Advertisement
ประวัติดนตรีสากล
ดนตรีตะวันตกแบ่งเป็น 7 สมัยใหญ่ ๆ ดังนี้
1. สมัยกลาง ( The Middle Ages ค.ศ. 850 – 1450 ) พ.ศ. 1393 – 1993
ก่อนสมัยนี้ราวศตวรรษที่ 6 ดนตรีขึ้นอยู่กับศาสนา Pope Gregorian เป็นผู้รวบรวมบทสวด เป็นทำนองเดียว ( Monophony ) โดยได้ต้นฉบับจากกรีก เป็นภาษาละติน ต่อมาจึงมี 2 ทำนอง( Polyphony ) ศตวรรษที่ 11 การศึกษาเริ่มในโบสถ์ในสมัยกลางนี้เองได้เริ่มมีการบันทึกตัวโน้ต โดยมีพระองค์หนึ่งเป็นชาวอิตาเลียนชื่อ Guido D’Arezzo ( พ.ศ. 1538 – 1593 ) ได้สังเกตเพลงสวดเก่าแก่เป็นภาษาละตินเพลงหนึ่งแต่ละประโยคจะมีเสียงค่อย ๆ สูงขึ้น จึงนำเอาเฉพาะตัวแรกของบทสวดมาเรียงกัน จึงออกเป็น Do Re Mi Fa Sol La Te Do( เว้นตัว Te เอาตัวที่ 2 ) ต่อมา ค.ศ. 1300 ( พ.ศ. 1843 ) ดนตรีก็เริ่มเกี่ยวกับศาสนาอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
2. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ( The Renaissance Period ค.ศ. 1450 – 1600 ) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1993 – 2143 ตรงกับสมัยโคลัมบัส และเชคสเปียร์ ดนตรีในยุคนี้มักจะเป็นการเริ่มร้องหมู่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการร้องเพื่อสรรเสริญพระเจ้า ร้องกันในโบสถ์มี 4 แนว คือ โซปราโน อัลโต เทเนอร์ และเบส การร้องจะมีออร์แกนหรือขลุ่ยคลอ ดนตรีในสมัยนี้ยังไม่มีโน้ตอ่าน และมักเล่นตามเสียงร้อง
3. สมัยโบราค ( BaroQue ค.ศ. 1650 – 1750 ) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2143 – 2293 และนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ บาค ไฮเดิล ในยุคต้นของสมัยบาโรค ( พ.ศ. 2143 – 2218 ) มีเครื่องดนตรีประมาณ 20 – 30 ชิ้นสลับกันเล่น เพื่อให้มีรสชาติในการฟังเครื่องดนตรีในการคลอเสียงร้อง เช่น ลิ้วท์ ขลุ่ย ต่อมาได้วิวัฒนาการใช้เครื่องสายมากขึ้นเพื่อประกอบการเต้นรำ รวมทั้งเครื่องลมไม้ด้วย ในสมัยนี้ผู้อำนวยเพลงจะเล่นฮาร์พซิคอร์ด
4. สมัยคลาสสิค ( Classical Period ค.ศ. 1750 – 1825 ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2273 – 2368 สมัยนี้ตรงกับการปฏิวัติและการปฏิรูปในอเมริกา ไฮเดิลเป็นผู้ริเริ่มในการแต่งเพลงและคลาสสิค การแต่งเพลงในยุคนี้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของคีตกวีที่จะเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับลีลา และโอกาสตามอารมณ์ของดนตรี เช่น ดนตรีลักษณะหวานก็ใช้ไวโอลิน ถ้าแสดงความองอาจกล้าหาญ ก็ใช้แตรทรัมเปต มีการเดี่ยวเครื่องดนตรี นักดนตรีต้องศึกษาและเล่นให้ถูกต้องตามแบบแผน เพราะดนตรีในยุคนี้เริ่มเข้าร่องเข้ารอย คีตกวีในยุคที่มีไฮเดิล โมสาร์ท กลุ๊ก บีโธเฟน โดยเฉพาะบีโธเฟน เป็นคีตกวีในสมัยโรแมนติกด้วย
5. สมัยโรแมนติก ( Romantic Period ค.ศ. 1825 – 1900 ) พ.ศ. 2368 – 2443 สมัยนี้ตรงกับสมัยนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส เพลงในสมัยนี้ ผิดไปจากเพลงในสมัยก่อน ๆ คือเมื่อก่อนเริ่มแรกเกี่ยวกับศาสนา ต่อมามีการเลือกใช้เครื่องดนตรีและในสมัยนี้ จะแต่งตามจุดประสงค์ตามความคิดฝันของคีตกวี เน้นอารมณ์เป็นสำคัญ
นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี ชูเบิร์ต เสตร้าส์ เมนโดโซน โชแปง ชูมานน์ บราหมส์ ไชคอฟสกี้ โดยเฉพาะในยุคนี้ แต่ละประเทศในยุโรปจะมีความนิยมไม่เหมือนกัน เช่น ลักษณะของเพลงร้อง เพลงประกอบละคร เพลงเต้นรำแบบวอลท์ เป็นไปตามคีตกวีและความนิยมส่วนใหญ่
6. สมัยอิมเพรสชั่นนิสซึม ( Impressionism ค.ศ. 1850 – 1930 ) ประมาณ พ.ศ. 2393 – 2473 เป็นสมัยแห่งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ดัดแปลงดั้งเดิมจากสมัยโรแมนติกให้แปลกออกไปตามจินตนาการของผู้แต่ง เปรียบเทียบได้กับการใช้สีสันในการเขียนรูปให้ฉูดฉาด ในด้านดนตรีผู้ประพันธ์มักสรรหาเครื่องดนตรีแปลก ๆ จากต่างประเทศ เช่น จากอินเดียมาผสมให้มีรสชาติดีขึ้น การประสานเสียงบางครั้งแปร่ง ๆ ไม่รื่นหูเหมือนสมัยก่อน ทำนองเพลงอาจนำมาจากทางเอเชียหรือประเทศใกล้เคียง แล้วมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับดุริยางค์ นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมี คลาวด์อบุชชี อิกอร์ สตราวินสกี่ อาร์โนลด์ โชนเบิร์ล
7. สมัยคอนเทมพอลารี ( Contempolary ค.ศ. 1930 – ปัจจุบัน ) หรือ Modern Music – Eletronics ตั้งแต่ พ.ศ. 2473 จนถึงปัจจุบัน ชีวิตของคนในปัจจุบันอยู่กีบความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ได้รู้ได้เห็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ เช่น ไอพ่น ยานอวกาศโทรทัศน์ นักแต่งเพลงปัจจุบัน จึงเปลี่ยนวิธีการของการประพันธ์เพลงให้เป็นไป
วันที่ 24 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,199 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,181 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,313 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,031 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,098 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,257 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,532 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,496 ครั้ง |
|
|