นายวิทยา แก้วภราดัย
สธ.ออกประกาศคำแนะนำประชาชน เฝ้าระวังโรคชิคุนกุนยา หลังพบมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภูเก็ตมีผู้ป่วยชิคุนกุนยาแล้วกว่าพันราย แต่เข้าสู่ระบบการรักษาของโรงพยาบาลแค่ 85 ราย เร่งขอความร่วมมือร้ายขายยาแจ้งข้อมูลผู้ป่วยซื้อยารับประทานเอง เตรียมจัดบิ๊กคลีนนิ่งเดย์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
วานนี้ (23 พ.ค.) นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศคำแนะนำประชาชน เรื่อง โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya)ฉบับที่ 1 เพื่อความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลายหลังจากที่โรคไข้ปวดข้อยุง ลาย ได้แพร่ระบาดในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยโดยมียุงลายเป็นพาหะทำให้เกิด โรค สถานการณ์ตั้งแต่ต้นปีจนถึง 19 พ.ค.2552 พบจำนวนผู้ป่วยสะสม 20,541 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตอย่างไรก็ตามเพื่อเร่งรัดการเฝ้าระวังโรคสกัดกั้น การแพร่ระบาด การป้องกันและควบคุมโรค การดูแลผู้ป่วยการเผยแพร่ความรู้ส่งเสริมบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคของ ประชาชนให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นเพื่อรับมือกับโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้อย่าง มีประสิทธิภาพซึ่งผลการดำเนินงานจะช่วยลดโรคไข้เลือดออกด้วยสำหรับการ ป้องกันควบคุมโรคที่สำคัญ คือ ประชาชน ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันการติดเชื้อและลด การแพร่ระบาดโรคไข้ปวดข้อยุงลายกระทรวงสาธารณสุขจึงเน้นย้ำคำแนะนำประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุของค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษาเพื่อขอความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ดังนี้
รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับประชาชนทั่วไป ผู้ที่มีอาการไข้สูง ร่วมกับอาการปวดข้อหรือออกผื่นให้รีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่หรือมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้ปวดข้อ ยุงลาย ภายใน 2 สัปดาห์ 14จังหวัดทางภาคใต้ ในกรณีที่ยังไม่อาจไปพบแพทย์ได้และมีความจำเป็นต้องรับประทานยาแนะนำให้ใช้ ยาพาราเซตามอล ผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายในระยะ1 สัปดาห์ หลังมีไข้ควรป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด เพื่อลดการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่นโดยนอนในมุ้งในเวลากลางวันและกลางคืนและ ไม่ควรเดินทางออกนอกพื้นที่ภายในระยะ 1 สัปดาห์ผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วยหรือผู้ที่ไปมาหาสู่อาจมีโอกาสติด เชื้อควรเฝ้าระวังตนเอง 2 สัปดาห์ผู้ที่จำเป็นต้องเข้าไปในสวนยางพาราหรือสวนผลไม้ควรป้องกันตนเองจาก การถูกยุงกัด โดยสวมเสื้อผ้าแขนยาวขายาวให้มิดชิดทายากันยุง เป็นต้น นอนในมุ้ง หรือห้องที่กรุด้วยมุ้งลวดจุดยากันยุงแม้ในเวลากลางวันประชาชนทุกครัวเรือน ต้องทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านและรอบบ้านของตน ทุก 7 วัน โดยเฉพาะภาชนะที่ไม่ได้ใช้รอบๆ บ้านไปจนถึงในสวนยางพารา สวนผลไม้ เช่น ยางรถยนต์ ภาชนะที่มีน้ำขัง ได้แก่ถ้วยรองน้ำยางพารา กะลามะพร้าว กาบใบไม้ เป็นต้น
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ส่วนกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ขอให้เฝ้าระวังประชาชนในหมู่บ้านหรือพื้นที่ที่รับผิดชอบหากพบผู้ที่ มีอาการไข้สูง ร่วมกับอาการปวดข้อหรือออกผื่นให้รีบพาไปพบแพทย์และรายงานต่อเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในพื้นที่โดยเร็วสำรวจและร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายใน บ้านและนอกบ้านผู้ป่วยและบ้านเรือนใกล้เคียงและต่อเนื่องถึงพื้นที่สวนใน รัศมี 400 เมตร ให้คำแนะนำและขอความร่วมมือประชาชนในการป้องกันยุงกัดเช่น การใช้มุ้ง ยากันยุง ยาทากันยุงการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และตัวเต็มวัยด้วยตนเองรวมทั้งคำแนะนำในการใช้ยาให้ถูกต้อง ส่วนกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขอความร่วมมือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใน พื้นที่ทราบสถานการณ์วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ ป้องกันควบคุมโรคในชุมชน ดำเนินการต่าง ๆ เพื่อลดจำนวนยุงตัวเต็มวัยและแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เช่น ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมจัดรณรงค์ Big Cleaning Day สัปดาห์ละครั้ง ต่อเนื่อง 3 เดือนออกข้อบัญญัติ หรือเทศบัญญัติท้องถิ่น เพื่อให้มีการดูแลกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน อย่างทั่วถึงและต่อเนื่องโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมตลอดจนสนับสนุนงบประมาณใน การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค การควบคุมยุงลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ และลูกน้ำยุงลาย
รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้ขอความร่วมมือไปยังโรงเรียนและสถานศึกษาให้ดำเนินการทำลายแหล่งเพาะ พันธุ์ยุงลายในสถานศึกษา ทุก 7 วันให้ความรู้และคำแนะนำแก่นักเรียน เกี่ยวกับโรคไข้ปวดข้อยุงลายวงจรชีวิตของยุง การแพร่เชื้อ และวิธีป้องกัน หากพบนักเรียนนักศึกษาที่มีอาการไข้สูงร่วมกับอาการปวดข้อ หรือออกผื่นให้รีบพาไปพบแพทย์และแนะนำวิธีปฏิบัติตัวในการป้องกันการแพร่ เชื้อหากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้ปวดข้อยุงลายโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ใน พื้นที่หรือมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลายภายใน 2 สัปดาห์ หากประชาชนต้องการข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.thและหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรคหมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333 และศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994 ตลอด 24 ชั่วโมง
วันเดียวกันนี้ (23 พ.ค.) น.พ.พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุข จ.ภูเก็ต กล่าวถึงการติดตามเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และโรคชิคุนกุนยาที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตในขณะนี้ว่า ในการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ขณะนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตได้เฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคดังกล่าว โดยจะมีการประชุมสรุปสถานการณ์ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี เพื่อหาแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาด ส่วนการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยา พบผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้น ขณะนี้พบมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแล้วจำนวน 85 ราย ทั้งนี้คาดว่า ผู้ป่วยในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตน่าจะมีเป็นพันราย ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล และรักษาตัวเอง โดยการไปคลินิกเอกชนหรือซื้อยารับประทานเอง ทำให้ตัวเลขไม่ชัดเจน ขณะที่การป้องกันการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในส่วนของจ.ภูเก็ตได้ดำเนินการป้องกันอย่างเข้มงวด โดยมีการติดตั้งเครือเทอร์โมสแกนที่บริเวณสนามบิน โดยมีนักท่องเที่ยวผ่านเครื่องกว่า 50,000 คนแล้ว พบผู้ต้องสงสัยเพียง 1 ราย แต่จากการตรวจสอบอย่างละเอียดพบว่าเป็นหวัดธรรมดาเท่านั้น
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
ขอบคุณhttp://blog.eduzones.com/futurecareer/25112