Advertisement
บุคคลผู้ประพฤติถูก แต่อมกิเลสไว้
ที่มา ธรรมะประทานพร /จันทร์เจ้าขาดอทคอม
นิโครธ ปริพาชก ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ตรัสถึงบุคคลผู้ประพฤติเพื่อการละกิเลสไว้มาก มาย อยากจะทราบว่าจะทำอย่างไรให้ การปฏิบัตินั้นเข้าถึงความบริสุทธิ์ผ่องใส ครบถ้วนบริบูรณ์
1) พระพุทธเจ้าตรัสว่า นิโครธะ ผู้มีการประพฤติปฏิบัติเพื่อการตัดกิเลสทำถูก ทำตรงตามวิถีทางการละการตัดกิเลส แต่จิตยึดมั่น ถือมั่น ดีใจ คิดการปฏิบัติเพียงเท่านี้ดีแล้ว จบแล้ว ไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ ก็เป็นอุปกิเลส คือ จิตเข้าไปกอดความชั่วของผู้นั้น
2) คนที่ปฏิบัติถูก ปฏิบัติตรงนั้นยึดมั่น ถือมั่น ในปฏิปทานั้น ยกตนข่มผู้อื่นว่า ฉันดีกว่าเธอนะ อย่างนี้ก็มีกิเลส
3) ผู้ปฏิบัติ ผลเกิดจากการปฏิบัติพอสมควร เมื่อมีคนสรรเสริญ ก็ติดในคำสรรเสริญ เขาให้ลาภก็ติดในลาภ อย่างนี้ก็เป็นผู้เข้าไปกอดความสกปรกของกิเลสไว้
4) ผู้ปฏิบัติถูก ผลของการปฏิบัติพอสมควร เมาในผลของการปฏิบัตินั้น คิดว่าเท่านี้พอแล้ว ก็เป็นอันว่าตกอยู่ในหลุมอุจจาระ คือ อุปกิเลส
5) ผู้ปฏิบัติถูก ได้ลาภ ได้รับคำสรรเสริญ ติดในลาภและสรรเสริญ ข่มขู่ยกตนข่มผู้อื่น โดยคิดว่าพวกเธอมีลาภไม่เท่าฉัน ฉันรวยกว่า ฉันมีคนเคารพมากกว่านะ อย่างนี้ท่านก็ถือว่ามีความสกปรก คือ กิเลสเลยหัว
6) ผู้ปฏิบัติถูก มีผลปฏิบัติพอสมควร มีคนเคารพนับถือมาก เขานำลาภสักการะมาถวายมากมาย ลืมสติ ลืมตัว เลือกรับของอะไรที่ตนชอบ ก็บอกอย่างนี้ไม่ได้ ที่ตนไม่ชอบก็บอกว่า อย่างนี้ผิดวินัย พระพุทธเจ้าห้ามรับ ไม่หวังเจริญศรัทธาตามปกติ ท่านก็ตรัสว่า มีอุปกิเลสมาก คือ ความเลวเหลือล้น
7) ผู้ปฏิบัติถูก แต่เมาในโภชนะ คือ อาหาร คิดว่าอาหารประเภทนี้ควร ประเภทนี้ไม่ควร เลือกเฉพาะที่ชอบใจ เพราะติดในรสอาหาร ท่านกล่าวว่า ยังสะสมความชั่ว คือ อุปกิเลสไว้มาก
8) ผู้ปฏิบัติถูก เมื่อได้รับความเคารพนับถือจากพระมหากษัตริย์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นต้น ลืมตัวหลงคิดว่าตนมีศักดิ์ศรีสูงกว่า คนที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ เป็นต้น ไม่ได้เข้าไปแสดงความเคารพสักการะ ท่านก็ว่า ผู้นั้นเป็นผู้สะสมอารมณ์ชั่ว คือ อุปกิเลส
9) ผู้ปฏิบัติถูก ริษยาผู้อื่นว่า กินไม่เลือก รับไม่เลือก เพราะท่านเหล่านั้นมีคนเคารพ และได้ลาภสักการะ ก็เกิดอารมณ์อิจฉาริษยา ท่านกล่าวว่า เขาเป็นผู้สะสมความชั่วคือ อุปกิเลสไว้มาก
10) ผู้ปฏิบัติถูก มีผลบ้างเบื้องต้น เห็นท่านอื่นปฏิบัติมีผลดีกว่า มีคนเคารพมาก ก็หาทางโพนทนาด่าว่าเปรียบเปรย (นินทา) ให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือ เสียหาย ท่านว่า คนเช่นนี้เป็นจอมสะสมความชั่ว คือ มีอุปกิเลสมาก
11) พระองค์ตรัสว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อละกิเลส นั่งสมาธิจริยา แสดงตนว่า ท่านนี้ฉันทำสมาธินะ หรือ แต่งกายเป็นการแสดงออกออกให้เข้าใจชัดว่า ฉันเป็นนักปฏิบัติเพื่อตัดกิเลสนะ ท่านว่า การแสดงตนอย่างนี้เป็นการโชว์เพื่ออวด ท่านว่ามีอุปกิเลสมาก
12) บางพวกชอบอวดว่า ฉันนิยมปฏิบัติอย่างนี้นะ บางพวกปกปิดจริยาชั่ว ทำตัวเรียบร้อยด้วยมารยาท และ บางพวกมักโกรธ ผูกโกรธ คือ อาฆาต บางพวกชอบลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด ขับไล่ มีจริยากระด้างถือตัวจัด มีความปรารถนาลามก มีอารมณ์เห็นผิด คัดค้านคำสอนพระพุทธเจ้าอย่างนี้เป็นต้น ท่านกล่าวว่า เป็นผู้สะสมกิเลส คือ ความชั่วไว้สูงเลยหัว
คติเตือนใจไม่ให้ชั่ว พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานสอนไว้ดังนี้
" ก่อนที่จะทำ ก่อนที่จะพูด ใคร่ครวญเสียก่อน อย่าไปคิดเห็นบุคคลอื่นเขาเลว เห็นคนอื่นเลวนี่ก็กลายเป็นสร้างความเลวให้เกิดขึ้นแ ก่ใจเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนให้กล่าวโทษโจทย์ความผิดตัวเอง ว่ามันเลวไว้เสมอ หาจุดความเลวของกาย หาจุดความเลวของวาจา หาจุดความเลวของใจ อย่าไปหาจุดความดี ถ้าพบจุดความเลวจุดไหน ทำลายความเลวจุดนั้นให้หมดไป แล้วความดีมันก็ปรากฏเอง"
วันที่ 24 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,193 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 20,161 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,861 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,025 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,252 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,470 ครั้ง |
|
|