Advertisement
นอกจากกระเป๋าใบใหญ่ รองเท้าส้นสูงปรี๊ด กางเกงยีนส์สุดฟิต ยังมีแฟชั่นอีกชิ้นที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างคาดไม่ถึง “แว่นกันแดด” กรอบสวยที่วางขายอยู่ทั่วไป คุณคิดว่าปลอดภัยต่อดวงตาคุณแล้วหรือไม่
ทุกวันนี้จุดประสงค์ของการสวมแว่นกันแดดเบี่ยงเบนไปกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ประดับกายหรือให้เข้ากับแฟชั่นเสื้อผ้าเท่านั้น ซึ่งแว่นที่ผลิตจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานจะไม่สามารถป้องกันรังสียูวีไม่เพียงทำให้การมองภาพผิดเพี้ยน ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุขณะขับขี่รถ ทำให้กล้ามเนื้อตาหรือประสาทตาล้า เกิดอาการข้างเคียง วิงเวียนศีรษะตามมา ที่สำคัญ หากใส่เป็นเวลานานยังเสี่ยงเกิดโรคต้อเนื้อ ต้อลม หรือต้อกระจกได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแว่นกันแดดที่ใช้ได้มาตรฐานหรือไม่
เช็คคุณภาพแว่น
ก่อนซื้อทุกครั้งควรดูใบแจ้งคุณภาพว่าแว่นทำจากวัสดุชนิดใดผู้ที่มีความจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับแสงแดดจ้า เช่น ขับรถในเวลากลางวัน เล่นกีฬาหรือทำงานกลางเปลวแดด ควรเลือกแว่นกันแดดชนิดโพลาลอยด์ ซึ่งมีส่วนประกอบของโพลาไรซ์เพลต มีคุณสมบัติป้องกันแสงที่สะท้อนผ่านเลนส์ ไม่ทำให้สายตาพร่ามัว ทั้งยังช่วยตัดแสงที่เข้ามากระทบกับดวงตาได้ดีอีกด้วย
ป้องกันรังสี UVA และ UVB ได้หรือไม่ ดูจากค่า CE บนฉลากที่ทำกับแว่น ตามหลักฐานขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ว่า แว่นกันแดดที่ได้มาตรฐานอย่างน้อยต้องสามารถป้องกัน UVA ได้ 95 เปอร์เซนต์ และ UVB 99 เปอร์เซ็นต์
กรองแสงได้กี่เปอร์เซ็นต์ หากต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความสว่างมาก เช่น นักปีนเขาควรเลือกเลนส์ที่สามารถลดความเข้มแสงได้สูงถึง 97 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการใช้งานทั่วๆไป เช่น การเดินเล่นตามชายหาดหรือขับรถ เลือกเลนส์ที่ตัดแสงได้ 70-90 เปอร์เซ็นต์ ก็นับว่าเพียงพอแล้ว
เลนส์ต้องไม่ทำให้เกิดความบิดเบี้ยวหรือกระจายสีรุ้ง วิธีการตรวจสอบความบิดเบี้ยวทำได้ง่ายๆ โดยการจ้องมองเลนส์ข้างหนึ่งไปยังภาพวัตถุที่เป็นเส้น(เช่น แนวเส้นกระเบื้องปูพื้น) จากนั้นขยับแว่นช้าๆ เลนส์ที่ดีต้องไม่ทำให้เส้นตรงนั้นเปลี่ยนเป็นคดงอในขณะขยับแว่น
เลือกสีเลนส์ให้เหมาะ
เลนส์สีชา น้ำตาล หรือเทา ไม่เพียงเหมาะสวมใส่ในสภาพแดดจ้า โดยเฉพาะแดดชายทะเลหรือบนภูเขา แว่นกันแดดที่มีกระจกเลนส์สีนี้จะช่วยให้มองเห็นโครงร่างต่างๆ ของวัตถุได้อย่างชัดเจน ในวันที่ท้องฟ้าขมุกขมัวมีหมอกจัด แว่นชนิดนี้ยังทำหน้าที่เสมือนไฟตัดหมอกของรถยนต์ช่วยให้ผู้สวมใส่มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น
เลนส์สีเหลืองหรือทอง เหมาะกับการใช้ในภูมิประเทศที่มีหิมะ ไม่เหมาะใส่ขณะขับรถ เพราะอาจทำให้การมองสีไฟจราจรผิดเพี้ยนไป
เลนส์ม่วงหรือสีกุหลาบ เหมาะกับใช้ในการเดินป่าล่าสัตว์หรือเล่นกีฬาทางน้ำ
เลือกเลนส์คุณภาพดี อาจจ่ายแพงหน่อย แต่แลกกับสุขภาพตาคู่สวย ถือว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม
รู้ไหมว่า
รังสีอัลตร้าไวโอเลตทั้งสองชนิดนี้ต่างก็ทำลายนัยต์ตา UVB ดูดซึมที่แก้วตา ถ้ารับแสงจ้านานเกินควรอาจจะทะลุไปที่จอรับภาพได้ ส่วน UVA จะดูดซึมเข้าไปได้ลึกกว่า
ที่มา www.kroobannok.com
วันที่ 17 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,350 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 20,099 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,827 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,074 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,332 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,075 ครั้ง |
|
|