Advertisement
เปิดเทอมแล้วค่ะ ตอนนี้เด็ก ๆ หลายคนอาจกำลังเห่อชุดนักเรียนใหม่ กระเป๋าใหม่ ถุงเท้ารองเท้าใหม่ ตลอดจนกล่องดินสอ สมุด ปากกา ยางลบใหม่ ฯลฯ ที่คุณพ่อคุณแม่ ตลอดจนญาติ ๆ ซื้อมาฝาก เพื่อให้เอาไปใช้เรียนหนังสือที่โรงเรียนกันอยู่ก็เป็นได้
และก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกนะคะ ว่าเด็ก ๆ มักจะชอบของใช้น่ารัก ๆ โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง ถ้าขอมี เจ้าดินสอลายการ์ตูน ยางลบสีชมพู หรือไม้บรรทัดห้อยตุ้งติ้งน่ารัก ๆ เอาไว้สักชิ้นในกล่องดินสอ ก็อาจรู้สึกเหมือนห้องเรียนมันช่างสดใสเสียจริง ส่วนเด็กผู้ชายก็อาจแตกต่างกันออกไป บางคนก็ชอบกล่องดินสอหุ่นยนต์ กดนั่น นู่น นี่ หรือแปลงร่างได้ บางคนก็ชอบยางลบลวดลายแปลก ๆ กบเหลาดินสอไฮเทค หรือไม่ก็เตรียมพกตุ๊กตุ่นตุ๊กตา ของใช้ที่ไม่เหมือนใครไปโรงเรียน เพราะมีแล้วรู้สึกชีวิตมันเฟี้ยวฟ้าวดีจัง
แต่ทั้งหมดนี้ บางทีก็นำไปสู่ปัญหาที่พาพ่อแม่ปวดหัวได้ค่ะ เพราะทันทีที่เด็กเปิดกล่องดินสอ เขาก็พร้อมจะหยิบ "เครื่องเขียนสุดกิ๊บ" ขึ้นมาอวดกัน และก็มีเด็กหลายคนเหมือนกันค่ะ ที่ไม่สามารถ "รักษา" อุปกรณ์เครื่องเขียนน่ารัก ๆ เหล่านั้นเอาไว้กับตัวได้นาน บางทีตกเย็น คุณพ่อคุณแม่ไปรับจากโรงเรียน เปิดกล่องดินสอดูอาจพบว่า กล่องดินสอว่างเปล่า ยางลบน่ารัก ๆ หายไปเสียแล้ว ส่วนดินสอลายการ์ตูนที่อุตส่าห์เหลาไว้ดิบดี ก็เหลืออยู่ไม่กี่แท่ง
ถามไปถามมาอาจได้คำตอบว่า เพื่อนเห็นแล้วชอบเลยแย่งไปบ้าง หรือไม่ก็เพื่อนขอไปบ้าง ตลอดจนลูกใจดี แจกเพื่อน (เอง) บ้าง แม้เราจะยังไม่มีเทคนิครักษากล่องดินสอ หรือเครื่องเขียนให้เดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัยที่แน่นอนตายตัว แต่เราก็มีเทคนิคในการรักษาจิตใจของครอบครัว ไม่ให้หงุดหงิด หรือเศร้าไปกับการสูญเสีย "สิ่งของ" ค่ะ เริ่มจาก
1. ยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของแต่ละครอบครัว ทุกคนที่เคยผ่านวัยเด็กมาก่อนคงเข้าใจกฎข้อนี้ดี ไม่มีเด็กคนไหนไม่ชอบของน่ารัก ๆ หรือของแปลก ๆ หรอกค่ะ เหมือนพ่อแม่เอง สมัยเด็ก ๆ ก็อาจเคยมี หรือไม่มี ดินสอปากกาน่ารัก ๆ เหล่านี้ และเคยเกิดความรู้สึกเห็นดินสอของเพื่อนสวยดี ก็อยากได้บ้าง
กรณีที่คุณพ่อคุณแม่ท่านไหนมีใจหงุดหงิด โมโห ลงโทษลูก โทษฐานไม่รู้จักรักษาของ นอกจากเด็กจะเสียใจแล้ว ยังอาจทำให้เด็กมีความรู้สึกในแง่ลบกับการแบ่งปันของต่าง ๆ ให้กับคนอื่นด้วยค่ะ
2. สร้างกฎในการใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างคุ้มค่า ยกตัวอย่างเช่น อาจจะกำหนดว่า จะซื้อดินสอการ์ตูนให้แค่ 1 กล่องเท่านั้น (และต้องใจแข็ง) ถ้าใช้ไม่รักษา หรือให้เพื่อนยืมไปหมด ก็จะไม่ซื้อเพิ่มให้แล้ว เป็นต้น
3. แจ้งให้คุณครูทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียน เพื่อที่คุณครูจะได้คอยสอดส่องเป็นหูเป็นตา ดูแล อบรมสั่งสอนเด็ก ๆ ในทางที่เหมาะสมมากขึ้น
4. หาโอกาสทำขนมให้ลูกนำไปแจกเพื่อน ๆ บ้างตามโอกาสอันสมควร แต่ไม่ใช่แจกพร่ำเพรื่อ
5. สอนให้ลูกปฏิเสธเพื่อนเป็น การปฏิเสธที่ใช้กับเด็กได้ผลอาจไม่จำเป็นต้องเป็นคำว่า "ไม่" เสมอไป การเบี่ยงเบนความสนใจของเพื่อนลูกให้ไปอยู่กับสิ่งอื่นที่เขามีก็อาจช่วยได้ เช่น บอกเพื่อนว่า เธอก็มีดินสอของเธอนี่ สีสวยออก หรือดินสอเธอเขียนตัวหนังสือได้เข้มดีนะ เพื่อที่เพื่อนของลูกจะได้หันไปให้ความสนใจกับสิ่งที่เขามีแทนค่ะ
ส่วนถ้าท่านผู้อ่านเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกชอบไปแย่งของเพื่อนนั้น คุณหมอสินดี จำเริญนุสิต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมเด็กฝากคำแนะนำ และทางแก้ไขปรับเปลี่ยนมาดังนี้ค่ะ
"ถ้าเหตุการณ์การแย่งของเพื่อนนั้นเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา ก็ต้องรีบจับตัวลูกเราเอาไว้แล้วให้เอาของไปคืนเพื่อนทันที ลูกจะได้เรียนรู้ว่าของชิ้นนี้ไม่ใช่ของเรา ต้องคืนเพื่อน ของเราคืออะไรให้ใช้ในส่วนนั้น หรือถ้าอยากจะขอยืม ต้องทำอย่างไร ต้องขอยืมดี ๆ แล้วต้องเอาไปคืนเพื่อนด้วย ตรงจุดนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องสอน และทำให้ดูเป็นตัวเอง เพราะเด็กยังไม่สามารถรับรู้ได้เอง จึงต้องมีแบบอย่างค่ะ"
หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดมีวิธีดี ๆ ที่เคยใช้แล้วได้ผลจะนำมาแบ่งปันกับครอบครัวอื่น ๆ ทีมงานก็ขอน้อมรับด้วยความขอบคุณค่ะ
แหล่งข้อมูล โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 1,828 ครั้ง เปิดอ่าน 11,249 ครั้ง เปิดอ่าน 9,886 ครั้ง เปิดอ่าน 15,476 ครั้ง เปิดอ่าน 16,701 ครั้ง เปิดอ่าน 14,330 ครั้ง เปิดอ่าน 1,611 ครั้ง เปิดอ่าน 19,033 ครั้ง เปิดอ่าน 40,776 ครั้ง เปิดอ่าน 12,633 ครั้ง เปิดอ่าน 27,794 ครั้ง เปิดอ่าน 11,061 ครั้ง เปิดอ่าน 24,509 ครั้ง เปิดอ่าน 16,255 ครั้ง เปิดอ่าน 14,963 ครั้ง เปิดอ่าน 13,346 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 11,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,186 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,258 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 2,233 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 61,673 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 21,060 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,378 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 8,701 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,551 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,426 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,131 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,890 ครั้ง |
|
|