เกาต์ เป็นโรคข้อที่พบบ่อยชนิดหนึ่ง เกิดจากมีความเข้มข้นของกรดยูริกสูงในร่างกาย ทำให้เกิดผลึกยูเรต (โมโนโซเดียมยูเรต) มีรูปร่างเหมือนเข็มแหลมๆ สะสม ณ อวัยวะต่างๆ ได้แก่ ข้อ เอ็น ไต ก่อให้เกิดการอักเสบ และทำความเสียหายให้อวัยวะต่างๆ เหล่านั้น อาการแรกที่พบบ่อยที่สุดคือ การปวดข้อนิ้วหัวแม่เท้าอย่างรุนแรง อาจตามด้วยอาการหนาวสั่นและมีไข้ มักพบอาการครั้งแรกในเวลากลางคืน
ในผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพบว่ามีเหตุการณ์พิเศษนำก่อนมีอาการ เช่น การกินอาหารเกินพอดี การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความกระทบกระเทือนทางใจอย่างรุนแรง(trauma) การกินหรือได้รับยาบางชนิด เช่น การรับเคมีบำบัด หรือการผ่าตัด เป็นต้น
โรคเกาต์พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาการปวดจะเกิดขึ้นมีการบวมแดงร้อนร่วมด้วย อาการบวมอาจเกิดชั่วครู่หรือนานเป็นวัน ขึ้นกับว่าผู้ป่วยสัมผัสตัวกระตุ้นมากน้อยเพียงใด หากเกิดการกำเริบบ่อยและนานพอ ก็จะเกิดการเสื่อมของข้อ เมื่อข้อเสื่อมแม้ไม่มีการอักเสบก็ปวดได้
อาการข้ออักเสบพบมากในฤดูที่อากาศเย็น และมักเกิดกับอวัยวะที่อยู่ไกลจากหัวใจ เช่น ปลายมือ ปลายเท้า เพราะกรดยูริกละลายในของเหลวได้น้อยในอุณหภูมิต่ำ จึงมีการตกผลึกเกิดขึ้น และทำให้การไหลของเลือดลดลง
แนวทางการวินิจฉัยโรค
วินิจฉัยโรคจากการตรวจค่ากรดยูริกในเลือด หากมีค่าสูงมากเกินมาตรฐาน (hyperuricemia) ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดการตกผลึกของยูเรต ทำให้เกิดโรคเกาต์ได้
การที่กรดยูริกในเลือดมีค่าสูงจะส่งผลให้เกิดการสะสมของผลึกตามอวัยวะต่างๆ ได้ โดยทั่วไปจะถือว่ามีภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (hyperuricemia) ก็เมื่อระดับกรดยูริกในเลือดม่าสูงเกินกว่า 7 มก./ดล. ในผู้ชาย และ 6 [...]
ขอบคุณที่มาข้อมูล