"Backward Design" ซึ่งเป็นการให้ครูได้ลงมือปฏิบัติจริง (Hands-on) ทำชิ้นงานต่างๆ ที่จะให้นักเรียนทำและเรียนรู้วิธีการจัดทำแผนการเรียนรู้จากงานของนักเรียนที่ได้ทดลองทำด้วยตนเอง
หัวใจหลักของการเรียนรู้คือเมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งจะสามารถทำสิ่งดังต่อไปนี้
๑. Can explain สามารถอธิบายแนวคิด เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์อย่างชัดเจน พร้อมข้อมูล ทฤษฎี และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถอธิบายเหตุผลและวิธีการ (Why and How) ทั้งยังสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ก้าวเกินคำตอบเพียงผิด หรือถูก
๒. Can interpret สามารถแปลความให้เกิดความหมายที่ชัดเจน ชี้ให้เห็นคุณค่า แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง และผลกระทบที่อาจมีต่อผู้เกี่ยวข้อง
๓. Can apply สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆที่ต่างไปจากที่เรียนรู้มา
๔. Have perspective สามารถมองข้อดี ข้อเสีย จากมุมมองที่หลากหลาย
๕. Can empathize มีความละเอีย[คำไม่พึงประสงค์]่อนที่จะซึมซับ รับทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้อง
๖. Have self-knowledge รู้จักตนเอง ตระหนักถึงจุ[คำไม่พึงประสงค์]่อน วิธีคิด วิถีปฏิบัติ ค่านิยม อคติ ของตนเอง ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และความเข้าใจของตนเอง
การประเมินความเข้าใจแต่ละด้าน ซึ่งจะมีระดับความลุ่มลึกต่างกัน โดยได้เสนอเกณฑ์หรือ Rubric ในการประเมินอย่างชัดเจน
...........................................................................
การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยวิธี Backward Design
โดย ดร.เฉลิม ฟักอ่อน.
ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1. เมษายน 2550.
http://www.radompon.com/download/BackwardDesign.pdf