Advertisement
สรรพคุณของสมุนไพร มาสกัดทำน้ำมันหม่องและยาหม่อง บรรเทาอาการปวดตามข้อและลดผื่นแดงอันเกิดจากไข้ชิคุนกุนยา
แม้ไข้ปวดข้อหรือไข้ชิคุนกุนยาจะระบาดหนัก แต่ก็ใช่จะไม่มีทางแก้ไข!!! นี่คงเป็นเสมือนการย้ำเตือนที่ว่าไม่มีอะไรที่ยากไปกว่าความสามารถของมนุษย์
ตามที่เราทราบกันดีว่า โรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกนั้น มีพาหะชนิดเดียวกัน คือ “ยุงลาย” แต่ต่างกันที่โรคชิคุนกุนยานั้นร้ายแรงน้อยกว่าไข้เลือดออก ตรงที่ไข้เลือดออกนั้นทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนชิคุนกุนยานั้นทำให้เกิดอาการปวดข้อต่างๆ อย่างรุนแรงและแสนทรมานแต่ไม่ทำให้เสียชีวิต
การป้องกันโรคทั้ง 2 โรคนั้น จึงเป็นเรื่องที่เราควรใส่ใจเพราะทำได้ไม่ยาก หากมีการวางแผนรับมือกับยุงลายตั้งแต่เนิ่นๆ การแพร่ระบาดก็จะลดลง
เริ่มต้นได้ภายในบ้านของเราเอง อย่างเช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ต้นตอสำคัญของการเกิดยุง ด้วยการคว่ำถ้วย ชาม กะละมัง กะลา ยางรถยนต์ ไม่ให้มีน้ำขัง ปิดภาชนะทุกครั้งหลังใช้งาน แม้แต่กระถางปลูกไม้น้ำ หรือกระถางต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ หรือแจกันประดับบ้าน ก็ควรจะหาปลาหางนกยูงหรือปลากัดมาเลี้ยงเพื่อช่วยกินลูกน้ำยุง และควรหมั่นเปลี่ยนน้ำทุกอาทิตย์ เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของลูกน้ำยุงลาย
สมุนไพรในบ้านเมืองเราหลายชนิด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดยุง ทั้งยังปลอดภัยกว่าสารเคมีฉีดพ่นแบบกระป๋องหรือแบบขดเป็นไหน ๆ
ที่เรารู้จักกันอย่างแพร่หลายก็คือ ตะไคร้หอมไล่ยุง ที่มีทั้งแบบธูปและแบบสเปรย์ฉีด ในตะไคร้หอมนั้นจะมีน้ำมันหอมระเหยที่เป็นสารออกฤทธิ์ไล่ยุง บ้านใครที่ยุงเยอะแนะนำให้ปลูกต้นตะไคร้ไว้รอบ ๆ บ้าน จะช่วยลดปริมาณยุงมากวนใจได้อย่างมากเลยทีเดียว สมุนไพรอื่นๆ นอกจากตะไคร้หอมที่ยุงเกรงกลัว ยังมีกะเพรา ดอกดาวเรือง ขมิ้น และพืชในตระกูลส้ม เช่น มะกรูด ส้มโอ เป็นต้น พืชที่กล่าวมานี้สามารถนำไปใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำได้ทั้งสิ้น อีกทั้งยังได้ผลเกินคาดเสียด้วย |
|
ยกตัวอย่างใน กะเพรา ผักประจำบ้านของไทยนั้น มีน้ำมันหอมระเหยที่สามารถไล่ยุงได้ แค่นำกะเพราไปเป็นส่วนผสมในธูป เทียน หรือนำใบกะเพรามาขยี้ให้น้ำมันหอมระเหยออกมา
จากนั้นนำมาวางใกล้ๆ ตัว ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยในใบกะเพราจะระเหยออกมากำจัดยุงได้เช่นกัน ดอกดาวเรือง ดอกไม้กลิ่นฉุนนั้นสามารถใช้ไล่แมลงได้ดีนัก เพียงปลูกไว้ใกล้ๆ บ้าน ประสิทธิภาพความฉุน (มาก) ของดอกดาวเรือง จะช่วยไล่ทั้งยุงและแมลงไม่พึงประสงค์ได้ อีกทั้งสารสกัดจากดอกดาวเรืองนั้นยังใช้ในการกำจัดลูกน้ำได้ดีอีกต่างหาก
พืชในตระกูลส้มทั้งหลาย อย่างส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะกรูด เมื่อทานหรือคั้นเอาแต่น้ำไปใช้แล้วอย่าทิ้ง นำเปลือกมาตากแห้งเผาไฟไล่ยุงได้ดีนัก แต่เวลาที่จะเผาใช้งานควรคำนึงถึงที่อยู่อาศัยและกะปริมาณในการใช้งานให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง โดยขณะที่เผาน้ำมันหอมระเหยจะทำให้ยุงไม่กล้าเข้ามาใกล้
สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ คือ โรคชิคุนกุนยานั้นยังไม่มีวัคซีนตัวใดที่รักษาได้โดยตรงและอาจเกิดการกลายพันธุ์เป็นเชื้อตัวใหม่ได้ ที่ทำได้ตอนนี้แค่เพียงแต่ประคับประคองอาการป่วยเท่านั้น
แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ทางศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา ได้นำพืชสมุนไพรมากกว่า 20 ชนิด มาสกัดทำน้ำมันหม่องและยาหม่องสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อและลดผื่นแดงอันเกิดจากไข้ชิคุนกุนยา
นางดวงแก้ว อัลภาชน์ ครูชำนาญการ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา กล่าวว่า ได้ทำการทดลองสรรพคุณของตัวยาสมุนไพร ซึ่งพบว่าสามารถบรรเทาอาการปวดข้อและลดอาการผื่นแดงได้ภายใน 1 ชั่วโมง และทางศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ ก็ได้รับเงินงบประมาณจากจังหวัดยะลา ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำยาหม่องให้กับประชาชนที่สนใจทุกคน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสียงต่อการระบาดของโรคไข้ชิคุนกุนยา หากสนใจก็สามารถติดต่อไปได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดยะลา
ชิคุนกุนยาแม้ไม่ร้ายแรงถึงตาย แต่ความทรมานยามป่วยนั้นเจ็บปวดไปถึงใจกับเพียงแค่ยุงลายตัวเดียว เหมือนกับที่โบราณมักกล่าวไว้ว่า “ยุงร้ายกว่าเสือ” นั้นเห็นจะจริง!!
ข้อมูลจาก : http://variety.teenee.com/foodforbrain/13721.html
|
|
Advertisement
เปิดอ่าน 13,544 ครั้ง เปิดอ่าน 28,112 ครั้ง เปิดอ่าน 5,359 ครั้ง เปิดอ่าน 38,067 ครั้ง เปิดอ่าน 25,373 ครั้ง เปิดอ่าน 9,872 ครั้ง เปิดอ่าน 16,544 ครั้ง เปิดอ่าน 23,012 ครั้ง เปิดอ่าน 1,719 ครั้ง เปิดอ่าน 12,196 ครั้ง เปิดอ่าน 613 ครั้ง เปิดอ่าน 23,274 ครั้ง เปิดอ่าน 36,745 ครั้ง เปิดอ่าน 8,918 ครั้ง เปิดอ่าน 23,751 ครั้ง เปิดอ่าน 10,158 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 10,540 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,781 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 50,069 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,817 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,214 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,330 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,062 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 9,787 ครั้ง |
เปิดอ่าน 113,930 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,462 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,673 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,369 ครั้ง |
|
|