บทความเรื่อง การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาต
เรียบเรียงโดย อ.อัญญา ศรีสมพร**
กระบวนการศึกษาในการสร้างบุคลากรจะต้องประกอบด้วย สถานศึกษาที่มีคุณภาพ
ซึ่งเต็มไปด้วยครู อาจารย์ที่มีคุณภาพเช่นกัน รวมทั้งการสนับสนุนของภาครัฐ แต่ที่สำคัญที่สุดคือทุกคนในประเทศที่ต้องตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การศึกษาจะต้องเน้นให้บุคคลเกิดการคิดที่เป็นการคิดให้เป็น ซึ่งประชากรไทยยังขาดการคิดเป็นอยู่ ในขณะเดียวกันภาครัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งเสริมกำลังปัญญาของชาติเพื่อนำมาพัฒนาประเทศหรือการที่จะมีบุคคลมาสร้างชาตินั่นเอง กำลังปัญญา หมายถึง คุณภาพของกำลังคนอันเป็นแรงงาน ตลอดจนศักยภาพในการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากตารางดัชนีกำลังปัญญาของประเทศไทย ระดับการศึกษาของแรงงานไทยยังอยู่แค่ระดับประถมต้น และในแง่สัดส่วนของนักวิทยาศาสตร์และเงินลงทุนด้านวิจัยก็ยังต่ำกว่าประเทศญี่ปุ่น เกาหลี หรือ
ฮ่องกง ดังนั้นภาครัฐต้องมีความจริงใจที่จะสนับสนุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาแรงงาน อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศต่อไป
การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (มาตรา 4 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ) จากความหมายจะเห็นว่าการศึกษาจะช่วยสร้างคนหรือบุคคลให้เจริญงอกงามและส่งผลต่อสังคมในฐานะที่แต่ละบุคคลมาอยู่รวมกันเป็นสังคมก็ตรงกับประโยคที่ว่า “ การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ “ ดังนั้นบทความนี้จึงขอเสนอกระบวนการที่การศึกษาสร้างคน และกระบวนการสร้างชาติ
กระบวนการของการศึกษาที่สร้างคนที่สำคัญคือ สถานศึกษา สถานศึกษา หมายถึง สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา (มาตรา 4 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ) สำหรับสถานศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยควรมีบทบาทและภารกิจ ดังนี้ 1. การเป็นสถาบันสร้าง รวบรวมและประยุกต์องค์ความรู้ทางวิฃาการมากกว่าการเป็นสถาบันสอนนิสิต/นักศึกษาเพียงอย่างเดียว 2. การเป็นผู้นำแห่งสำนึกสาธารณะของสังคม (ไท วังจันทร์, หน้า 3-4) ซึ่งบทบาทของมหาวิทยาลัยก็เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณภาพมารับใช้สังคม เป้าหมายของการศึกษาในปัจจุบันไม่ได้จบอยู่ที่คน ๆ หนึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกซึ่งสูงสุดแล้วในกระบวนการการศึกษา แต่หมายถึงการศึกษาตลอดชีวิตเพราะการศึกษาสร้างคนให้รู้จักคิด ทำและเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจและสังคม บุคคลที่การศึกษาสร้างควรมีลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับศตวรรษนี้ ควรพร้อมด้วยความคิด 10 มิติ อันประกอบด้วย การคิดเชิงวิทยาการ การคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดเชิงเปรียบเทียบ การคิดเชิงมโนทัศน์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเขิงประยุกต์ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงบูรณาการ และการคิดเชิงอนาคต (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ หน้า XI) ดังนั้นกระบวนการศึกษาสร้างคนในยุคปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย สถาบันการศึกษาต้องตระหนักและให้ความสำคัญเพราะการได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีความคิดที่มีศีลธรรม จริยธรรม มีความคำนึงถึงส่วนรวมหรือสังคมแล้วจะทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า ปัญหาของการศึกษาอยู่ที่การไม่สามารถทำให้คนคิดเป็น (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ หน้า 54) ซึ่งท่านได้เสนอวิธีการส่งเสริมให้คนคิดเป็น คือ 1. สนับสนุนเอกชนตั้งโรงเรียนนักคิด เช่น การคิดสำหรับนักสื่อสารมวลชน การคิดสำหรับนักบริหาร หารคิดสำหรับข้าราชการ การคิดสำหรับพ่อแม่ เป็นต้น 2. พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อการคิดโดยการเรียนการสอน : จากเลกเชอร์ 100 % เป็นเลกเชอร์ 30% อภิปราย 70 % โต๊ะเรียน : จากหันหน้าเข้าหาครูอาจารย์ เป็นหันหน้าเข้าหากัน การสอบ : จากปรนัย 90 % เป็นการสอบอัตนัย 90 % การทบทวน : จากเน้นการทำแบบถาม - ตอบ เป็นเน้นการเขียนเรียงความ 3. อบรมพ่อแม่เพื่อนำไปเลี้ยงลูกให้เติบโตทางความคิด หลัก : ทุกคำถามควรได้คำตอบ รับฟังและยอมรับด้วยใจเปิดกว้าง ยืนบนหลักการอย่างมีเหตุผล สอนเด็กให้รู้จักคิดหาคำตอบ สร้างความรับผิดชอบตนเอง สนับสนุนให้จดบันทึกประจำวัน ไม่ใช่ระบบอาวุโสสุดโต่ง ปัญหาของการศึกษาอย่างหนึ่งคือการขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งในปัจจุบันภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษา ดังนั้นรัฐควรมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนทางการศึกษาของภาคเอกชนโดยใช้มาตารการต่าง ๆ อาทิเช่น การให้สิทธิพิเศษทางภาษี เช่นการงดเว้นหรือลดภาษีทุกชนิดทั้งทางตรงทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่นภาษีนำเข้าอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ ทางการศึกษา ภาษีรายได้ทุกประเภทที่มีผลต่อการก่อตั้งสถานศึกษา เป็นต้น การอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น การลดระเบียบขั้นตอนที่ยุ่งยากของการดำเนินการของการจัดตั้งสถานศึกษาเพื่อลดความล่าช้าหรือการศึกษาภาครัฐจัดสรรด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อพร้อมสำหรับภาคเอกชนในการจัดตั้งสถานศึกษา เป็นต้น การให้การสนับสนุนภาคเอกชนในการบลงทุนทางการศึกษาในสาขาวิชาที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศในภาพรวมระยะยาว สนับสนุนให้บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่จัดการศึกษาเองหรือจัดการศึกษาร่วมกับสถานศึกษา สนับสนุนให้บริษัทธุรกิจเป็นผู้ลงทุนเพื่อให้ได้เด็กเก่งเข้าทำงานในบริษัท ส่งเสริมองค์กรภาคประชาชนจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาที่หลากหลาย (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ หน้า 138 - 143)
กระบวนการของการศึกษาสร้างคนที่สำคัญซึ่งอยู่ในสถานศึกษา คือ ครู อาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาแก่ลูกศิษย์
จากที่กล่าวมาข้างต้นถึงกระบวนการศึกษาที่พัฒนาคน โดยมีสถานศึกษา ครูอาจารย์และการส่งเสริมของรัฐ แต่ที่สำคัญคือ คนทุกคนต้องตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา เพราะการศึกษาถือเป็นการพัฒนาตนเองตลอดชีวิต กระบวนการของการศึกษาสร้างคนจะส่งผลให้คนที่มีคุณภาพมาส่งเสริมและพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า
กระบวนการสร้างชาติซึ่งประเทศต้องใช้กำลังปัญญา กำลังปัญญา หมายถึง คุณภาพของกำลังคนอันเป็นแรงงาน ตลอดจนศักยภาพในการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ (ความฝันของแผ่นดิน หน้า 44) ซึ่งประเทศไทยยังต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศชั้นนำอื่น ๆ จากตารางดัชนีกำลังปัญญาของบางประเทศและของไทย (ความฝันของแผ่นดิน หน้า 45)
กลุ่มประเทศ
|
ระดับการศึกษาของแรงงาน(จำนวนปีที่มีโอกาสเข้าโรงเรียน)
|
สัดส่วนนักวิทยาศาสตร์ต่อประชากร 10,000 คน
|
สัดส่วนการลงทุนด้านการวิจัยต่อ GNP
|
อุตสาหกรรมชั้นนำ
เยอรมัน
อังกฤษ
ฝรั่งเศส
ญี่ปุ่น
|
12.3
11.1
11.5
11.6
10.7
|
55
84
ไม่มีข้อมูล
83
110
|
2.9
2.9
2.3
2.3
2.8
|
อุตสาหกรรมใหม่
เกาหลี
ฮ่องกง
|
8.8
7.0
|
41
47
|
1.4
ไม่มีข้อมูล
|
ประเทศไทย
|
3.8
|
2
|
0.2
|
จากตารางประเทศไทยระดับการศึกษาอยู่แค่ระดับประถมต้น ในขณะที่ประเทศที่เจริญแล้วมีแรงงานที่มีระดับการศึกษาโดยเฉลี่ยถึงระดับมัธยมปลาย หรือดูในแง่จำนวนนักวิทยาศาสตร์และจำนวนเงินลงทุนด้านวิจัยที่เป็นดัชนีชี้ความสามารถในการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็อยู่ในระดับที่ต่ำมากเช่นกัน ดังนั้นการที่ประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้า ประชาชนอยู่กันอย่างมีความสุข กระบวนการส่งเสริมการศึกษาของภาครัฐ และภาคเอกชนต้องเป็นธงที่นำและตั้งใจจริงในการปฏิรูปการศึกษามิฉะนั้นกระบวนการสร้างชาติอาจจะไม่สำเร็จอย่างยั่งยืนได้ ชีวิตแห่งการเรียนรู้ที่หมายถึงการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชนไทยจะช่วยให้เกิดกระบวนการคนสร้างชาติ
จากทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 – 2549) ที่ถือเป็นเป้าหมายของประเทศได้เน้นการพัฒนาคน แต่นับจากแผน ฯ 8 ที่กำลังจะผ่านไปในอีกไม่นานนี้ เป็นแผน ฯ แรกที่มุ่งเน้นการปฏิรูประบบความคิดในการพัฒนาประเทศแนวใหม่ ซึ่งเปลี่ยนจากการเน้นระดมเงินทุนมาลงทุนทางด้านกายภาพเพื่อก่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มาเป็นการเน้นการพัฒนาความอยู่ดีมีสุขของประชาชนโดยเน้น “คน” เป็นศูนย์กลางการพัฒนาในแผน ฯ 9 จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญการลงทุน เพื่อเสริมสร้างสินทรัพย์ของประเทศทั้ง 3 ด้าน คือ 1. การลงทุนด้านการเสริมสร้างสินทรัพย์ทางกายภาพ (Psysical Capital) 2. การลงทุนด้านการเสริมสร้างสินทรัพย์ทางทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital) 3. การลงทุนด้านการเสริมสร้างสินทรัพย์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resource and Environment Capital) (ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี หน้า )
กระบวนการของการศึกษาสร้างคนและคนสร้างชาตินั้นเป็นหน้าที่ของทุกคน เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเรียนนรู้ตลอดชีวิตอันจะทำให้ตนเองมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ซึ่งเชื่อว่าทุกสังคมและทุกประเทศชาติคงต้องการ สุดท้ายขอนำพระราชบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ((ความฝันของแผ่นดิน หน้า 45) ฝากเป็นขอคิดกับคนไทยทุกคนว่า “…นอกจากการศึกษาจะสอนให้คนเก่งแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะอบรมให้ดีพร้อมกันไปด้วยประเทศไทยเราจึงจะได้คนที่มีคุณภาพ คือทั้งเก่ง ทั้งดี มาเป็นกำลังของบ้านเมืองให้ความเก่งเป็นปัจจัยและพลังสำหรับการสร้างสรรค์ และให้ความดีเป็นปัจจัยเพื่อประคับประคองหนุนนำความเก่ง ให้เป็นไปในทางที่ถูกที่อำนวยผล เป็นประโยชน์อันพึงประสงค์…”
** อัญญา ศรีสมพร, ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์- การบริหารทรัพยากรมนุษย์) เกียรตินิยมอันดับสอง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียบเรียง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542, กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ, 2542.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, ปั้นสมองของชาติ : ยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษา, กรุงเทพมหานคร : บริษัท ส.เอเชีย เพรส (1989) จำกัด, 2543.
คณะศึกษา “การศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์”, ความฝันของแผ่นดิน, กรุงเทพมหานคร : บริษัทโรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน), พิมพ์ครั้งที่ 3, 2540.
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส, แผน 9 แผนสร้างพลังแผ่นดิน, จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 เดือน มีนาคม – เมษายน 2543.
ไท วังจันทร์,มหาวิทยาลัยไทย มหาวิทยาลัยของใคร, จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 เดือน พฤษภาคม – มิถุนายน 2543.