Advertisement
มีกิ๊กติดคุก 6 เดือน กฎหมายใหม่ คุมคู่แต่งงาน |
กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เร่งกำหนดคำนิยาม "สามีและภรรยานอกใจ-มีชู้-มีกิ๊ก" ลักษณะใดเข้าข่ายทำร้ายจิตใจตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวบ้าง หลังกฎหมายมีผลบังคับใช้เมื่อเดือน พฤศิกายน ปีที่แล้ว ระบุการกระทำผิดลักษณะดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ด้านเอ็นจีโอจี้พม.เผยแพร่กฎหมายดังกล่าวแจกคู่มือคนทำงาน-ประชาชน
เมื่อวันที่ 29 เมษายน นางจิตราภา สุนทรพิพิธ รองผอ.สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ระบุว่าความรุนแรงในครอบครัว หมายถึง การกระทำใดๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับ หรือใช้อำนาจครอบงำผิดทำนองคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ
"ดังนั้น กรณีที่ผู้หญิงและผู้ชายถูกสามีหรือภรรยาตัวเองนอกใจโดยไม่เต็มใจ ย่อมถือเป็นการทำร้ายจิตใจด้วย สามารถใช้สิทธิ์ฟ้องดำเนินคดีตามกฎหมายนี้ได้ โดยโทษสูงสุดคือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยสำนักงานกิจการสตรีฯ จะเร่งหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเพื่อกำหนดนิยามของความรุนแรงด้านจิตใจให้ชัดเจนว่าต้องมีระดับความรุนแรงอย่างไร หรือส่งผลกระทบกับผู้ถูกกระทำมากน้อยเพียงใด จึงจะเข้าข่ายตามกฎหมายนี้" รองผอ.สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกล่าว
ด้าน น.ส. สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง เปิดเผยว่าระหว่างปี 2548-2550 พบว่ามีผู้หญิงปรึกษาปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 3,496 กรณี ส่วนใหญ่ประสบปัญหามากกว่า 1 กรณีและมักเก็บเงียบ บางรายกลายเป็นผู้ต้องหา พยายามฆ่า หรือ ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาในที่สุด โดยแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวมากที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 เมษายน ที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อนหญิงและมูลนิธิหญิงไทย ได้จัดเสวนาเรื่อง "ไม่ทุกข์ซ้ำ ฟื้นเร็วด้วยกระบวนการที่เป็นมิตร" โดยเชิญผู้แทนกลไกสหวิชาชีพด้านกระบวนการยุติธรรม สังคมสงเคราะห์ และสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 โดยทุกฝ่ายยอมรับว่ายังมีความสับสนไม่ชัดเจนในการใช้กฎหมาย โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการทำร้ายจิตใจ ลักษณะใดจึงจะเป็นความผิดตามกฎหมายนี้ จึงเรียกร้องให้กระทรวง พม. เร่งกำหนดกรอบให้ชัดเจน และจัดทำคู่มือการใช้กฎหมายแจกจ่ายให้กับผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น พนักงานสอบสวน จิตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ ผู้พิพากษาและประชาชน
ข้อมูลจาก :
|
วันที่ 22 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,180 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,236 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 27,712 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,264 ครั้ง |
เปิดอ่าน 65,306 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,837 ครั้ง |
เปิดอ่าน 215,424 ครั้ง |
|
|