Advertisement
ไร้กรอบ
***เคยได้ยินชื่อ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ไหมครับ??
เขาเคยเป็นวิศวกรขององค์การอวกาศนาซา
ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 20 กว่าปีก่อน
เคยได้รับรางวัลงานวิจัยที่ดีที่สุดระดับโลก
เกี่ยวกับเครื่องยนต์ไอพ่น
ตัดสินใจกลับเมืองไทยเพราะ
1.อยากดูแลพ่อแม่
2.ไม่อยากเป็นพลเมืองชั้นสองในบ้านพักคนชรา
3.อยากเที่ยว และ
4.ชอบกินอาหารอร่อย
เคยเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก่อนจะออกมาตั้งบริษัทที่ปรึกษาของตัวเอง
ผมประทับใจบทสัมภาษณ์ของ ดร.วรภัทรใน 'เสาร์สวัสดี'
ของ 'กรุงเทพธุรกิจ ' มาก
คนอะไรก็ไม่รู้ ชีวิตมันส์เป็นบ้า
ความคิดก็กวนเหลือหลาย
ตอนที่เขาเป็นอาจารย์
วิธีการสอนหนังสือของเขาแปลกกว่าคนอื่น
'ผมออกนอกกรอบตลอดเวลา'
เขาบอก
เขาเคยพาเด็กวิศวะไปที่ริมสระว่ายน้ำ
เรียนไปและดูนิสิตสาว ๆ ว่ายน้ำไป
ด้วยคาดว่าคงไปเรียนเรื่อง 'คลื่น'
ระหว่างท่าฟรีสไตล์ กับท่าผีเสื้อ
คลื่นที่เกิดขึ้นของท่าไหนถี่กว่ากัน
ระหว่างชุดทูพีซกับวันพีซ
แรงเสียดทานกับน้ำ ชุดไหนมากกว่ากัน
แนวการศึกษาน่าจะออกไปทำนองนี้
แต่ที่ชอบที่สุดคือตอนที่เขาออกข้อสอบ
ข้อสอบของเขาสั้นและกระชับมาก
'จงออกข้อสอบเอง พร้อมเฉลย'
โหย...เด็กวิดวะอึ้งกันทั้งห้อง
คำตอบส่วนใหญ่เป็นการตั้งโจทย์แบบง่ายๆ
เช่น ปั้นจั่นมีกี่ชนิด
ผลปรากฎว่าได้ศูนย์กันทั้งห้อง
เพราะเป็นคำตอบที่ไม่ได้แสดงความคิดที่ลึกซึ้ง
สมกับที่เรียนมาทั้งเทอม
เหตุผลที่ดร.วรภัทรออกข้อสอบ
ด้วยการให้นิสิตออกข้อสอบเอง
เป็นเหตุผลที่ตรงกับใจผมมาก
'ชีวิตคนเราจะรอให้อาจารย์ตั้งโจทย์อย่างเดียวไม่ได้
ต้องหาโจทย์มาเอง คิดแล้วทำ
ถ้าผิดแล้วอาจารย์จะปรับให้'
เขามองว่าเด็กรุ่นใหม่ติดนิสัยเด็กกวดวิชา
รอคนคาบทุกอย่างมาป้อนให้ไม่รู้จักคิดเอง
'ถ้ารอและตั้งรับ
คุณก็เป็นพวกอีแร้ง
แต่พวกคุณแย่กว่า
เพราะเป็นแค่ลูกอีแร้ง
คือ รออาหารที่คนอื่นป้อนให้'
โหย...เจ็บ
ผมเชื่อมานานแล้วว่า
ชีวิตของคนเรา
เป็นข้อสอบอัตนัย
ที่ต้องตั้งโจทย์เอง และตอบเอง
ไม่ใช่ข้อสอบปรนัย
ที่มีคนตั้งโจทย์ และมีคำตอบ
เป็นทางเลือก ก-ข-ค-ง
ถ้าใครที่คุ้นกับ 'ชีวิตปรนัย'
ที่มีคนตั้งโจทย์ให้และเสนอทางเลือก
1-2-3-4 คนคนนั้นชีวิตจะไม่ก้าวหน้า
เพราะต้องพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลาติดกับ
'กรอบ'
ที่คนอื่นสร้างให้
ไม่เหมือนกับคนที่รู้จักคิด และตั้งคำถามเอง
เรื่องการตั้งคำถามกับชีวิต เป็นเรื่องสำคัญมาก
อย่าลืมว่า
เพราะมี 'คำถาม' จึงมี 'คำตอบ'
เมื่อมี 'คำตอบ' เราจึงเลือกเดิน
พูดถึงเรื่องการตั้งคำถาม
ผมนึกถึง 'โสเครติส' เขาเป็นนักปรัชญาเอกของโลก
ที่สอนลูกศิษย์ด้วยการสนทนา
ตั้งคำถามให้ลูกศิษย์ตอบ
สร้างองค์ความรู้จาก 'คำถาม'
กลยุทธ์ของ 'โสเครติส' ในการสอน คือ
ไม่ให้ความเห็นใดๆ แก่นักเรียน
และทำลายความมั่นใจของ นักเรียนที่เชื่อว่าตนเองรู้
'โสเครติส' เชื่อว่าเมื่อเด็กตระหนักใน
'ความไม่รู้' ของตนเอง
เขาจะเริ่มต้นแสวงหา 'ความรู้'
แต่ถ้าเด็กยังเชื่อมั่นว่าตนเองมี 'ความรู้' เขาก็จะไม่แสวงหา 'ความรู้ '
การตั้งคำถามของโสเครติสจึงมีเป้าหมาย
โจมตีและทำลายความเชื่อมั่นในภูมิความรู้ของนักเรียน
เป็นกลยุทธ์เท 'น้ำ' ให้หมดจากแก้ว
เมื่อแก้วไม่มีน้ำแล้ว จึงเริ่มให้เขาเท 'น้ำ' ใหม่ ใส่แก้วด้วยมือของเขาเอง
'น้ำ' ที่ลูกศิษย์แต่ละคนเทลงแก้วด้วยมือตัวเองมาจาก
'คำตอบ' ที่เขาค้นคิดขึ้นมาเอง
'คำตอบ' จาก 'คำถาม' ของ 'โสเครติส'
'โสเครติส' นิยามศัพท์คำว่า 'คนฉลาด' และ 'คนโง่' ได้อย่างน่าสนใจ
'คนฉลาด' ในมุมมองของ
'โสเครติส' นั้นไม่ใช่คนที่รู้ทุกเรื่องแต่
'คนฉลาด' คือคนที่รู้ว่าตัวเองไม่รู้
ส่วน
'คนโง่' นั้น คือคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้
แต่ทำตัวราวกับเป็นผู้รู้
***ไม่น่าเชื่อว่าก่อนหน้านี้
ผมยังมีความภาคภูมิใจใน 'ความรู้'
ของตนเอง แต่พออ่านถึงบรรทัดนี้
ทำไมผมเริ่มรู้สึกว่า
ตัวเองไม่รู้อะไรเลย***
ลองหาความรู้ใหม่ ๆ ให้กับตัวคุณ
วันที่ 19 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,133 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,133 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,134 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,228 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,503 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,252 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,256 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,625 ครั้ง |
|
|