ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ใส่บาตรวันไหนดี?เป็นความเชื่อของคนเหล่านั้น


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,594 ครั้ง
ใส่บาตรวันไหนดี?เป็นความเชื่อของคนเหล่านั้น

Advertisement

ปุจฉา
ใส่บาตรวันไหนดี
มีคนมักจะพูดเสมอว่า การใส่บาตรในวันพระนั้นจะให้ผลบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มากกว่าการใส่บาตรในวันธรรมดา (ที่ไม่ใช่วันพระ) จริงหรือไม่ประการใด

วิสัชนา
เป็นความเชื่อของคนเหล่านั้น ซึ่งเชื่อกันว่าวันโกน วันพระ คือวันที่นรกภูมิได้ปลดปล่อยให้วิญญาณมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์
พวกเขาจึงคิดว่าทำบุญตักบาตรในวันโกนวันพระเป็นการทำบุญให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้วโดยตรง ที่เรียกเป็นภาษาทางวิชาการว่า เปรตพลี
แต่ความเชื่อในพระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อว่า การทำบุญบริจาคทาน คือ การทำลายความตระหนี่คับแคบ เห็นแก่ตัว ละโมบโลภมาก
อิจฉาริษยาที่มีอยู่ในใจ ในกายตนให้ลดน้อยถดถ้อยลงไป ด้วยการให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน
และเมื่อจะให้ด้วยมุ่งหวังว่าขอญาติและสัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุข
ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกวัน เวลา นาที เดือน ปี หรือโอกาส ผู้มีจิตเมตตาที่จะให้น่าจะให้ได้ทุกโอกาสที่นึกได้
ส่วนที่บอกกันว่าในวันพระวันโกนรู้จักทำบุญใส่บาตร บริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เข้าวัด ฟังธรรม
คนโบราณท่านต้องการสอนให้รู้ว่าภายใน 7 วันที่ผ่านพ้นและมีชีวิตอยู่เราอาจจะทำดีบ้างไม่ดีบ้างด้วยความรู้เท่าทันหรือรู้ไม่เท่าทันก็ตาม
ก็ขอให้มีวันหนึ่งภายใน 1 สัปดาห์ที่ตั้งใจ คิดดี พูดดี และทำดี ด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยมไป
ด้วยความเอื้ออารีและเป็นดีที่มีในใจ ชีวิตจะได้รู้สึกโล่ง โปร่ง เบาสบาย ผ่อนคลายจากมลภาวะ และปัญหาที่หมักหมม

โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ

การดำรงชีพ หรือเลี้ยงชีพสำหรับผู้ครองเรือนนั้น ต้องมีการทำงานหาเลี้ยงตน การใช้สิ่งของบริโภค อุปโภค
การรับรู้สิ่งกระทบต่าง ๆ ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ การกระทำต่าง ๆ ทั้งทางกาย วาจา และใจ
จะเห็นได้ชัดว่า เรามีพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นในแต่ละวัน การกระทำทางกาย วาจา และใจนั้นมีผลกระทบที่ให้เห็นได้ชัดเจน
และรวดเร็วกว่าพฤติกรรมอย่างอื่น ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ผู้ครองเรือนมีศีล ๕ หรือมีความประพฤติอยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ตลอด
จนใจมีศีลเองเป็นปกติ การกระทำทางกาย วาจา และใจนั้นออกมาจากใจที่มีศีล ไม่เบียดเบียนตน และผู้อื่น เป็นผู้มีความสงบสุขทางใจในระดับหนึ่ง
เมื่อมีศีลในใจได้ในระดับนี้ แต่การรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจมันทำงานของมัน
ถ้าเป็นผู้ที่มีอินทรียสังวรแล้ว จะเห็นว่า สิ่งกระทบภายนอกเหล่านี้มีผลต่อจิตใจ
ความสุขทางใจนี้ไม่เที่ยง มาจากสิ่งกระทบเหล่านี้ การได้เข้าวัดเจริญทางศีลมาขึ้น เป็นศีล ๘ เจริญสมาธิภาวนา ฟังธรรม
บ้างทำให้จิตใจเราสงบสุขขึ้น ได้รู้ในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง เรื่องที่รู้แล้วเมื่อฟังซ้ำก็ทำให้เข้าใจมากขึ้นจากการฟังธรรมนั้น
แต่เนื่องจากผู้ครองเรือนนั้น ยังต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ จึงหาเวลาให้ตรงกับวันพระเพื่อเข้าฟังธรรมได้ยาก
ดังนั้น ผมคิดว่าวันไหนก็ได้ที่เราสะดวก อาจจะเป็นวันหยุดของเราในสัปดาห์หนึ่งก็ได้
ไม่จำเป็นต้องตรงกับวันพระ ผมเห็นหลายที่ที่มีการจัดเทศน์วันเสาร์อาทิตย์ครับเพื่อให้สอดคล้องกับคนในสังคมยุคทุนนิยมกัน

ส่วนการปฏิบัติตัวอย่างไรในวันพระนั้น ที่ผมบอกนี้ ถ้ามีโอกาสทำได้นะครับ
ก็คือ ฝึกตนให้เป็นพิเศษเพิ่มขึ้นแบบที่พระอริยสงฆ์ทำกัน เป็นวันที่ผู้ครองเรือนฝึกตนให้เป็นพระครับ
ทำให้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยทำได้ เช่น มีศีล ๕ แล้ว วันพระก็สมาทานศีล ๘ เจริญภาวนาทางจิต
มีสติรู้ จะทำที่บ้าน หรือที่วัดก็ได้ ที่ไหนที่เอื้อให้ทำให้ได้ และสะดวกครับ
ถ้าทำได้ แต่เฉพาะวันที่หยุด ก็วันหยุดเรานี้แหละครับ เป็นวันที่เราฝึกตนเพิ่มพิเศษ
เพื่อให้ใกล้เป็นพระอริยสงฆ์มากขึ้น แม้นมันจะอยู่ห่างลิบ ๆ ก็ตาม ก็เป็นวันพระเฉพาะเรา
แต่ถ้าตรงได้ มันก็ดีเท่านั้นเอง
มีตัวอย่างของพระอรหันต์ผู้หนึ่งที่พัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง จากผู้ครองเรือนจนได้เป็นพระอรหันต์ครับ
มีคราวหนึ่งที่พระพุทธจ้าเสด็จผ่านป่าใหญ่แห่งหนึ่ง พร้อมพระอานนท์ และภิกษุสงฆ์
พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์เห็น จึงได้ทูลถามเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์
พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อก่อนนี้ป่าใหญ่แห่งนี้เป็นเมืองใหญ่ แล้วทรงตรัสเล่าเรื่องของชายคนหนึ่ง ชื่อ สัมภเวสี
สัมภเวสีเกิดขึ้นในสมัยของพระพุทธเจ้ากัสสปะ สัมภเวสีนี้มีบริวารมาก ได้ถือสมาทานศีล ๕ ขาดบ้าง บกพร่องบ้าง
คิดว่าตนเองเป็นหัวหน้า มีศีล ๕ ขาดบ้าง บกพร่องบ้าง บริวารเองก็มีศีล ๕ ขาดบ้างบกพร่องบ้าง ไม่แตกต่างเลย
จึงทำให้ตนให้มีศีล ๖ ข้อ คือ เปลี่ยนจากข้อ ๓ ไม่ประพฤติผิดทางกามในลูกเมียผู้อื่น
เป็นไม่เสพสังวาสกามคุณ และเพิ่มข้อ ๖ คือ ไม่ทานอาหารหลังเที่ยงวันไปแล้ว
เมื่อท่านสัมภเวสีทำได้ บริวารเห็นก็ทำตาม สัมภเวสีจึงสมาทานศีล ๘ บริวารเห็นก็ทำตามอีก
สัมภเวสีจึงออกบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะ หลีกเร้น ปลีกวิเวก ทำความเพียร ไม่นาน ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
เมื่อบริวารเห็นพระสัมภเวสีออกบวช และทราบว่า เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ออกบวชตาม หลีกเร้น ปลีกวิเวก ทำความเพียร ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ด้วยทั้งหมด

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1756 วันที่ 23 พ.ค. 2552


ใส่บาตรวันไหนดี?เป็นความเชื่อของคนเหล่านั้น ใส่บาตรวันไหนดี?เป็นความเชื่อของคนเหล่านั้น

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ครูจ้าง  สอศ

ครูจ้าง สอศ


เปิดอ่าน 6,403 ครั้ง
>>>โบราณ.... เชย....แต่ดี>>>

>>>โบราณ.... เชย....แต่ดี>>>


เปิดอ่าน 6,403 ครั้ง
วิธีเอา MSN Today ออกไป?

วิธีเอา MSN Today ออกไป?


เปิดอ่าน 6,625 ครั้ง
การใช้  อำ  อัม

การใช้ อำ อัม


เปิดอ่าน 7,051 ครั้ง
  แนะนำการเดินทาง  >>> ชุมพร

แนะนำการเดินทาง >>> ชุมพร


เปิดอ่าน 6,458 ครั้ง
นิทานเวตาล .....เรื่องที่ 4

นิทานเวตาล .....เรื่องที่ 4


เปิดอ่าน 6,890 ครั้ง
ทฤษฎีระบบ

ทฤษฎีระบบ


เปิดอ่าน 6,625 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

โรคเสื่อม..ในผู้ชายมาทางนี้ครับ!!

โรคเสื่อม..ในผู้ชายมาทางนี้ครับ!!

เปิดอ่าน 6,424 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ดวงชะตาของคุณชาวราศี.......................ประจำปี 2553
ดวงชะตาของคุณชาวราศี.......................ประจำปี 2553
เปิดอ่าน 6,418 ☕ คลิกอ่านเลย

"วัยรุ่น" ที่ทำให้ครอบครัว..เครียด..เป็นยังงัย ?
"วัยรุ่น" ที่ทำให้ครอบครัว..เครียด..เป็นยังงัย ?
เปิดอ่าน 6,415 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาษาไทยในเพลง
ภาษาไทยในเพลง
เปิดอ่าน 6,505 ☕ คลิกอ่านเลย

ข้อความตัวโต ๆ
ข้อความตัวโต ๆ
เปิดอ่าน 6,413 ☕ คลิกอ่านเลย

อาการหมดใจของชายคนรัก
อาการหมดใจของชายคนรัก
เปิดอ่าน 6,419 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีที่สคบ.เชื่อแน่ว่าดีที่สุด
วิธีที่สคบ.เชื่อแน่ว่าดีที่สุด
เปิดอ่าน 6,406 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การออกแบบสาร (Message Design) เพื่อการนำเสนอ
การออกแบบสาร (Message Design) เพื่อการนำเสนอ
เปิดอ่าน 17,506 ครั้ง

Parts of Speech    Sentence   Phrase   Clause
Parts of Speech Sentence Phrase Clause
เปิดอ่าน 78,207 ครั้ง

ลิ้น ก็บอกปัญหาสุขภาพได้เหมือนกัน
ลิ้น ก็บอกปัญหาสุขภาพได้เหมือนกัน
เปิดอ่าน 21,543 ครั้ง

ว่ากันว่าดนตรี ไม่มีกำแพงด้านภาษา คลิปนี้ใช่เลย ฟังไม่ออก แต่ดูเด็ก 3 คนนี้ร้องแล้วได้ฟิลลิ่งมาก
ว่ากันว่าดนตรี ไม่มีกำแพงด้านภาษา คลิปนี้ใช่เลย ฟังไม่ออก แต่ดูเด็ก 3 คนนี้ร้องแล้วได้ฟิลลิ่งมาก
เปิดอ่าน 13,449 ครั้ง

แนะนำวิธีจัดโต๊ะคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับครู
แนะนำวิธีจัดโต๊ะคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับครู
เปิดอ่าน 19,283 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ