Advertisement
|
การค้าหญิง : จากแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนสู่การปฏิบัติ
แปลจากหนังสือชื่อ Human Rights in Practice :
A Guide to Assist Trafficked Women and Children
เนื้อหาหนังสือ :
บทที่ 1 : แนวคิดเรื่องการค้ามนุษย์
เรื่องแนวคิดและคำนิยาม เกี่ยวกับเรื่องการค้ามนุษย์ ข้อถกเถียงในเรื่อง “ การค้ามนุษย์” มักจะมีความหลากหลายและรุนแรง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ไม่มีคำนิยามเรื่องการค้ามนุษย์ ที่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นสากล ดังนั้นจึงทำให้ขาดความเข้าใจร่วมกันว่า องค์ประกอบอะไรบ้าง ที่ทำให้เกิดการค้ามนุษย์ ในบทแรกของคู่มือฯจึงพยายาม สร้างความกระจ่างในเรื่องนี้ โดยจะอธิบายความแตกต่างเรื่องการย้ายถิ่น การลักลอบนำคนเข้าประเทศ และการค้ามนุษย์ รวมถึงรูปแบบต่างๆ ของการค้ามนุษย์พร้อมตัวอย่างประกอบ
บทที่ 2 : การค้าหญิงกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน
กล่าวถึงการเชื่อมโยง ในการใช้กรอบความคิดด้านสิทธิมนุษยชน ในการให้ความช่วยเหลือแก่บุคคล ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ และกล่าวถึงวิธีที่จะปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ของคนที่ถูกค้า ในส่วนที่พูดถึง มาตรฐานสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกค้ามนุษย์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ทำงาน เกิดความคุ้นเคยกับกฏหมายระหว่างประเทศ ที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือต่อรองในเรื่องนี้ กับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 : การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
การเข้าถึงกลุ่มมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้หญิงที่เป็นผู้ถูกค้า ได้รับความช่วยเหลือต่างๆ ที่มีอยู่ การเข้าถึงกลุ่มหญิงที่เป็นผู้ถูกค้า เป็นขั้นตอนแรกที่จะเข้าใจถึงสภาพของผู้หญิงเหล่านี้ เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ที่จะช่วยเหลือพวกเขาต่อไป ในบทนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนที่เหมาะสม ในการทำงานเข้าถึงกลุ่ม และวิธีการแก้ไขปัญหาตลอดจนการทำงานกับคนต่างชาติ
บทที่ 4 : การสืบสวนและการช่วยเหลือฉุกเฉิน
กล่าวถึงวิธีการสำรวจหรือการสอบถาม รวมถึงการดำเนินงานกับตำรวจ เพราะการสำรวจหาข้อมูลว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างกับหญิงที่ถูกค้านั้น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง และจะทำให้เราเข้าใจถึงขั้นตอน ในการที่จะให้ความช่วยเหลือ และเป็นประโยชน์ ในการจัดทำข้อเสนอแนะ ทางนโยบายในเรื่องกฏหมาย และการออกกฏหมาย เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ต่อไป
บทที่ 5 : กฏหมายและขั้นตอนการดำเนินคดี
กล่าวถึงลักษณะ ของระบบกฏหมาย ขั้นตอนก่อนและการตระเตรียมคดี การให้ความช่วยเหลือผู้หญิง ในการดำเนินคดีอาญา ต่อผู้ล่วงละเมิดสิทธิของเธอต่อศาล
บทที่6 : การดำเนินงานบ้านพัก
กล่าวถึงและให้คำแนะนำ ในการจัดตั้งบ้านพักสำหรับหญิงที่ถูกค้า การดำเนินงานบ้านพัก และรูปแบบของการจัดให้บริการต่างๆ ตลอดจน ให้แนวคิดในการจัดที่พัก ให้แก่หญิงต่างชาติ ตลอดจนความสำคัญ ในการสร้างเครือข่ายกับองค์กรอื่นๆ
บทที่ 7 : ประเด็นสุขภาพ
กล่าวถึงประเด็นสุขภาพ สำหรับผู้หญิงและเด็ก ในกระบวนการค้าหญิง ปัญหาทางสุขภาพซึ่งรวมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต จะมีการพูดถึงเรื่องสุขภาพที่คล้ายคลึงกัน ในวัฒนธรรมต่างๆ ข้อจำกัด และปัญหาของระบบสุขภาพและวิธี ที่จะเข้าถึงการบริการสุขภาพสำหรับหญิงที่ถูกค้า
บทที่ 8 : การกลับสู่ถิ่นฐานเดิม
กล่าวถึงหน้าที่ทางกฏหมาย ซึ่งรวมถึงหน้าที่ของรัฐ ในกระบวนการกลับสู่ถิ่นฐานเดิม, วิธีเตรียมการเพื่อการกลับสู่ถิ่นฐานเดิม, ขั้นตอนการกลับ, การให้ความช่วยเหลือครอบครัว และกรณีที่เป็นบุคคลไร้สัญชาติ และการลี้ภัยไปประเทศใหม่
บทที่ 9 : การสร้างชีวิตใหม่
กล่าวถึงระดับของความเครียด และความต้องการของผู้หญิงที่ถูกค้า จะจัดการอย่างไรกับการถูกตราหน้าทางสังคม การจัดหาทางเลือกในการยังชีพ และจะให้การสนับสนุนในการรวมกลุ่ม และการจัดอบรมอย่างไร
บทที่ 10 : การวิจัยและการเก็บบันทึกข้อมูล
การบันทึกข้อมูลรูปแบบต่างๆ ของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ผู้หญิงเผชิญอยู่ จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความช่วยเหลือ และยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ต่อหญิงที่ถูกค้า การบันทึกรวบรวมประเด็นของการค้ามนุษย์ เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญเพื่อการรณรงค์ ในการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย และกฏหมาย ที่สำคัญที่สุดก็คือ งานวิจัยเป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างพลัง แก่ผู้หญิงที่ถูกค้า เพื่อที่จะควบคุมดูแลชีวิตของตนเองอีกครั้ง สิ่งที่ได้รวบรวมไว้ในบทนี้ด้วยคือ คำถามต่างๆ ที่น่าจะทำการวิจัย การใช้วิธีการวิจัย, ข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติ รวมถึงเครื่องมือและเทคนิคในการดำเนินงานวิจัย การใช้แนวคำถาม และการจัดการกับความอคติความลำเอียง
บทที่ 11 : การป้องกันและการรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
อธิบายถึงรายละเอียด ในการป้องกันและการรณรงค์ให้ข้อมูล รวมถึงการวางแผนการดำเนินงาน ในการป้องกันและการให้ความรู้ การใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ และขั้นตอนการวางรูปแบบการรณรงค์ สร้างความตระหนักแก่ชุมชนในท้องถิ่น และกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยง
บทที่ 12 : การรณรงค์เพื่อการเปลี่ยนแปลง
อธิบายถึงวิธีการ ที่จะดำเนินการรณรงค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ให้ประสบผลสำเร็จ วิธีสร้างพันธมิตรและเครือข่าย วิธีที่จะชักชวนให้สาธารณชน ให้ความสนใจและวิธีที่จะทำงาน ในระดับระหว่างประเทศ
บทที่ 13 : การทำงานกับเด็ก
เด็กเป็นเป้าหมายที่ง่าย สำหรับนักค้ามนุษย์ เพราะเด็กมักจะถูกหลอกได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ และไม่รู้ว่าจะช่วยเหลือตนเองได้อย่างไร เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ในบทนี้จะกล่าวถึงปัญหาโดยทั่วๆ ไปที่เด็กที่ถูกหลอกไปค้าจะต้องเผชิญ สิทธิเด็กและลูกของผู้หญิงที่ถูกค้า ตลอดจนแรงงานย้ายถิ่น
บทที่ 14 : การทำงานกับหญิงให้บริการทางเพศ
กล่าวถึงข้อควรปฏิบัติ และหลักการสำหรับการทำงาน กับพนักงานบริการทางเพศ รูปแบบและวิธีการของกิจกรรม ที่จะเข้าถึงหญิงบริการ ตลอดจนวิธีที่จะแนะนำตนเอง แก่หญิงเหล่านั้น
หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 14 บท
จำนวน 158 หน้า
ราคา 350 บาท
ปกพิมพ์ สี่สี
ปีที่พิมพ์ 2543
ขนาด 17 X 24 ซม. ปกพิมพ์สี่สี
เนื้อหาพิมพ์สองสี ด้วยกระดาษอาร์ตการ์ดทั้งเล่ม
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วันที่ 22 พ.ค. 2552
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,174 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,206 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,447 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,197 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,973 ครั้ง |
เปิดอ่าน 107,918 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,060 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,299 ครั้ง |
เปิดอ่าน 67,595 ครั้ง |
|
|