การอ่านแบบ SQ3R
การอ่านแบบ SQ3R เป็นการอ่านเพื่อความเข้าใจวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก
S = Survey
หมายถึงการสำรวจเพื่อให้เห็นภาพกว้าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น เพื่อดูขอบเขตของเนื้อหาของข้อเขียนนั้นอย่างคร่าว ๆ เช่น การอ่านส่วนที่เป็นชื่อเรื่อง คำนำ สารบัญ คำชี้แจง ภาพประกอบต่าง ๆ บทสรุป และคำสำคัญ เป็นต้น ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาทีเท่านั้น
Q = Question
หมายถึงการตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่อ่าน การตั้งคำถามในขณะที่อ่านจะช่วยให้เราตั้งใจและจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อ่านได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้หลังจากที่อ่านจบแล้วผู้อ่านก็จะสามารถบันทึกสาระที่อ่านได้เนื่องจากเป็นการอ่านที่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน วิธีที่ง่ายที่สุดในการตั้งคำถามก็คือการเปลี่ยนหัวข้อย่อยต่าง ๆ ของเรื่องให้เป็น คำถาม
R = Read
หมายถึงการอ่านเพื่อค้นหาคำตอบให้แก่คำถามที่ตั้งไว้ คำที่พิมพ์ด้วยลักษณะที่แตกต่างไปจากปกติ และภาพประกอบต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ช่วยในการทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง ทันทีที่พบคำตอบควรใช้ปากกาสีต่าง ๆ ระบายที่ข้อความนั้น ๆ เพื่อให้มองเห็นได้ง่าย แล้วเขียนคำสำคัญไว้ในที่ว่างด้านข้างหรือขอบของหนังสือ แต่ยังไม่ต้องบันทึกสิ่งที่ได้จากการอ่าน เราอาจต้องอ่านข้อเขียนนั้นซ้ำอีกหากยังไม่เข้าใจดีพอ
R = Recite หรือ Recall
หมายถึงการท่องจำสิ่งที่อ่านไปแล้วก่อนที่จะอ่านส่วนต่อไป อาจตรวจเช็คความจำด้วยการตอบคำถามเกี่ยวกับข้อความเหล่านั้น หากไม่สามารถตอบได้ให้เปิดดูคำสำคัญที่เขียนไว้ที่ขอบหนังสือแล้วพยายามตอบคำถาม การเริ่มต้นอ่านส่วนต่อไปจะกระทำก็ต่อเมื่อสามารถตอบคำถามเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องและ คล่องแคล่วเท่านั้น ในขั้นตอนนี้เราควรบันทึกสาระสำคัญที่ได้จากการอ่านด้วยภาษาของเรา บันทึกสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และบรรณานุกรม
R = Review
หมายถึงการทบทวนภายหลังจากที่อ่านเรื่องทั้งหมดจบแล้ว อาจทำด้วยการอ่านออกเสียงเพื่อตรวจดูว่าเรามีความรู้ ความจำเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านหรือไม่ เพียงใด การทบทวนนี้เป็นการปฏิบัติขั้นตอนที่ 1-3 อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่าเราไม่พลาดสาระสำคัญส่วนใด ในขั้นตอนนี้เราควรทำบันทึกให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วอ่านทบทวนอีกครั้งหนึ่งเพื่อดูว่าข้อเขียนที่อ่านมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับงานของเราอย่างไร การทบทวนอาจทำได้โดยการอภิปรายกับเพื่อนที่อ่านเรื่องเดียวกันก็ได้
วิธีการอ่านแบบ SQ3R นี้ บางตำราอาจเรียกว่า "SQ4R" 1 R ที่เพิ่มเข้ามาคือ "WRITE" ซึ่งก็หมายถึงการจดบันทึกด้วยความเข้าใจของผู้อ่านเอง โดยอาจเขียนในลักษณะที่เป็น mind maps หรือ concept maps
เอกสารอ้างอิง :
Web sites:
Landsberger, J. Study Guides English Index, University of St. Thomas.
http://www.iss.stthomas.edu/studyguides/texred2.htm
http://www.ucc.vt.edu/lynch/TRSurvey.htm
http://www.u.arizona.edu/ic/wrightr/other/sq3r.html
http://learnline.ntu.edu.au/studyskills/re/re_re_sl_an_sq.html
http://www.gcsu.edu/student_affairs/study_skills/effstdy.html
http://www.wm.edu/OSA/dostud/ssstuff/sq3r.htm
http://www.psywww.com/mtsite/sq3r.html
http://www.arc.sbc.edu/sq3r.html
http://www.frontiernet.net/~jlkeefer/sq3r.htm
http://www.csbsju.edu/academicadvising/help/sq3r.html
http://library.stmarytx.edu/lac/tests/study.htm การศึกษาผลการสอนอ่านภาษาอังกฤษด้วยวิธี SQ3R ที่มีต่อความสามารถ
|
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต |
การศึกษาผลการสอนอ่านภาษาอังกฤษด้วยวิธี SQ3R ที่มีต่อความสามารถ ในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 .....
ชื่อเรื่อง การศึกษาผลการสอนอ่านภาษาอังกฤษด้วยวิธี SQ3R ที่มีต่อความสามารถ
ในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม
ชื่อผู้รายงาน นางพิรุณพร คำลือฤทธิ์
โรงเรียน โรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม
ปีที่พิมพ์ 2550
บทคัดย่อ
ในการรายงานครั้งนี้ ผู้รายงานได้ตั้งความมุ่งหมายสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะ
เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
บ้านแพงพิทยาคม ที่ได้รับการสอนด้วยวิธี SQ3R กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษารายงานครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่เรียนวิชา อ 43102 ภาษาอังกฤษ โรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการจับฉลาก โดยใช้ห้องเรียน
เป็นหน่วย (Unit) การสุ่ม ได้ห้องเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1 ห้องเรียน โดยการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถดำเนินการทดลองโดยใช้แผนการทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design โดยกลุ่มเป้าหมายได้รับการสอนอ่านโดยวิธี SQ3R ใช้เวลาในการทดลอง
4 สัปดาห์ๆละ 3 ชั่วโมงๆ รวมทั้งหมด12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ
แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่าน จำนวน 30 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ t-test for dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า
นักเรียนที่ได้รับการสอนอ่านโดยวิธี SQ3R มีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ
หลังการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01