Advertisement
|
โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุในอันดับต้นๆ ของการฆ่าตัวตาย โดยพบว่ามีผู้ที่ฆ่าตัวตายมากถึงร้อยละ 60 ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งคนที่เป็นโรคนี้จะมีภาวะจิตใจอ่อนแอ เมื่อประสบกับความผิดหวังหรือปัญหาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว ความรัก หรือการศึกษา ผู้ป่วยจะเกิดความคิดฆ่าตัวตายได้ง่ายกว่าคนปกติถึง 3 เท่า
จากการสำรวจ ประชากรไทยป่วย เป็นโรคซึมเศร้าถึงร้อยละ 5 หรือกว่า 3 ล้านคน ยังไม่รวมถึงคนที่ไม่รู้ตัวเองว่าป่วย อีกทั้งโรคนี้มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ป่วยจะต้องอยากฆ่าตัวตายเสมอไป ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและปัจจัยกระตุ้นด้วย
ธนาคารโลกร่วมกับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้วิจัยออกมาว่า ในปี 2563 โรคซึมเศร้าจะเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกอันดับที่ 2 รองลงมาจากโรคหัวใจหลอดเลือด เพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม
ภาวะซึมเศร้า คืออาการที่เกิดได้กับทุกคนเป็นครั้งคราว เป็นปฏิกิริยาทางจิตใจต่อความกดดันหรือความสูญเสีย ทั้งการเสียชีวิตของคู่แต่งงานและคนในครอบครัว การซึมเศร้าหลังคลอด การย้ายที่อยู่ที่ทำงาน หรือจากสภาพอากาศ เช่น วันที่ฝนตก หรือฤดูหนาว จนทำให้รู้สึกหดหู่ และเกิดอาการซึมเศร้าตามมา จนอาจทำให้เป็นโรค ซึมเศร้าได้ ถ้ามีอาการต่างๆ ต่อไปนี้นานติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์
อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป
ที่พบบ่อยคือจะกลายเป็นคนเศร้า-สร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ดูเหมือนจะอ่อนไหวไปหมด บางคนอาจไม่มีอารมณ์เศร้าชัดเจน แต่จะบอกว่าจิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใสไม่สดชื่นเหมือนเดิมบางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายในทุกสิ่งทุกอย่าง สิ ่งที่ตนเคยทำแล้วเพลินใจหรือสบายใจ เช่น ฟังเพลง พบปะเพื่อนฝูง เข้าวัด ก็ไม่อยากทำ หรือทำแล้วก็ไม่ทำให้สบายใจขึ้น บางคนอาจมีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย อะไรก็ดูขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน
ความคิดเปลี่ยนไป มองอะไร ก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด
มองชีวิตที่ผ่านมาในอดีตก็เห็นแต่ความผิดพลาด ความล้มเหลวของตนเอง และจะรู้สึกว่าอะไรๆ ก็ดูแย่ไปหมด ไม่มีใครช่วยอะไรได้ มองไม่เห็นทางออก ไม่เห็น อนาคต รู้สึกหมดหวังกับชีวิต บางคนกลายเป็นคนไม่มั่นใจตนเองไป รู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถไร้คุณค่า เป็นภาระแก่คนอื่น ความคับข้องใจ ทรมานจิตใจ เหล่านี้อาจทำให้เจ้าตัวคิดถึงเรื่องการตายอยู่บ่อยๆ แรกๆ ก็อาจคิดเพียงแค่อยากไปให้พ้นๆ จากสภาพตอนนี้ ต่อมาเริ่มคิดอยากตาย ในช่วงนี้หากมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนจิตใจ ก็อาจ เกิดการทำร้ายตนเองขึ้นได้ จากอารมณ์ชั่ววูบ
สมาธิ ความจำแย่ลง หลงลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ มีผลทำให้ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ตามไปด้วย
วางของไว้ที่ไหนก็นึกไม่ออกคนใกล้ชิดเพิ่งพูดด้วยเมื่อเช้า ก็นึกไม่ออกว่าเขาสั่งว่าอะไร จิตใจเหม่อลอยบ่อย ทำอะไรไม่ได้นาน เนื่องจากไม่มีสมาธิ ประสิทธิภาพ ในการทำงานลดลง ทำงานผิดๆ ถูกๆ
ในช่วงแรกๆ ผู้ที่เป็นอาจจะพอฝืนใจตัวเองให้ทำได้ แต่พอเป็นมากๆ ขึ้น ก็จะหมดพลังที่จะต่อสู้ เริ่มลางาน ขาดงานบ่อยๆ ซึ่งหากไม่มีใครเข้าใจหรือให้การช่วยเหลือ
ก็มักจะถูกให้ออกจากงาน
มีอาการทางร่างกายต่างๆ ร่วม
ที่พบบ่อยคือจะรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง ประกอบกับความ รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร ก็จะทำให้คนอื่นมองว่าเป็นคนขี้เกียจ ปัญหาด้านการนอนก็พบบ่อยเช่นกัน มักจะหลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆ ตื่นๆ บางคนตื่นแต่เช้ามืดแล้วนอนต่อไม่ได้ ส่วนใหญ่จะรู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางคนลดลงหลายกิโลกรัมภายใน 1 เดือนนอกจากนี้ยังอาจมีอาการท้องผูก แน่นท้อง ปากคอแห้ง บางคนอาจมีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย
ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป
ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะดูซึมลง ไม่ร่าเริง แจ่มใสเหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม แม่บ้านอาจทนที่ลูกๆ ซนไม่ได้ หรือมีปากเสียงระหว่างคู่ครองบ่อยๆ
อาการโรคจิต
จะพบในรายที่เป็นรุนแรงมาก ซึ่ง นอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้ามากแล้ว ยังพบว่ามีอาการของโรคจิต ได้แก่ อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนร่วมด้วย ที่พบบ่อย คือ จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจหูแว่ว ได้ยินเสียงคนมาพูดคุยด้วย อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อได้รับการรักษา อารมณ์เศร้าดีขึ้น อาการโรคจิตก็มักทุเลาตาม
สิ่งที่ควรทำ เมื่อเกิดภาวะซึมเศร้า
¤ การออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะนอกจากจะช่วยทางร่างกายแล้ว จิตใจ ก็ยังจะดีขึ้นด้วย โดยในผู้ที่มีอาการซึมเศร้า ไม่มาก จะรู้สึกว่าจิตใจคลายความเศร้า และแจ่มใสขึ้นได้ ถ้าได้ออกกำลังกายร่วมกับ ผู้อื่นด้วย ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มการเข้าสังคมไม่รู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยว
¤ อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงาน และการปฏิบัติตัวที่ยากเกินไป ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่เรายังต้องการการพักผ่อนทั้งทางร่างกายและจิตใจ การกระตุ้นตนเองมากไป กลับยิ่งจะทำให้ตัวเองรู้สึกแย่ที่ทำไม่ได้อย่างที่หวัง
¤ เลือกกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีๆ โดยมักจะเป็นสิ่งที่เราเคยชอบ เช่น ไปเที่ยวสวนสาธารณะไปเที่ยวชายทะเล ชวนเพื่อนมาที่บ้าน เป็นต้น
¤ พยายามทำกิจกรรมที่ทำร่วมกับคนอื่นมากกว่าที่จะอยู่คนเดียว หลักการเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกอย่างหนึ่ง ก็คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้จะไม่คงอยู่ตลอดไป แต่จะขึ้นๆ ลงๆ ในแต่ละช่วง คนที่มีความโศกเศร้ามักจะรู้สึกหมดหวัง คิดว่าความรู้สึกนี้จะคงอยู่กับตนเองตลอดเวลาในความเป็นจริงแล้ว จะมีอยู่บางช่วงที่อารมณ์เศร้านี้เบาบางลง
¤ อย่าตัดสินใจเรื่องที่สำคัญต่อชีวิต เช่น การหย่า การลาออกจากงาน ขณะที่เรากำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้านี้ การมองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบอาจทำให้การตัดสินใจที่ผิดพลาดไปได้
¤ อย่าหวังว่าจะหายจากอาการซึมเศร้าแบบลัดนิ้วมือเดียว เพราะเป็น ไปได้ยาก จงพยายามช่วยตนเองให้มากที่สุดโดยไม่โทษตนเองว่า ที่ไม่หาย เพราะตนเองไม่พยายาม หรือไม่ดีพอ
คำแนะนำสำหรับญาติ
ญาติมักจะรู้สึกเป็นห่วงผู้ที่เป็นโรคนี้ ไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงได้ซึมเศร้ามากขนาดนี้ ทั้งๆ ที่เรื่องที่มากระทบก็ดูไม่หนักหนานัก ท่าทีเช่นนี้ กลับยิ่งทำให้ผู้ที่เป็นรู้สึกว่าตัวเอง ยิ่งแย่ขึ้นไปอีก เกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระแก่ผู้อื่น ทำให้จิตใจยิ่งตกอยู่ในความทุกข์
แต่ทั้งนี้ ภาวะที่เขาเป็นอยู่ ไม่ใช่อารมณ์เศร้าธรรมดา หรือเป็นจากจิตใจอ่อนแอ หากแต่เป็นภาวะของความผิดปกติ เขากำลัง “เจ็บป่วย” อยู่ สิ่งที่เขาเป็นนั้น เขาไม่ได้แกล้งทำ หากแต่เป็นเพราะมีความผิดปกติอยู่ภายในร่างกาย ความกดดันภายนอกที่รุมเร้า ร่วมกับปัจจัยหลายๆ อย่างในตัวเอง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้มี การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง และระบบฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย เกิดมีอาการต่างๆ ตามมาทั้งทางกายและใจ
บางเวลาผู้ป่วยดูเงียบขรึม ไม่อยากพูดกับใคร ก็อาจต้องตามใจเขาบ้าง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ใช่จะปล่อยเขาไปหมด หากสังเกตว่าช่วงไหนเขาพอมีอารมณ์แจ่มใสขึ้นมาบ้าง ก็ควรชวนเขาพูดคุยถึงเรื่องที่เขาเคยชอบ เคยสนใจ การที่ญาติมีท่าทีสบายๆ ใจเย็น พร้อมที่จะช่วย ไม่กระตุ้น หรือคะยั้นคะยอเกินไป เมื่อสังเกตว่าเขายังไม่พร้อม จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายลง
ผู้ที่กำลังซึมเศร้า บางครั้งจะเกิดความรู้สึกท้อแท้ ไม่เห็นหนทางแก้ปัญหาอาจรู้สึกอยากตายได้ ผู้ที่มีความรู้สึกเช่นนี้ แม้ว่าบางคนจะไม่บอกใคร แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะบอกคนใกล้ชิดเป็นนัยๆ ญาติควรใส่ใจ หากผู้ป่วยพูดจาในทำนองสั่งเสีย ล่ำลา หรือพูดเหมือนกับจะไม่อยากมีชีวิตอยู่โดยเฉพาะถ้าเขาไม่เคยมีท่าทีทำนองนี้มาก่อน
การบอกเป็นนัยๆ นี้ แสดงว่าจิตใจเขาตอนนั้นกำลังต้องการความช่วยเหลือ ต้องการคนเข้าใจอย่างมาก
เรื่องหนึ่งที่มักเข้าใจผิดกัน คือ คนมักไม่ค่อยกล้าถามผู้ป่วยถึงเรื่องความคิดที่อยากจะตาย เพราะเกรงว่าจะเป็นการไป ชี้โพรงให้กระรอก แต่จริงๆ แล้ว ไม่เป็นเช่นนั้น ความคิดอยากตายมักเกิดจากการครุ่นคิดของผู้ป่วย จากมุมมองต่อปัญหาที่บิดเบือนไปมากกว่า ไม่ได้เป็นเพราะคำถามเรื่องนี้
ในทางตรงกันข้าม การถามกลับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก ความตึงเครียด คับข้องใจ ลดลง
หากผู้ป่วยพูดถึงเรื่องอยากตาย อย่าบอกว่า “อย่าคิดมาก” “ให้เลิกคิด” หรือ “อย่าสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น” คำพูดทำนองนี้ อาจทำให้เขารู้สึกว่าญาติ ไม่สนใจรับรู้ปัญหา เห็นว่าเขาเหลวไหล ญาติควรให้ความสนใจ เปิดโอกาสให้เขา ได้พูดถึงความคับข้องใจ
ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ไม่มีโอกาส หรือไม่ได้พูดถึงความคับข้องใจของตนเอง ให้คนใกล้ชิดได้รับรู้ เพราะมีความรู้สึกว่า “เขาคงไม่สนใจ” “ไม่อยากรบกวนเขา” “ไม่รู้ว่าจะเล่าให้เขาฟังตอนไหน” ในช่วงภาวะวิกฤตินั้น สิ่งที่ผู้ทุกข์ใจต้องการมาก คือ ผู้ที่พร้อมจะรับฟังปัญหาของเขาด้วยความ เข้าใจ อย่าเพิ่งรีบไปให้คำแนะนำ โดยที่เขา ยังไม่ได้พูดอะไร
การที่เขาได้พูดระบายออกมาเป็นการเปิดโอกาสให้ญาติได้เห็นชัดเจนขึ้นว่า ปัญหาหรือสิ่งที่ผู้ป่วยเห็นว่าสำคัญคืออะไร ซึ่งอาจจะแตกต่างจากที่ญาติเคยคิดมาก่อนก็ได้
โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษา ด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนองต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้มี “ภูมิคุ้มกัน” สามารถต่อสู้กับปัญหาที่จะย่างกรายเข้ามาได้ดีกว่าเดิม ©
|
|
|
วันที่ 19 พ.ค. 2552
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,207 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,173 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,176 ครั้ง เปิดอ่าน 7,259 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,189 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,281 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 12,739 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,629 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,395 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,891 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,286 ครั้ง |
|
|