Advertisement
|
|
เกิดแต่ตม...เปิ้นว่ามันมีตี้มานะเจ้า... |
สล่าเมืองเชียงราย ‘ปรีชา ราชวงศ์’ ไม่ได้เปรียบผลงานภาพเขียนชุด ‘เกิดแต่ตม’ ของเขาว่าเป็นเฉกเช่น บัวเหล่าที่ 4 ของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์เปรียบถึงผู้ที่โง่เขลา เป็นเหมือนบัวที่อยู่ในโคลนตม ยากที่จะสอนให้เข้าใจได้ ไม่มีโอกาสโผล่เหนือน้ำ
ทว่าเขาเปรียบถึงสามัญชนธรรมดาที่แม้ไม่ อยู่ในตระกูลที่สูงศักดิ์ แต่ก็สามารถสร้างสิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในสังคมได้
เรื่องราวของตำรวจชั้นผู้น้อยนายหนึ่ง และลุงชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง ผู้มุ่งมั่นปลูกต้นไม้ มานับกว่าสิบปี ที่เรื่องราวเคยถูกนำเสนอตามสื่อ ต่างๆ เพราะผลจากการกระทำก่อให้เกิดอานิสงส์แก่คนรอบข้าง เป็นแรงบันดาลใจให้ปรีชาคิดเขียนผลงานชุดนี้ขึ้น
ซึ่งนอกจากเขาจะสื่อสารกับคนดูว่าคนทุกคนสามารถทำความดีได้ เขายังปรารถนาที่จะเห็นคนทุกคนเกิดความเชื่อมั่น และศรัทธาในการทำ ความดีต่อไปอย่างไม่ลดละ
โดยนิสัยส่วนตัวแล้ว ปรีชาบอกว่า เขาเป็น คนชอบปลูกต้นไม้ ดอกไม้ และชอบที่จะเรียนรู้จากธรรมชาติ
‘ดอกบัว’ เป็นดอกไม้ที่เขาเห็นว่าเป็นสัญลักษณ์
สื่อถึงความเป็นไทยและศาสนาพุทธ เขาจึง เลือกเขียนดอกไม้ชนิดนี้ เพื่อให้เป็นตัวแทนความคิดของเขาที่จะสื่อสารถึงคนดู
“เคยมีคำกล่าวว่า มนุษย์แม้จะเกิดในสิ่งแวดล้อมที่เลวทราม และข้นแค้นเพียงไร ก็ยังมี โอกาสที่จะเป็นคนดีได้ หากผู้นั้นมีความเพียรพยายามที่จะทำความดี การเป็นคนดีของเขาจึง เปรียบเหมือนดั่งดอกบัวที่กำเนิดและเติบโตจาก โคลนตม พยายามที่จะโผล่ขึ้นเบ่งบานเหนือน้ำ”
ก่อนลงมือเขียนภาพและใช้ความชำนิชำนาญ
ด้านงานจิตรกรรมไทยที่มีอยู่ เขาเปิดดูภาพถ่าย ดอกบัว จากหนังสือต่างๆ และพาตัวเองไปสังเกตธรรมชาติของดอกบัว ตามบึงบัวและทุ่งนา
“ผมไม่อยากเขียนดอกบัวให้ดูเหมือนจริงมาก ขณะเดียวกันไม่อยากให้มันมีรูปแบบที่เป็นงาน จิตรกรรมไทยมากนัก อยากให้มันดูร่วมสมัย”
ผลงานศิลปะชุดก่อนหน้านี้ของปรีชา มีชื่อชุด ว่า ‘ข้าวกล้าแห่งความหวัง’ งานชุดนั้นเขาเปรียบ ข้าวกล้าให้เป็นคนดีทุกคนในสังคมที่ล้วนแต่คือ ความหวังของโลก ขณะที่ผลงานชุด‘เกิดแต่ตม’ คือชนชั้นผู้น้อย คนจนๆ ที่มุ่งมั่นต่อการทำ ความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน
ในฐานะคนทำงานศิลปะ ปรีชากล่าวว่าสิ่งที่ ตนมีความสามารถพอที่จะทำได้ก็คือ การเขียนภาพและพยายามถ่ายทอดเรื่องราวดีๆผ่านผลงาน ให้คนดูมีกำลังใจและดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข นอกเหนือไปจากนั้นก็คือ การทำความดี ตามวาระโอกาส ตามความสามารถที่พอจะทำได้
“อย่างเช่นเวลาหน้าหนาว ถ้าเราไม่มีเงินมาก เราก็ชวนหมู่พวกของเรา เอาเสื้อผ้าเก่าๆ ไปให้เด็กๆชาวเขาและชาวบ้านบนดอย แค่เห็นเด็กยิ้ม เราก็มีความสุขแล้ว แม้มันจะไม่ใช่ความดีที่ยิ่งใหญ่ ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกได้ แต่มันก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่เราพอจะช่วยสังคมได้”
ก่อนหน้านั้นเขาเคยรู้สึกหงุดหงิดใจอยู่เหมือนกันว่า เหตุใดคนทำดีจึงไม่ค่อยได้ดี ไม่ได้รับผลตอบแทนในสิ่งที่ทำ
เวลานี้มุมคิดเขาเปลี่ยนแปลงไป แท้จริงแล้ว
ผลตอบแทนของการทำดี เกิดขึ้นตั้งแต่ที่คิดจะลงมือทำ เกิดขึ้นที่ใจ ...ใจที่รู้สึกได้ถึงความอุ่นๆ เย็นๆ และเป็นสุข
(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 79 มิ.ย. 50 โดยฮักก้า)
ขอบคุณตี้มาข้อมูลเจ้า
|
วันที่ 24 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,408 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 46,350 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,905 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,695 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,511 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,211 ครั้ง |
|
|