นิทาน คือ
เรื่องเล่าสืบต่อกันมา เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุด กล่าวกันว่านิทานมีกำเนิด
พร้อม ๆ กับครอบครัวของมนุษยชาติ มูลเหตุที่มาแต่เริ่มแรก คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง
แล้วเล่าสู่กันฟัง มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งให้พิสดารมากยิ่งขึ้น จนห่างไกลจากเรื่องจริง กลายเป็นนิทานไปการเขียนนิทาน เป็นการเขียนจากจินตนาการ ผู้เขียนจะต้องมีศิลปะ
ในการเขียน โดยเขียนให้สนุกและมีคุณค่าแก่ผู้อ่าน
องค์ประกอบของนิทาน
๑. แนวคิดหรือแกนของเรื่อง หรือสารัตถะของเรื่อง แนวคิดของเรื่องนิทาน มักเป็น
องค์ประกอบพื้นฐาน ง่ายไม่ลึกซึ้งนัก เช่น แนวคิดเรื่องแม่เลี้ยงข่มแหงลูกเลี้ยง การทำความดีจะได้ผลดีตอบสนอง
๒. โครงเรื่องของนิทาน มักสั้น กะทัดรัด เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นลักษณะเรื่องเล่า
ธรรมดา โดยดำเนินเรื่องไปตามลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง
๓. ตัวละคร ไม่ควรมีหลายตัว เพราะเป็นเรื่องสั้น ๆ จะน่าอ่านกว่า เรื่องยาวๆ ตัวละคร
อาจเป็นคน สัตว์ เทพเจ้า นางฟ้า มนุษย์ อมนุษย์ ฯลฯ
๔. ฉาก เป็นภาพจินตนาการที่ผู้เขียนสร้างขึ้น ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
๕. ถ้อยคำหรือบทสนทนาที่ตัวละครในเรื่องพูดกัน ควรใช้ภาษาที่กะทัดรัด เข้าใจง่าย
สนุกสนานชวนติดตาม
๖. คติชีวิต นิทานที่ดีต้องมีข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต สังคม และวัฒนธรรม เพื่อเป็นการปลูกฝัง
คุณธรรมแก่ผู้อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เยาว์ ดังนั้น ในตอนท้ายของนิทานมักสรุปคติ
ชีวิตให้เป็นเครื่องเตือนใจผู้อ่านด้วย
ที่มาของข้อมูล : ที่มา http://komut.spu.ac.th/somkiart/write7.html