นอกจากนี้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประเพณีของ จ.เชียงใหม่ และประวัติกล้วยไม้ฉบับของมณฑลพายัพ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้กล่าวถึงประโยชน์ของดอกกล้วยไม้ที่ภาษาเหนือเรียกกันว่า “เอื้อง” และหญิงสาวชาวเหนือนิยมใช้ดอกเอื้องประดับผมจนกลายเป็นชื่อเรียกขานสาวเหนือว่า “เอื้องเมืองเหนือ” ไว้ดังนี้
เอื้องคำ ลักษณะดอกสีเหลือง ใช้บูชาพระ และปักมวยผม
เอื้องผึ้ง ดอกสีเหลืองสีน้ำผึ้ง ใช้บูชาพระ
เอื้องม่อนไข่ สีกลีบดอกวงนอกเป็นสีขาว ใจกลางเป็นสีแดงคล้ายสีไข่ต้มสุกแล้วผ่าซีก เพราะคำว่า “ม่อนไข่” แปลว่าไข่แดงที่ต้มสุกแล้ว นิยมใช้บูชาพระ ปักมวยผม
เอื้องจำปา ดอกสีเหลืองคล้ายจำปา
ซึ่งล้วนเป็นกล้วยไม้ที่ชาวเหนือนิยมใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มาตั้งแต่โบราณกาล
กล้วยไม้ของเราแต่เก่าก่อน
อยู่ในดงในดอน เจ้าซ่อนช่อซ่อนใบ
ไกลภู่ ไกลผึ้ง ซ่อนอยู่ถึงไหนไหน
ใครจะเด็ดจะดมได้ ใครจะเด็ดจะดมได้ เราไม่เห็นเลย
โอ้กล้วยไม้เอย น่าชื่นน่าเชย เจ้าบ่เคยชอกช้ำ
เช้าสายบ่ายค่ำ ชื่นบ่ช้ำชอกเลย
*เดี๋ยวนี้ดูหรือกล้วยไม้
มาชู่ช่อชูใบ บานอยู่ในกระเช้า
ลืมดอยลืมดอน ที่เคยอยู่ก่อนอยู่เก่า
ภู่จะคลึง ผึ้งจะเคล้า ให้เจ้าเฉาลง
ภู่จะคลึง ผึ้งจะเคล้า ให้เจ้าเฉาลง
โอ้กล้วยไม้เอย โธ่ไม่น่าเลย ที่จะมาไหลหลง
เจ้าลืมซุ้มพุ่มพง เจ้าลืมดงดอยเอยกล้วยไม้ของเราแต่เก่าก่อน
อยู่ในดงในดอน เจ้าซ่อนช่อซ่อนใบ
ไกลภู่ ไกลผึ้ง ซ่อนอยู่ถึงไหนไหน
ใครจะเด็ดจะดมได้ ใครจะเด็ดจะดมได้ เราไม่เห็นเลย
โอ้กล้วยไม้เอย น่าชื่นน่าเชย เจ้าบ่เคยชอกช้ำ
เช้าสายบ่ายค่ำ ชื่นบ่ช้ำชอกเลย
*เดี๋ยวนี้ดูหรือกล้วยไม้
มาชู่ช่อชูใบ บานอยู่ในกระเช้า
ลืมดอยลืมดอน ที่เคยอยู่ก่อนอยู่เก่า
ภู่จะคลึง ผึ้งจะเคล้า ให้เจ้าเฉาลง
ภู่จะคลึง ผึ้งจะเคล้า ให้เจ้าเฉาลง
โอ้กล้วยไม้เอย โธ่ไม่น่าเลย ที่จะมาใหลหลง
เจ้าลืมซุ้มพุ่มพง เจ้าลืมดงดอยเอย
ที่มา http://www.junjao.com/