Advertisement
ผมอ่านเรื่องเกี่ยวกับคนอินเดียเยอะก็จริงแต่ก็ไม่ปรารถนา
ที่จะสรุปอะไรเอง จึงขอนำการวิเคราะห์ของคนอินเดียที่มีต่อคนอินเดียเองมาเสนอและถ้าข้อใดผมเองมีประสบการณ์ตรงด้วยตัวเองก็จะเสริมเข้าไป ผมคิดว่าวิธีนี้จะดีที่สุด เพราะคงไม่มีคนที่เข้าใจอินเดียได้ดีไปกว่าคนอินเดียเอง เพียงแต่ว่าเราจะเปิดใจรับรู้สิ่งนั้นและพยายามที่จะได้นำไปยกตัวอย่างสอนลูก ก็คืเรื่องคิดแบบอินเดียของ Raghutanthan
ดช.ปัญญาเป็นเด็กที่เกิดในเมืองแต่ย้ายไปอยูใ นชนบท วันหนึ่งไปซื้อแพะจากชาวนาในราคา 1000 บาทซึ่งชาวนายินดีที่จะส่งมอบแพะในวันรุ่งขึ้น พอวันรุ่งขึ้น ชาวนาก็ไปหา ดช.ปัญญาแล้วบอกว่า "ข่าวร้ายหนูเพราะแพะเพิ่งตายไปเมื่อคืนที่แล้วเอง" ดช.ปัญญา ก็บอกว่า "ไม่เป็นไร ถ้าเช่นนั้นคืนเงินให้ผมก็แล้วกัน" "โอ เสียใจด้วยจริงๆ แต่ฉันใช้เงินนั่นหมดไปแล้ว" ชาวนาพูดด้วยสีหน้าเศร้าๆ "ไม่เป็นไร ถ้างั้นเอาแพะตัวนั้นมาให้ฉัน" "หนูจะเอาแพะตายไปทำอะไร" ชาวนาถามด้วยความฉงน "ฉันจะเอาไปจับฉลากขาย" "จะไปจับฉลากแพะที่ตายได้อย่างไร ใครจะไปซื้อ" "ได้ซิ คอยดูละกัน"
จากนั้นชาวนาก็มอบแพะที่ตายให้ ดช.ปัญญาไป
หนึ่งเดือนผ่านไป......ชาวนาพบกับ ดช.ปัญญาจึงถามว่าตกลงเอาแพะที่ตายไปทำอะไร
"ฉันก็ทำฉลาก 500 ใบ ขายใบละ 10 บาท แล้วบอกว่าใครดวงดีจับฉลากได้ก็ได้แพะไปเลย 1 ตัว"
"ฉันได้เงินมา 5000 บาท ได้กำไรหลังจากหักที่จ่ายให้ลุงชาวนาไปแล้ว 3990 บาท"
"แล้วไม่มีคนโวยวายหรือ(เพราะแพะตายแล้ว)" ชาวนาถามด้วยความสงสัย
"ก็มี มีคนเดียวคือคนที่จับฉลากได้ และฉันก็แค่คืนเงินค่าฉลากจำนวน 10 บาทให้คนๆ นั้นไป"
ในเรื่องบอกว่า ดช.ปัญญาต่อมาเติบโตและเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างมาก......
เรื่องราวแบบนี้เป็นสิ่งที่คนอินเดียสอนกัน ที่สำคัญก็คือการ
แก้ไขปัญหาและแก้ไขสถานการณ์ที่เผชิญหน้าหรือคิดคำตอบ
โจทย์ที่ยากๆ ซึ่งคนอินเดียจะเก่งในเรื่องแบบนี้มาก
คนอื่นอาจไม่ได้สังเกตุ แต่ผมเห็นว่าส่วนหนึ่งได้มีการถ่ายทอดความรู้แบบนี้ผ่านทางการ์ตูนพื้นบ้านซึ่งขายในราคาถูกมาก ทำให้เด็กไม่ว่าจะอยู่ในรัฐที่ห่างไกลหรือยากจนก็สามารถเรียนรู้วิธีคิดผ่านสื่อเหล่านี้ได้ เปรียบกับของไทยก็น่าจะได้แก่ศรีธนญชัยที่มีปัญญาและไหวพริบ ฉลาดหลักแหลม
แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า ความเป็นศรีธนญชัยหายสาบสูญไปจากสังคมไทยนานแล้วและบางครั้งถูกมองว่าเป็นความฉลาดในด้านไม่ดีด้วยซ้ำไป สมอง ถ้าไม่ได้ใช้ ไม่นานก็ฝ่อ คนอินเดียจึงเป็นนักคิดนักแก้ปัญหาที่เก่งมาตั้งแต่โบราณกาลและยังสามารถสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ ด้วยองค์ประกอบทางด้านการศึกษาและภาษา
ขอบคุณ Raghunathan ที่ได้ให้ข้อคิดดีๆ ที่คนไทยก็น่าจะได้ประโยชน์ หากรู้จักคิด ไม่มัวแต่ทะเลาะและแย่งชิงอำนาจกัน
(ขอบคุณเพื่อนที่ บจก. ซียูอีแอล เขาส่งข้อความกันแบ่งปันให้บุคลากรรุ่นน้องๆ อ่านในแผนก ถือเป็นการแบ่งปันแนวคิดเป็นการสื่อสารกันอีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีประโยชน์ และเป็นประโยชน์จากการใช้สื้ออีเมล์ในองค์กร และขอบคุณที่แบ่งปันมาให้เพื่อนต่างองค์กร จึงขอนำส่งสู่เด็กไทยทั่วไปต่อไปด้วย )
วันที่ 18 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,188 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,194 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,111 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,545 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,748 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,332 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,308 ครั้ง |
|
|