นักวิทย์อิสราเอลเผย พบปะการังเปลี่ยนเพศได้ คล้ายกับพืชบางชนิด ที่ต้องปรับตัวให้อยู่รอด ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พบพฤติกรรมนี้ในปะการัง คาดสาเหตุ มาจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้ต้องเปลี่ยนจากเพศเมียเป็นเพศผู้ เพราะทนทานต่อแรงกดดันได้ดีกว่า และใช้พลังงานน้อยกว่า
การค้นพบพฤติกรรมการเปลี่ยนเพศในปะการังดอกเห็ด (mushroom coral หรือ fungiid coral) เป็นผลงานของ ศาสตราจารย์ยอสซี โลยา (Prof. Yossi Loya) ภาควิชาสัตววิทยา มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (Tel Aviv University) ประเทศอิสราเอล ที่พบว่าปะการังดังกล่าวมีการเปลี่ยนเพศ เพื่อความอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พบกรณีแบบนี้ในปะการัง และได้ตีพิมพ์ในวารสารราชบัณฑิตยสภาอังกฤษฉบับบี (Proceedings of the Royal Society B) ตามที่ระบุในเว็บไซต์ไซน์เดลี
ศาสตราจารย์โลยา อธิบายเรื่องนี้ว่า เมื่อเวลาที่สภาพอากาศร้อนอย่างรุนแรง ปะการังดอกเห็ดเพศเมีย จะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นเพศผู้ ที่สามารถต่อสู้กับสภาวะเเร้นแค้น หรือมีแรงกดดันจากธรรมชาติได้มากกว่าปะการังเพศเมีย ซึ่งกรณีนี้พบได้ในกล้วยไม้ และพืชบางชนิด
"ดูเหมือนว่าการเปลี่ยนเพศ จะเป็นวิวัฒนาการอย่างหนึ่งของปะการังบางชนิด เนื่องจากปะการังเพศผู้ สามารถทนต่อสภาวะโหดร้ายได้มากกว่า เมื่อผ่านช่วงนั้นไปได้ และสภาพแวดล้อมกลับมาเหมาะสมเช่นเดิม ปะการังเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนกลับมาเป็นเพศเมียดังเดิม" ศาสตราจารย์โลยา อธิบาย
"ที่เป็นเช่นนี้เพราะปะการังเพศผู้ใช้พลังงานในการดำรงชีวิตน้อยกว่าปะการังเพศเมีย และเมื่อมันสามารถเปลี่ยนเพศได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จะทำให้สิ่งมีชีวิตนี้มีความพยายามในการสืบพันธุ์อย่างมากที่สุด" ศาสตราจารย์โลยา กล่าวต่อ
ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ แต่ก็ยังมีพฤติกรรมบางอย่างคล้ายกับพืช และนอกเหนือจากสีสันสวยสดงดงามแล้ว ปะการังยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์ทะเลชนิดอื่นอีกหลากหลายชนิดพันธุ์ ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญให้ของมนุษย์
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันแนวปะการังใต้ทะเลหลายแห่งถูกทำลายลง ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ซึ่งมีแนวปะการังถึง 1 ใน 4 ส่วนจากทั่วโลกเสียหายไปแล้ว
จากการค้นพบว่า ปะการังสามารถเปลี่ยนเพศได้ จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ต้องศึกษาทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาวิธีการขยายพันธุ์ปะการังให้ได้ ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอย่างใหญ่หลวง ตามที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์กันไว้
"องค์ความรู้นี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง กับนักเพาะพันธุ์ปะการัง ซึ่งปะการังดอกเห็ดนั้นจัดเป็นปะการังที่ค่อนข้างแข็งแรง หากเรารู้สภาวะในการสืบพันธุ์ของมัน เราก็สามารถขยายพันธุ์เพิ่มได้เป็นจำนวนมาก" ศาสตราจารย์โลยา กล่าว ซึ่งเขาศึกษาเรื่องปะการังมานานกว่า 35 ปี และขณะนี้ก็กำลังดำเนินโครงการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยให้ปะการังในทะเลแดง
"เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" เป็นการตีความในแง่ธรรมชาติ ความหมายโดยสรุปคือ "การทำลายธรรมชาติแม้เพียงเล็กน้อย จะส่งผลกระทบถึงทั้งโลกที่เราอยู่" เป็นวลีที่ขยายความมาจาก "ทฤษฎีไร้ระเบียบ-chaos theory" ทั้งนี้ คำ "chaos" (เค-ออส) เป็นศัพท์บัญญัติของนักคณิตศาสตร์ประยุกต์ชาวอเมริกัน เจมส์ เอ ยอร์ค ซึ่งอธิบายถึงลักษณะพฤติกรรมของระบบพลวัต (คือระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น เปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป)
จุดเริ่มต้นของทฤษฎีเคออส สืบย้อนไปได้ถึง ค.ศ.1900 โดยมีนักวิทยาศาสตร์นักคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อย เริ่มจากการศึกษาปัญหาวงโคจรของวัตถุสามชิ้นในสนามแรงดึงดูดระหว่างกัน ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า ปัญหาสามวัตถุ โดย อองรี ปวงกาเร ซึ่งได้ค้นพบว่า วงโคจรที่ศึกษานั้นอาจจะมีลักษณะที่ไม่ได้เป็นวงรอบ คือไม่ได้มีทางวิ่งซ้ำเป็นวงรอบ ยิ่งไปกว่านั้น วงโคจรนั้นก็ไม่ได้ขยายวงออกไปเรื่อยๆ หรือมีลักษณะที่ลู่เข้าหาจุดใดๆ
ธรรมชาติของความหลากหลาย ความโกลาหล (chaos) และการก่อตัวขึ้นอย่างเป็นระเบียบ ธรรมชาติ คือ การที่เป็นไปเองโดยธรรมชาติหรือสิ่งที่เกิดเองโดยธรรมชาติ ไม่ใช่สิ่งที่กำเนิดขึ้นโดยอำนาจหรือคำสั่งหรือโดยการควบคุม ธรรมชาติมีมานาน ใหญ่ที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีเหตุมีผลอยู่ในตัวจึงเป็นเช่นนี้ ธรรมชาติจึงเป็นตัวแบบที่เราควรศึกษา
สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้ต้องมีความหลากหลายถึงขนาด โลกเมื่อแรกกำเนิดประมาณ 4,500 ล้านปี ยังไม่มีสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก1,000 ล้านปี หลังจากนั้นเมื่อสภาพเหมาะสมให้เกิด สภาพเหมาะสม คือ มีความหลากหลายถึงขนาด คือ อณูของสสารในรูปแบบต่างๆและมีสภาพโกลาหล ( chaos) อันได้ต้องมีความหลากหลายเกิดจากปฏิสัมพันธ์กันไปมาระหว่างอณูต่างๆเป็นสภาพที่ไร้เสถียรภาพ(unstable)ธรรมชาตินั้นจะเกาะเกี่ยวก่อตัวไปสู่สภาวะเสถียร เช่น การเกิดขึ้นของอะตอมการเกาะเกี่ยวเกาะตัว ( organization ) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเองจากสิ่งไม่มีชีวิตเพราะเหตุนี้ ชีวิตเป็นสิ่งที่มีระเบียบ ( order)สิ่งที่มีระเบียบเกิดจากสภาพไร้ระเบียบ (chaos) จึงมีผู้บัญญัติศัพท์ "chaordic" ซึ่งมาจากคำว่า chaos + order คือ ในความไร้ระเบียบจะมีการต่อตัวขึ้นมาเอง เป็นองคาพยพที่มีระเบียบ เช่น สิ่งมีชีวิต ( organism ) หรือ องค์กร ( organization ) ชนิดอื่น
สิ่งที่เป็นระเบียบ (order) จะเกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติเป็นสภาพที่สร้างตัวเองเติบโตวิวัฒนาการไปตามธรรมชาติ ตามธรรมชาติ หมายถึง ไม่มีอำนาจเข้าไปทำลายความเป็นธรรมชาติ
การเชื่อมโยงกันตามธรรมชาติทำให้เกิดความบรรสานสอดคล้องและการมีระเบียบ ทำให้เกิดความเป็นปรกติและความยั่งยืน การใช้อำนาจจะทำให้ตัดขาดหรือรบกวนความเชื่อมโยงตามปรกติ ทำให้ไม่ปรกติหรือเจ็บป่วย วิกฤตและไม่ยั่งยืน
จนถึงปัจจุบัน วิกฤตสิ่งแวดล้อมที่กำลังเผชิญกันอยู่ในเวลานี้ได้รับการยอนรับว่ามีปฐมเหตุมาจากการมองโลกที่แตกต่างกัน และการปฏิบัติการต่างๆตามการมองโลกนั้นการมองโลกที่ถูกโจมตีอยู่เสมอก็คือความคิดที่แบ่งสิ่งต่างๆออกเป็นสิ่งย่อยๆการฟื้นฟุความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาตินั้น จำเป็นต้องอาศัยโลกทัศน์ที่แตกต่างไปจากเดิม การตระหนักถึงความเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันของสิ่งต่างๆ ที่เรียกว่า “องค์รวม” ย่อมทำให้เราละเอียดขึ้นที่จะสัมพันธ์กับโลกธรรมชาติ
ฟริตจ๊อบ คาปรา นักคิดผู้เขียน"เต๋าแห่งฟิสิกส์" และ “The Web of Life” จึงสรุปทฤษฎีทางนิเวศวิทยาว่า “เราไม่สามารถพูดถึงธรรมชาติโดยไม่พูดถึงตัวเราเองไปพร้อมกัน”
ปัจจุบันโลกทัศน์แบบแยกส่วนกำลังถูกแทนที่ด้วยโลกทัศน์แบบองค์รวม อันตั้งอยู่บนพื้นฐานของการค้นพบของทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าที่สุด (ฟิสิกส์ใหม่) ในขณะนี้ รวมถึงสอดคล้องกับหลักทางนิเวศวิทยาด้วยนั่นคือ สัมพันธภาพระหว่างสรรพชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน และนั่นอาจหมายถึงการยืนอยู่บนหลักแห่งความเสมอภาคหรืการดำรงอยู่ของความหลากหลายในโลกธรรมชาติ
ในสังคมไทยเอง ก็มีความคิดความเชื่อซึ่งเกี่ยวข้องในประเด็นเรื่องระบบนิเวศดังจะเห็นได้จากวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นกับป่า แม่น้ำ ดำเนินควบคู่กันไปด้วยความผูกพันและเอื้ออำนวยต่อกันมาช้านาน สังคมวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัดเจนในเรื่องป่าชุมชนซึ่งเป็นการรักษาป่าบนพื้นฐานความเชื่อบางประการ เช่น ความเชื่อเรื่องดอนปู่ตาของภาคอีสาน ความเชื่อเหล่านี้ก่อให้เกิดประเพณีการใช้ป่าอย่างอ่อนน้อมยำเกรงในบุญคุณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ในป่า นอกจากนี้ปัจจุบันมีรูปธรรมให้เห็นมากมายว่าองค์กรชาวบ้าน ชุชนในหลายพื้นที่ได้ร่วมกันรักษาป่า เช่นการบวชป่าและสืบชะตาแม่น้ำจึงเป็นสื่อและสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความผูกพันและพึ่งพาอาศัยกันระหว่างคนกับธรรมชาติและการปลุกพลัง ปลุกจิตวิญญาณของคน ชมชนสาธารณะให้ลุกขึ้นมาปกป้องพื้นผิวป่า และสายน้ำในวิถีที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ระบบนิเวศความสมดุลตามธรรมชาติ และการดำรงอยู่อย่างยั้งยืนนั้น ไม่ได้จำกัดความหมายเฉพาะกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่เป็นเรื่องของกายภาพเท่านั้น แต่เป็นเรื่องขององค์รวมทั้งหมด นั่นคือรวมเรื่องของระบบนิเวศสังคมที่สร้างสรรค์ความถูกต้องเป็นธรรม และเรื่องของนิเวศทัศน์ทางจิตวิญญาณที่ต้องไปพร้อมๆกันด้วย โดยเฉพาะความรู้สึกที่มักขาดหายไปด้วยกับการบริโภค การพล่าผลาญทรัพยากรอย่างละโมบก็คือ การรู้จักใจของตนเอง อันเป็นที่มาของการตระหนัก ความระวังระไว ที่จะทำให้ความประมาท ความหลงผิดลดลง นั่นคือการตระหนักว่าธรรมชาตินั้นสมบูรณ์ที่สุดแล้วโดยตัวมันเอง ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ควรคิดการใดๆที่นึกว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของสิ่งทั้งปวง
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ครับ (Greenhouse gases)
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)
ภาวะโลกร้อนเป็นภัยพิบัติที่มาถึงโดยที่เราทุกคนต่างทราบถึงสาเหตุของการเกิดเป็นอย่างดี นั่นคือ การที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอซซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน เราต่างทราบดีถึงผลกระทบบางอย่างของภาวะโลกร้อน เช่น การละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง การแพร่ระบาดของโรคร้ายต่างๆ อุทกภัย ปะการังเปลี่ยนสีและการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ประเทศตามแนวชายฝั่ง ประเทศที่เป็นเกาะ และภูมิภาคที่กำลังพัฒนาอย่างเอเชียอาคเนย์
จากการทำงานของคณะกรรมการของรัฐบาลนานาชาติ ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีองค์การวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ เฝ้าสังเกตผลกระทบต่างๆ และได้พบหลักฐานใหม่ที่แน่ชัดว่า จากการที่ภาวะโลกร้อนขึ้นในช่วง 50 กว่าปีมานี้ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นในทุกหนทุกแห่ง ประมาณ 1.4-5.8 องศาเซลเซียส
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่ ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง วาตภัย อุทกภัย พายุฝนฟ้าคะนอง พายุทอร์นาโด แผ่นดินถล่ม และการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน จากภาวะอันตรายเหล่านี้พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งได้รับผลกระทบมากกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่และช่วยเหลือเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เป็นเหตุให้ปริมาณผลผลิตเพื่อการบริโภคโดยรวมลดลง ซึ่งทำให้จำนวนผู้อดอยากหิวโหยเพิ่มขึ้นอีก 60-350 ล้านคน
ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) คือ ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรทที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชนถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน
ในประเทศในเขตหนาวมีการเพาะปลูกพืชโดยอาศัยการควบคุมอุณหภูมิความร้อนโดยใช้หลักการที่พลังงาน ความร้อนจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก แต่ความร้อนที่อยู่ภายในเรือนกระจกไม่สามารถสะท้อนกลับออกมาทำให้อุณหภุมิภายในสูงขึ้นเหมาะแก่การเพาะปลูกของพืช จึงมีการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนี้ว่าภาวะ เรือนกระจก(greenhouse effect)
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุดและมีผลทำให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ CO2ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง การผลิตซีเมนต์ การเผาไม้ทำลายป่า ก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ มีเทน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ เช่น ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้ ของเสีย อุจจาระ CFC เป็นสารประกอบสำหรับทำความเย็น พบในเครื่องทำความเย็นต่างๆ เป็นสิ่งที่อยู่ร่วมกับฟรีออน และยังพบได้ในสเปรย์ต่าง ๆ อีกด้วย Nitrous Oxide (N2O) เป็นก๊าซมีพิษที่เกิดจากเครื่องยนต์ การเผาถ่านหิน และใช้ประกอบในรถยนต์เพื่อเพิ่มกำลังเครื่อง
ก๊าซเหล่านี้เช่น CFC จะทำปฏิกิริยากับรังสีอัลตราไวโอเลตและแตกตัวออกเป็นโมเลกุลคลอลีนและโมเลกุลต่างๆอีกหลายชนิด ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้จะเป็นตัวทำลายโมเลกุลของออกซิเจนชนิดพิเศษหรือ O3 บนชั้นบรรยากาศโอโซน ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต และอินฟาเรดส่องผ่านลงมายังพื้นโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกันก๊าซเหล่านี้ก็กันรังสีไม่ให้ออกไปจากบรรยากาศโลก ด้วยว่าที่รังสีเหล่านี้เป็นพลังงาน จึงทำให้โลกร้อนขึ้น
จากเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว จนมาสู่ภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน หากมนุษย์ที่อยู่บนโลกยังไม่มีจิตสำนึกในการรักษาโลกไว้ ก็จะทำให้เกิดวิกฤติที่ใหญ่หลวงตามมาอย่างมากมายที่ไม่สามารถที่เราจะคาดเดาได้ ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะช่วยกันรักษาโลกไว้ไม่ให้ถูกทำลายด้วยน้ำมือของมนุษย์เราเอง ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมากไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวเราอีกต่อไป
อ้างอิง
ประเวศ วะสีและคณะ. ธรรมชาติของสรรพสิ่ง : การเข้าถึงความจริงทั้งหมด. กรุงเทพฯ
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, 2547.
http://www.thaigoodview.com
http://www.whyworldhot.com
|