Advertisement
รู้เท่าทันส่วนลด.. ก่อนควักเงินซื้อ
สำหรับอาหารการกินในชีวิตประจำวันนั้น การลดราคาของบรรดาซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านเบเกอรี่ทั้งหลาย ผู้บริโภคควรระวังไว้ให้ดี ประเภทถูกกว่าเดิม ซื้อทุกวันอังคารลด 10% หรือชั่วโมงประหยัด ลด20%ควรตรวจดูคุณภาพ เช่น กลิ่นและสีของอาหารให้ดี และดูวันหมดอายุให้ชัดเจนด้วยว่า คุณมีเวลาบริโภคทันหรือไม่
กลยุทธ์ซื้อ 1 แถม 1 หรือของแถมที่ล่อตาล่อใจ เป็นวิธีกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้อย่างหนึ่ง เพราะคิดว่าได้สินค้ามาในราคาที่ถูกโดยการเอาราคาสินค้าปกติหักลบมูลค่าของ แถมที่ติดป้ายไว้ แต่หลายๆครั้ง ของแถมที่ได้มานั้นก็ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อะไรเลยเพราะที่บ้านเองก็อาจจะ มีอยู่แล้ว หรือแย่ไปกว่านั้นคือ สินค้าที่ซื้อมาเพื่อให้ได้ของแถมก็ซื้อมาโดยไม่ได้มีความจำเป็น
นอกจากนี้สินค้าแถมอาจจะเกิดจากแผนการตลาดของผู้ขายที่ต้องการ แนะนำสินค้าใหม่ โดยการเปิดตัวสินค้าใหม่กับสินค้าที่ขายดีอยู่แล้วเพื่อให้สินค้าใหม่นี้ เป็นที่รู้จัก แต่ก็มีเหมือนกันที่ผู้ผลิตนำสินค้าที่ตกรุ่นมาเป็นของแถมเพื่อกำจัดสินค้าที่ตกค้าง อย่างน้อยก็ช่วยเพิ่มยอดขายจากคนที่อยากได้ของแถม แทนที่จะต้องทิ้งสินค้าที่ขายไม่ค่อยดีเหล่านั้นไป
อีกกรณีหนึ่งของสินค้าที่ติดป้ายลดราคา บางครั้งก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นสินค้าที่ราคาถูกเสมอไป เพราะผู้ขายอาจติดราคาป้ายให้สูงกว่าปกติ เพื่อให้ผู้ขายสามารถลดราคาลงมาได้ เช่นสินค้าที่เดิมราคา 100 บาท ก็ตั้งราคาไว้ที่ 125 บาท แล้วบอกประกาศลดราคา 20% เพื่อให้ลูกค้าคิดว่าจะได้สินค้าราคาถูก แต่ในความเป็นจริงก็จะขายได้ในราคา 100 บาทเท่าเดิม ดังนั้น ก่อนจะซื้อสินค้าที่ติดป้ายลดราคา ถ้าเป็นสินค้าที่มีราคาแพง ก็ควรมีการเทียบราคากับสินค้าแบบเดียวกันนั้นในร้านค้าอื่นด้วย
ถ้าเสียรู้ผู้ขายแล้วจะแก้ไขอย่างไร
ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของเราได้กำหนดให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้ม ครองตามกฎหมายที่จะได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัย ตลอดจนได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องและเยงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการนั้นๆ
ในกรณีที่เราไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ขาย รัฐบาลได้ตั้งหน่วยงานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ที่เรียกว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีหน้าที่ติดตามและสอดส่องพฤติกรรมผู้ประกอบธุรกิจให้ผลิตสินค้าที่มี คุณภาพและปลอดภัยออกมาสู่ประชาชน ตรวจสอบโฆษณาชวนเชื่อต่างๆว่าไม่เกินจริง และไม่เป็นการหลอกลวงประชาชน พร้อมทั้งรับเรื่องราวร้องทุกข็จากผู้บริโภคด้วย
ยังมีอีกหนึ่งหน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคในส่วนของสินค้าอุปโภค เช่น อาหาร ยา และเครื่องสำอาง หรือสินค้าด้านสาธารณสุขต่างๆ คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือที่เรียกสั้นๆว่า อย.
ทางที่ดีที่สุดคือ การใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจว่ารายการส่งเสริมากรขายที่แต่ละร้านได้นำ เสนอให้นั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด และเป็นประโยชน์ต่อเราหรือไม่ หรือเป็นเพียงแต่ดึงดูดให้เราได้สินค้า(ที่เราคิดเอง) ราคาถูก แต่กลับกลายเป็นของแพงเพราะความเข้าใจผิดของเราเอง
วันที่ 23 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,455 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,705 ครั้ง |
เปิดอ่าน 72,314 ครั้ง |
เปิดอ่าน 133,812 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,184 ครั้ง |
|
|