Advertisement
ดนตรีช่วยแก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้นได้จริงหรือ?
เด็กสมาธิสั้น เป็นอย่างไร
เด็กสมาธิสั้น ( Hyperactive) หมายถึง เด็กที่ซนมากไม่อยู่นิ่ง แยกได้ 2 กลุ่มคือ
1. มีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง เช่น มีความลำบากในการฟังคำสั่งยาวๆ มีความลำบากในการทำงานหรือเล่นกิจกรรม อุปกรณ์การเรียนสูญหายบ่อย สนใจในสิ่งเร้าที่ไม่สำคัญ ขี้ลืม มักทำของหาย เหม่อลอย ช่างฝัน ลำบากในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมองเป็นเวลานาน
2. อาการหุนหันพลันแล่นจนขาดความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งมีลักษณะคือ ไม่รู้จักระวังตัวเอง ลุกออกจากที่นั่งบ่อย ชอบวิ่งหรือปีนป่าย พูดคุยมากเกินไป มีความลำบากในการเล่นคนเดียว ลุกลี้ลุกลน อารมณ์ร้อนแปลี่ยนแปลงง่าย ขาดความอดทน ชอบพูดขัดจังหวะ รบกวน ช่างฟ้อง
สาเหตุส่วนใหญ่ มาจาก ลักษณะถ่ายทอดทางพันธุกรรมในเรื่องของสารเคมีในสมองหรือระบบประสาทและ สภาพแวดล้อมก็เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง
________________________________________
ดนตรีช่วยแก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้นได้จริงหรือ ?
ดนตรีมีประโยชน์มากมาย การฟังดนตรีทำให้เราผ่อนคลาย เพลิดเพลิน มีความสุข หากเราได้เล่นดนตรีก็ยิ่งเป็นการปลดปล่อยความเครียดที่ฝังอยู่ตามกล้ามเนื้อและเซลล์ประสาทให้ออกมากับการเล่นดนตรี ทำให้อารมณ์ดีขึ้น สามารถควบคุมอารมณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น ส่งผลให้ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ EQ สูงขึ้น
และเมื่อเด็กเรียนดนตรี เด็กจะมุ่งความสนใจไปที่เสียงดนตรีที่ตนเองสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง และอยากจะเล่นดนตรีต่อไปเพื่อให้เกิดเสียงที่ไพเราะขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กจดจ่ออยู่กับเสียงดนตรีที่ตนเองสร้างขึ้น ช่วงความสนใจของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้นทีละนิด ขี้นอยู่กับทำนองเพลงที่เด็กฝึกหัด เมื่อเริ่มแรกเด็กอาจฝึกหัดเพลงพื้นฐานสั้นๆ ช่วงความสนใจของเด็กอาจอยู่ในเวลา 1-2 นาที ลำดับต่อไปเด็กได้ฝึกเพลงที่มีความซับซ้อนมากขึ้นทีละนิด เด็กก็จะมีช่วงของความสนใจเพิ่มขึ้นเป็น 3-5 นาที และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากเด็กชอบและรักที่จะเล่นดนตรี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังใจที่ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองจะกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในดนตรีมากขึ้น การเสริมแรงจากครูและพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดที่จะทำให้เด็กเพิ่มความสนใจในดนตรี และจะทำให้ช่วงความสนใจของเด็กเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลไปสู่การเรียนในห้องเรียน การทำการบ้าน การอ่านหนังสือ หรือการทำสิ่งต่างๆ
จากที่โรงเรียนดนตรีบ้านเก่งขิมได้สอนเด็กที่มีอาการเข้าข่ายสมาธิสั้น หรือมีช่วงความสนใจต่อสิ่งต่างๆ น้อยมาก เมื่อมาเรียนขิม เด็กหลายคนมีสมาธิดีขึ้น มีสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้น มีการระบายอารมณ์ออกมาในเสียงเพลงที่ตนบรรเลง ทำให้เด็กผ่อนคลายและเกิดสมาธิในการบรรเลงขิม ส่งผลให้การเรียนในห้องเรียน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของเด็กประสบความสำเร็จมากขึ้นตามลำดับ
คุณพ่อคุณแม่หรือท่านผู้ปกครอง จึงควรหันมามองบุตรหลานของท่านสักนิด ว่าเด็กมีอาการใกล้เคียงเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ หากใกล้เคียงควรปรึกษาแพทย์ หรือส่งเสริมให้เด็กเรียนดนตรี ศิลปะ ร้องเพลง เต้นรำหรือนั่งสมาธิ เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เด็กมีสมาธิเพิ่มมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการให้เด็กดูโฆษณาที่มีภาพเคลื่อนไหวเปลี่ยนไปมารวดเร็ว เนื่องจากภาพเหล่านั้นจะไปกระตุ้นสมองทำให้เด็กมีภาวะสมาธิสั้นได้ง่าย
อาการสมาธิสั้นสามารถบำบัดรักษาให้ดีขึ้นได้ เพียงแค่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องให้ความเอาใจใส่กับเด็ก พูดคุย ซักถาม ให้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันกับเด็ก ไม่ดุว่าหรือตี เพราะจะทำให้เด็กจดจำประสบการณ์ที่ไม่ดี และเด็กจะไม่เข้าใจว่าเขาทำอะไรผิด เนื่องจากอาการต่างๆ มาจากความผิดปกติของสมองหรือสารเคมีของร่างกาย ซึ่งตัวเด็กเองไม่สามารถควบคุมได้ พ่อแม่ผู้ปกครองและครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดที่สามารถช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นหรือหายขาดได้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขอขอบคุณ : www.baankengkhim.com
[ แก้ไขล่าสุด mink เมื่อ 2009-5-13 15:16 ]
วันที่ 19 พ.ค. 2552
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,200 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,173 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 4,465 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,113 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,506 ครั้ง |
เปิดอ่าน 89,143 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,533 ครั้ง |
|
|