Advertisement
โรคใจอ่อน กับ บารมี 10 เป็นธรรมขั้นสูง
โรคใจอ่อน กับ บารมี 10 เป็นธรรมขั้นสูง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 ต.ค. 2536 สมด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้ 1. อย่าประมาณเกิดไปสำหรับอารมณ์จิตที่คิดสร้างความดี อย่าพึงคิดพอใจว่าที่ทำอยู่ดีพอแล้ว ก็จักประมาทไม่ทำความดีสืบต่อไปในเบื้องหน้า ธรรมปฏิบัติที่ทำอยู่ จักต้องรู้อารมณ์จิตของตนอยู่เสมอ ถ้าหากมีความคิดว่าดีพอแล้ว จิตจักเกิดความประมาทอย่างแท้จริง อย่ามองหาความดีจงมองหาความเลว ไม่จำเป็นต้องมองหาความดี เพราะถ้าหากมองจิตหาความเลวไม่ได้แล้ว จิตก็จักมีความดีขึ้นมาเอง ดีในที่นี้หมายถึง จิตหมดกิเลส หลุดจากโมหะ-โทสะ-ราคะเข้าคราบงำจิต มิใช่ดีอย่างจิตชาวโลกียวิสัย ซึ่งอิงอยู่ในกามคุณ 5 ได้รูปสวย-เสียง-รสดี เป็นต้น อย่างนี้ดีในกามราคะก็ใช้ไม่ได้ 2. เวลานี้หมั่นมองอารมณ์ของจิตอยู่เสมอประหารความชั่วหรือบาปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จักมีกำลังทำได้ ค่อยๆทำไปด้วยความเพียร ด้วยจิตที่เข้มแข็งไม่ท้อถอยเสียอย่างเดียว ประได้บ้าง ประหารไม่ได้บ้าง ก็ให้รู้ตามวาระที่สัปปะยุทธ์นั้นๆ กล่าวคือมีสติ รู้แพ้ รู้ชนะในอารมณ์ชั่ว ขณะจิตนั้นๆ วาระนี้แพ้ไป วาระหน้าที่เคลื่อนเข้ามาเป็นขณะจิตปัจจุบันก็สู้ใหม่ ดูความเคลื่อนไปของอารมณ์ ดูความชนะของจิตที่มีต่ออารมณ์ หากเข้มแข็งด้วยอานาปานสติ จิตย่อมมีกำลังเพียบพร้อมด้วยสติ-สัมปชัญญะ รู้เหตุต่างๆ ที่เข้ามากระทบอารมณ์ของจิตในขณะนั้นๆ การมีสมาธิ ปัญญามั่นคง สามารถต่อสู้กับกิเลสได้โดยไม่ยากเย็น สำคัญจักต้องรู้อารมณ์ใดๆ เกิดแล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร ให้กำหนดรู้อารมณ์ และต้นเหตุที่เกิดนั้น ๆ ก็จักระงับหรือตัดอารมณ์ และต้นเหตุที่เกิดนั้นๆ ก็จักระงับหรือตัดอารมณ์ และต้นเหตุนั้นๆลงได้ 3. และพยายามไม่ไปแก้เหตุที่เกิดภายนอก ให้แก้เหตุอันเกิดอยู่ภายใน คือ อารมณ์จิตของตนองเป็นสำคัญ การปฏิบัติธรรมจึงจักได้ผล 4. การเกิดความสลดใจหรือหดหู่ชะตากรรมของบุคคลอื่น เป็นอารมณ์จิตที่ขาดตัวอุเบกขาญาณ เจ้าต้องกวดขันพรหมวิหาร 4 ทั้งหมดให้ครบ อย่าให้บกพร่องอยู่อย่างนี้ร่ำไป จิตจักไม่เป็นสุข กฎของกรรม ใครทำใครได้อย่างแน่นอน เจ้าหวังนิพพาน ก็จงหมั่นพยายาม อย่าทำจิตให้เป็นทุกข์ จงรักษาความผ่องใสเข้าไว้ด้วยปัญญาเห็นธรรมเถิด (ก็รับว่าชอบเผลอเสมอ) 5. เรียกว่าโรคใจอ่อน หรือไม่มีกำลังใจที่จักรู้เท่าทันความเป็นจริงของกฎแห่งกรรม จึงเที่ยวรับกรรมของบุคคลอื่นมาไว้ในจิตของจิตตน สร้างความขาดทุน ให้เกิดอย่างนี้ เจ้าช่างเป็นคนไม่ฉลาดเลยนะ (ก็ยอมความจริงว่าโง่ตามนั้น) 6. ใช่ ความโง่ทำร้ายจิตของตนเอง คนทรงพรหมวิหาร 4 ได้ไม่ครบ ก็มักจะเป็นแบบนี้ทุกราย เมื่อรู้ตัวก็จงแก้ไขจุดบกพร่องให้มากๆ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แก้ไขด้วยตนเอง 7. บารมี 10 อีกจุด ห้ามทิ้งเป็นอันขาด ตรวจตราเข้าไว้ ทานบารมีเต็ม ก็ตัดความโลภได้ ศีลบารมีเต็ม ก็ตัดความโกรธได้ เนกขัมมะ บารมีเต็มก็ตัดกามารมณ์ได้ ปัญญาบารมีเต็มก็ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปาหาได้ วิริยะบารมีความเกียจคร้านย่อหย่อนในการปฏิบัติธรรมก็ไม่มี ขันติบารมีเต็ม ก็ตัดความโลเลไม่เอาจริงในผลการปฏิบัติได้ อธิฐานบารมีเต็ม ก็คือกำลังมีสติกำหนดรู้ในการกระทำ ไม่ว่าทางด้านกาย-วาจา-ใจว่าเราจักทำเพื่อพระนิพพานอยู่เสมอ ไม่คลอนแคลน เมตตาบารมีเต็ม ก็ตัดอารมณ์ที่เข้ามาเป็นไฟเผาผลาญจิต รัก สงสารจิตของตนที่เต็มแล้ว ทางโลกไม่มีใครที่ไม่รักบ้านตน แล้วจุดไฟเผาบ้านของตนได้ ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อจิตเราเมตตาจิตตนเองได้แล้ว ก็จักไม่จุดไฟโมหะ-โทสะ-ราคะให้เผาใจตนเองอีก อุเบกขาบารมีเต็ม ก็จักตัดความทุกข์ อันเกิดแก่กายและจิตของตนเองและผู้อื่นลงได้ สำหรับทางร่างกายก็จักเป็นสังขารุเบกขาญาณ วางเฉยในทุกข์ของร่างกายลงได้ สำหรับทางจิตก็จักพ้นทุกข์ คือ ปลอดจากบ่วงกิเลส ตัณหาลงได้อย่างสิ้นเชิง 8. พวกเจ้าต้องเทียบเคียงอย่างนี้เข้าไว้ให้ดีๆ บารมี 10 เป็นธรรมะขั้นสูงที่ตัดสังโยชน์ 10 ลงได้เด็ดขาด ถ้าหากบุคคลผู้นั้นจักมีกำลังใจเต็มแล้วทุกประการ ธรรมะที่นำไปสู่ความหลุดพ้น.........
ขอบคุณที่มาข้อมูล
เล่มที่ 6 พระราชพรหมยานมหาเถระ หลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุง รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน จากหนังสือ ธรรมที่นำสู่ความทุกข์
วันที่ 23 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,257 ครั้ง เปิดอ่าน 7,423 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,377 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,050 ครั้ง |
เปิดอ่าน 38,711 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,428 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,608 ครั้ง |
|
|