Advertisement
โรงเรียนถือเป็นบ้านหลังที่สองของเด็กที่มักใช้เวลาส่วนใหญ่ประกอบกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียน ประกอบกับเด็กอยู่ในวัยซุกซน หากสภาพแวดล้อมในโรงเรียนไม่ปลอดภัย จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้
ด้วยความเป็นห่วงในสวัสดิภาพของเด็กนักเรียนทุกคน "เซฟตี้ เฟิรสต์" หรือ "ปลอดภัยไว้ก่อน" จึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผย 8 จุดเสี่ยงในโรงเรียนที่มักเกิดขึ้นกับเด็กเป็นประจำ พร้อมแนะผู้บริหารสถานศึกษาและครูช่วยตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขจุดเสี่ยง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้ปลอดภัย ซึ่ง 8 จุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุเป็นประจำในสถานศึกษา มีดังนี้
ประตูโรงเรียน ควรตรวจสอบให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง ล้อเลื่อนประตูอยู่ในรางและมีน็อตยึดติดอย่างแน่นหนา หากพบว่าชำรุดหรือเปิด - ปิดยาก ควรแจ้งให้ช่างผู้ชำนาญการมาซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันที เพื่อป้องกันประตูล้มทับเด็ก
เครื่องใช้ไฟฟ้า ติดตั้งปลั๊กไฟไว้บนที่สูงให้พ้นจากมือเด็ก เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วแหย่เล่น ทำให้ถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิต ติดตั้งเครื่องตัดกระแสไฟลัดวงจร รวมทั้งหมั่นตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย โดยเฉพาะบริเวณแท็งก์น้ำหรือตู้น้ำดื่ม ซึ่งมักเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไฟฟ้าช็อต ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
โต๊ะ - เก้าอี้ ควรตรวจสอบให้อยู่ในสภาพมั่นคง แข็งแรง ไม่โยกเยก ไม่มีตะปูแหลมคมยื่นออกมา เพราะหากเด็กกระโดดเล่นอาจพลัดตกลงมาโดนตะปูทิ่ม ได้รับบาดเจ็บ
บันได ควรซ่อมแซมบันไดให้อยู่ในสภาพแข็งแรง โดยเฉพาะบันไดที่เป็นไม้ เพราะอาจโดนปลวกกัดกินจนผุพัง หากเด็กยืนพิง หรือกระโดดเล่น อาจตกบันไดได้
สนามเด็กเล่น ยึดติดเครื่องเล่นกับพื้นอย่างแน่นหนา โดยเฉพาะเครื่องเล่นที่หมุนหรือเคลื่อนที่ได้ เช่น ลูกโลก ชิงช้า เป็นต้น เพื่อป้องกันเครื่องเล่นล้มทับเด็ก และควรตรวจสอบเครื่องเล่นให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงและแข็งแรงอยู่เสมอ หากพบว่าเครื่องเล่นชำรุดควรรีบแจ้งช่างมาดำเนินการแก้ไขทันที จัดพื้นที่สนามเด็กเล่นให้เป็นสัดส่วน ทำรั้วรอบสนามเด็กเล่น เพื่อป้องกันเด็กแอบเข้าไปเล่นในช่วงที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแล
บ่อน้ำ ควรจัดทำรั้วกั้นแหล่งน้ำภายในโรงเรียน และติดตั้งป้ายเตือนอันตรายจากการเล่นบริเวณริมน้ำ เพราะหากลื่นพลัดตก อาจทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้
สนามกีฬา ควรตรวจสอบมิให้สนามเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือมีเศษวัสดุของมีคม เพราะเสี่ยงต่อการเหยียบโดนจนได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งดูแลมิให้หญ้าขึ้นรก เพราะอาจเป็นที่อาศัยของสัตว์มีพิษได้
อาคารที่กำลังก่อสร้าง ควรจัดทำรั้วกั้นหรือใช้ผ้าคลุมบริเวณที่กำลังก่อสร้าง ติดตั้งป้ายและประกาศเตือนมิให้เด็กเข้าไปเล่นในบริเวณดังกล่าว เพราะอาจได้รับอันตรายจากวัสดุก่อสร้าง เช่น กระจก กระเบื้อง ตะปู เป็นต้น
หากผู้บริหารสถานศึกษาและครูหมั่นดูแลเอาใจใส่และสร้างสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ปลอดภัย และกำหนดมาตรการป้องกันอันตรายในโรงเรียน ก็จะสามารถลดอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กในโรงเรียนได้ นอกจากโรงเรียนจะป้องกันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ต้องสอนนักเรียนให้ระมัดระวังอันตรายด้วย
ที่มาข้อมูล : http://www.thaihealth.or.th
|
วันที่ 23 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,411 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 20,828 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,711 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,003 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,226 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,099 ครั้ง |
|
|