Advertisement
ความเชื่อแต่โบราณเรื่องการใช้น้ำปัสสาวะรักษาโรค
มีบันทึกนับย้อนหลังนานนับพันปี ว่าตำรับยาโบราณในประเทศจีนและอินเดีย มีการใช้น้ำปัสสาวะเด็กมาทำเป็นยากระสาย หรือ ตัวละลายยา ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุก็มีการใช้น้ำปัสสาวะ (น้ำมูตร) ดองลูกสมอ หรือ มะขามป้อม ไว้ฉันเป็นยารักษาโรค
ในวัฒนธรรมกรีกและโรมัน ก็มีบันทึกว่ามีการใช้น้ำปัสสาวะเป็นยารักษาโรค
ในสารานุกรมที่ตีพิมพ์ในเยอรมนีเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๐ ก็มีการกล่าวถึง สูตรยาผสมน้ำปัสสาวะใช้ทารักษาอาการผมร่วง ใช้หยอดตารักษาอาการเจ็บตา ใช้กลั้วคอ แก้อาการเจ็บคอ ใช้ดื่มรักษาโรคดีซ่าน เป็นต้น
ความเชื่อของคนไทยแต่โบราณก็มีในทำนองเดียวกัน ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน และมีการปฏิบัติกันอยู่ในคนบางกลุ่ม เช่น การใช้ผ้าอ้อมชุบน้ำปัสสาวะเด็กแล้วกวาดลิ้นเด็กเพื่อแก้อาการฝ้าขาว เพื่อบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันความเชื่อเหล่านี้ก็ค่อยๆ จางหายไป ท่ามกลางความก้าวหน้าทางวิทยาการแผนใหม่ หากมีใครกล่าวอ้างว่า น้ำปัสสาวะเป็นยารักษาโรค ผู้คนก็จะมองว่า เป็นสิ่งสกปรก ไร้สาระ แล้วอยู่ๆ ทำไมจึงเกิดกระแสนิยมระลอกใหม่เกิดขึ้นในช่วงนี้กันเล่า
นับย้อนหลังเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ ท่านนายกรัฐมนตรีของอินเดียในขณะนั้น ที่มีชื่อว่าโมราลจี เดซาย วัย ๘๑ ปีประกาศว่า ท่านได้ดื่มน้ำปัสสาวะบำรุงสุขภาพมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว และญาติพี่น้องของท่านก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน ท่านผู้นี้ได้มีอายุยืนยาวต่อมาอีกหลายปี และได้ให้การสนับสนุนแก่ขบวนการรณรงค์ดื่มน้ำปัสสาวะเพื่อสุขภาพ ท่านมีอายุ ๙๙ ปี (ถึงแก่กรรมเมื่อปี ๒๕๓๘) ในวงการดื่มน้ำปัสสาวะเพื่อสุขภาพ หรือ ”ปัสสาวะบำบัด” (urine therapy) ทั่วโลกจึงยกท่านเป็นตัวอย่าง และถือว่าท่านเป็นบิดาแห่งวงการปัสสาวะบำบัดในยุคโลกาภิวัตน์
ต่อมาในปี ๒๕๓๕ มีนายแพทย์อาวุโส (อายุ ๘๐ ปี) ชาวญี่ปุ่น ชื่อนายแพทย์เรียวอิจิ นากาโอะ ผู้ซึ่งสนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องปัสสาวะบำบัด ได้เดินทางมาเผยแพร่ที่กรุงเทพฯ ยืนยันว่า น้ำปัสสาวะเป็นยาวิเศษ การดื่มน้ำปัสสาวะตนเอง สามารถรักษาโรคได้สารพัด รวมทั้งโรคยากๆ เช่น มะเร็ง และโรคเอดส์ ทำให้กลายเป็นข่าวเกรียวกราวในสังคมอยู่พักใหญ่ และมีการโต้แย้งอย่างคึกคัก ระหว่างฝ่ายที่เชื่อกับฝ่ายที่ไม่เชื่อ
แล้วคุณละคะมีความเชื่อหรือไม่ว่าน้ำปัสสาวะสามารถช่วยรักษาโรคต่างๆได้จริงหรือไม่
* ความเชื่อเหล่านี้ไม่ควรทำการทดลองค่ะ โปรดอ่าน..ด้วยวิจารณญาน.....ฉะนั้นแล.....
ขอบคุณ
หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 231ฉบับ เดือนธันวาคม 2543
วันที่ 17 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,195 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,182 ครั้ง เปิดอ่าน 7,266 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 8,521 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,171 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 22,154 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,854 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,188 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,440 ครั้ง |
เปิดอ่าน 113,910 ครั้ง |
|
|