-
โลภะ
- เป็นความพอใจแบบลิงโลด มุ่งพอใจผลลัพธ์ คือพอใจเสวยผลมากกว่าสร้างเหตุ นำไปสู่ตัณหาคือสมุทัย ตามด้วยทุกข์ ตามลำดับ
-
ฉันทะ
- เป็นความพอใจที่กำลังพอดี มุ่งพอใจที่ได้กระทำ คือพอใจในการสร้างเหตุมากกว่าเสวยผล นำไปสู่อิทธิบาท คือการมีฤทธิ์
แต่เนื่องจากกามเป็นของหยาบ ดังนั้น กามฉันทะ (ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) อันเป็นตัวนำไปสู่การไขว่คว้าหากามสุข ซึ่งเป็นของหยาบเหมือนกัน กามสุขจะไปขวางทางนำไปสู่นิรามิสสุข ซึ่งเป็นสุขชั้นเลิศ ท่านจึงจัดกามฉันทะไว้เป็นนิวรณ์ เครื่องกางกั้นความดี ที่เราต้องหมั่นระงับเนือง ๆ
ผุดขึ้นขณะออกกำลังกายเปลี่ยนอิริยาบถ แล้วร่างกายเคลื่อนไหวไม่ได้ดั่งใจ จึงเกิดขัดเคืองขึ้น เมื่อขัดเคืองใจขึ้น จึงรู้สึกตัวว่าตั้งจิตไว้ผิด พอสาวลงไปในจิตจึงพบต้นเหตุคือตัณหา -> โลภะ ที่อยากให้ร่างกายเป็นได้ดั่งใจ จึงย้อนกลับมาตั้งจิตใหม่ให้พอใจในการกระทำการออกกำลังกาย แทนที่จะตั้งความหวังว่าให้ร่างกายแข็งแรง พบว่าจิตนุ่มนวลขึ้น เกิดความโล่ง โปร่ง เบา ความขัดเคืองใจก็หายไป - เอวัง....