Advertisement
23 พฤษภาคม 2552
ฤดูฝนพรำ…ต้องระวัง!
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ฤดูกาลเปลี่ยนแปลง ฝนตกมากขึ้น ปริมาณความชื้นในอากาศเพิ่มขึ้น แถมบางวันอากาศก็ร้อนมากกว่าปกติ เป็นผลทำให้ร่างกายปรับตัวรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ไม่ทัน
นอกจากนี้ยังเป็นฤดูที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบหายใจหลายชนิด ทำให้เกิดการเจ็บป่วยของโรคระบบหายใจทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่เป็นกันถ้วนหน้า ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กโต คุณพ่อ คุณแม่ ในวันนี้จะขอกล่าวถึงโรคระบบทางเดินหายใจในเด็กที่พบได้บ่อยๆ ขณะนี้ โดยจะแยกง่ายๆ เป็นโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน และระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง
... “โรคหวัด” เรื่องธรรมดาที่ไม่อาจหนีพ้น…
โรคของระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่พบได้บ่อยสุดคงหนีไม่พ้นโรคหวัด แม้กระทั่งข้อมูลของประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกายังพบอุบัติการณ์ของโรคหวัดในเด็กวัยเรียนที่ถือว่าเป็นปกติประมาณปีละ 6-8 ครั้ง ดังนั้นคุณพ่อ คุณแม่ที่มีลูกวัยเข้าเรียนที่พอเริ่มไปโรงเรียนปุ๊บ! เป็นหวัดปั๊บ! บางคนไปโรงเรียน 2 วัน หยุด 1 อาทิตย์ บางคนไปอาทิตย์เว้นอาทิตย์ อย่าเพิ่งรีบคิดว่า ลูกของคุณพ่อ คุณแม่ ผิดปกติมากมาย เพราะว่าเดิมอยู่ที่บ้านโอกาสที่จะติดเชื้อน้อยกว่า ภูมิต้านทานก็ยังไม่แข็งแรง พอเริ่มไปโรงเรียนเพื่อน ๆ เป็นหวัดโอกาสติดต่อก็เพิ่มสูงขึ้น ยิ่งถ้าห้องเรียนเป็นห้องแอร์ โอกาสการติดเชื้อยิ่งง่ายกว่าปกติ โรคหวัดจะติดต่อกันโดยผ่านทางลมหายใจ และสารคัดหลั่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมูก น้ำลาย เป็นต้น
สาเหตุของโรคหวัด ในเด็กมากกว่า 60-70% เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีมากมาย ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบหายใจมีมากกว่า 200 ชนิดขึ้นไป และนอกจากนี้ อาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้ หวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัสจะทำให้มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เจ็บคอ ไอจาม คัดจมูก แสบตา น้ำตาไหล ตาแดง ส่วนใหญ่จะมีอาการอยู่ประมาณ 5-7 วัน ก็จะหายเป็นปกติ ถ้าเป็นหวัดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้สูง บายรายอาจหนาวสั่น ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ซึ่งลักษณะของน้ำมูกมักจะมีสีเขียวปนเหลืองให้เห็นตั้งแต่วันแรก ๆ ของโรค อาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ และกดเจ็บร่วมด้วย จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ หรือยาแก้อักเสบร่วมกับการรักษาตามอาการ
โรคของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง…เรื่องนี้ต้องรู้
ในที่นี้จะกล่าวถึง โรคหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย และมีอาการตั้งแต่รุนแรงน้อยจนถึงมาก อาการของโรคหลอดลมอักเสบ เกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การแพ้ และการระคายเคืองจากสารเคมี จะขอกล่าวถึงเฉพาะโรคหลอดลมอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ อาการโดยทั่วไปมักเริ่มด้วยอาการของโรคหวัดนำมาก่อน เช่น ไข้ น้ำมูกใส ต่อมามีอาการไอ เริ่มต้นมักจะไอแห้งๆ แล้วตามมาด้วยไอมีเสมหะขาวใส หรือเหลือง ขึ้นกับชนิดของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการ เป็นได้ทั้งเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย อาการไอเป็นอาการเด่นที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ บางคนจะให้ประวัติว่าไอ มากจนอาเจียน หรือไอจนนอนไม่ได้ บางครั้งจะมีลักษณะของอาการหอบร่วมด้วย
โรคปอดอักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอดเอง พบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และมักจะรุนแรงมากกว่า เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโรคติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาการที่พบจะประกอบด้วย ไข้ ไอ หายใจหอบ หรือมีลักษณะหายใจลำบาก ในเด็กเล็กมักจะมีอาการงอแงมากกว่าปกติ ไม่ยอมกินอาหารและน้ำ แยกจากภาวะหลอดลมอักเสบ ได้จากการตรวจร่างกาย จะฟังได้ยินเสียงผิดปกติของปอด และเสียงหายใจ สาเหตุมักเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งพบได้ทั้งจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย นอกจากนั้น อาจเกิดจากการสูดสำลักอาหาร และน้ำ รวมทั้งสารเคมีต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา ในเด็กที่เป็นปอดอักเสบหลาย ๆ ครั้ง อาจจะทำให้เกิดความผิดปกติของทางเดินหายใจอย่างถาวรได้ เช่น อาจจะทำให้เกิดเป็นโรคหลอดลมโป่งพอง ส่งผลทำให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ถดถอย และจำเป็นต้องให้การรักษาอย่างต่อเนื่องเหมาะสมตลอดชีวิต
... "โรคระบบทางเดินหายใจ" เป็นแล้วรีบรักษา…ไม่สายเกินแก้ ...
สำหรับข้อบ่งชี้ที่ต้องรีบนำผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจมาพบแพทย์ ก็คือ เป็นผู้ป่วยเด็กอายุน้อย โดยเฉพาะถ้าน้อยกว่า 3 เดือน มีอาการไข้สูง หายใจหอบ เหนื่อย เจ็บคอ หรือมีน้ำมูกเขียวเหลืองร่วมกับมีไข้มากกว่า หรือเท่ากับ 38.5 องศา มีอาการปวดบริเวณโพรงจมูก ปฏิเสธไม่ยอมกินอาหาร และน้ำ อาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 อาทิตย์
รู้เท่าทัน ป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจในฤดูฝน
จะเห็นได้ว่าในช่วงฤดูฝน หรือฤดูหนาว เด็กจะป่วยด้วยปัญหาทางเดินหายใจจำนวนมาก และบ่อยกว่าปกติ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็เกิดจากสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการแพร่ระบาดของเชื้อโรค หากคุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครองไม่อยากจะให้ลูกหลานต้องป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ ก็ควรให้การดูแลที่เหมาะสมเพื่อเป็นการป้องกัน
ตัวอย่างเช่น การจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านที่อยู่อาศัยให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่เข้าไปบริเวณที่มีคนแออัดจำนวนมาก ล้างมือก่อนรับประทานขนม หรืออาหาร รวมทั้งมีการออกกำลังกายที่เหมาะสม กินอาหารครบ 5 หมู่ รวมทั้งดื่มน้ำสะอาดก็จะช่วยให้โอกาสการติดเชื้อลดลง
นอกจากนี้ ในปัจจุบันก็มีวิวัฒนาการของวัคซีนต่างๆ มากมายที่สามารถป้องกันโรคติดเชื้อทางระบบหายใจที่มีประสิทธิภาพ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
|
|
|
โดย :PUTT2PUTT (ทีมงาน TeeNee.Com)
วันที่ 23 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,189 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,229 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 2,956 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,538 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,363 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,950 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,991 ครั้ง |
|
|