เห็นชัดยิ่งขึ้น หากไม่จำเป็นจริง ๆ ลองลดการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกดูนะครับ ไม่แน่ว่าสารบีพีเอส่วนใหญ่ในตัวเราอาจมาจากขวดน้ำพลาสติกเหล่านี้ก็ได้ใช่ไหมครับ
|