Advertisement
แขนขาชา มองเห็นภาพซ้อน เดินเซ พูดไม่ชัด อาการที่อาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันภายในเวลาไม่กี่นาทีเหล่านี้ อาจทำให้หลายคนต้องเป็นโรคอัมพาต แต่หากมาพบแพทย์เพื่อรักษาภายใน 3 ชั่วโมง ก็จะรอดพ้นได้
น.พ.จิระพัฒน์ อุกะโชค หัวหน้าศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพญาไท 3 กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า โรคอัมพาตอัมพฤกษ์ เป็นอาการที่เกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง จนทำให้สมองส่วนนั้นขาดเลือด ขาดออกซิเจน และสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยง ทำให้เนื้อสมองส่วนนั้นทำงานไม่ได้ และถ้าเป็นมาก หรือนาน เนื้อสมองส่วนนั้นก็จะตายในที่สุด ทำให้เกิดอาการต่างๆ ที่พบบ่อยคือ แขนขาอ่อนแรง ที่เรียกว่า เป็นอัมพาตอัมพฤกษ์
หากพบอาการที่เป็นสัญญาณเตือนและรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาได้ถูกต้อง จะทำ ให้มีโอกาสหายเป็นปกติได้ ทั้งนี้ เนื้อสมองแต่ละส่วนทำหน้าที่ต่างๆ กันไป อาการของโรคนี้จึงเป็นไปได้หลายอย่าง
น.พ.จิระพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า อาการที่เป็นสัญญาณเตือนของโรค ได้แก่ แขนขาชา อ่อนแรงหรือขยับไม่ได้ มือเท้าปากเบี้ยว เดินเซ เห็นภาพซ้อน หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง หากพบอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะถ้าไม่มีเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์สมองจะทนได้ประมาณ 5 นาทีเท่านั้นก็จะตาย ถ้ามีเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองบ้างแต่ไม่เพียงพอเซลล์สมองก็อาจทนได้ประมาณ 3 ชั่วโมงแล้วก็จะตาย
หากเนื้อสมองตายในปัจจุบันยังไม่มียาหรือวิธีรักษาใดที่จะทำให้เนื้อสมองส่วนนั้นฟื้นคืนชีวิตมาได้ ดังนั้น การให้ยาเพื่อละลายลิ่มเลือดหรือสิ่งที่อุดตันหลอดเลือดสมอง เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้อีก ก็จะไม่มีประโยชน์ เพราะเนื้อสมองตายไปแล้ว และอาจจะมีผลเสีย หากเนื้อสมองส่วนที่ตายไปทนเลือดที่เข้าไปเลี้ยงใหม่ไม่ได้ จนเกิดเลือดตกในเนื้อสมอง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย
น.พ.จิระพัฒน์ กล่าวว่า ถ้าผู้ป่วยมาหาแพทย์เร็วและดำเนินการวินิจฉัยตามขั้นตอนต่างๆ ได้เสร็จภาย ใน 3 ชั่วโมงนับจากเริ่มมีอาการ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดสมองอยู่เพื่อให้รูในหลอดเลือดสมองกว้างขึ้น เลือดจะได้ไหลไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น อาจจะช่วยให้เนื้อสมองส่วนนั้นไม่ตายหรือเกิดหย่อมเนื้อสมองตายน้อยลง แต่เนื่องจากยานี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ที่สำคัญอาจทำให้เลือดตกในสมองได้ ซึ่งแพทย์จะต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคสมองตีบตันหรืออุดตัน แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ตามสาเหตุ คือ สาเหตุที่หนึ่ง เนื่องจากผนังหลอดเลือดด้านในมีไขมันที่สะสมกันหนา รูภายในหลอดเลือดจึงตีบลง จนเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ ไข มันในเลือดสูงทำให้มีไขมันไปสะสมตามผิวด้านในของหลอดเลือด ความดันสูงและเบาหวานทำให้ผนังหลอดเลือดด้านในเสื่อมและหนาตัวขึ้น สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ การติดเชื้อการอักเสบของหลอดเลือด อุบัติเหตุที่หลอดเลือด เป็นต้น
ส่วนสาเหตุที่สอง เนื่อง จากมีอะไรบางอย่างไปอุดรูหลอดเลือดสมอง ขัดขวางการไหลของเลือดทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองได้ลดลง สิ่งที่ไปอุดหลอดเลือดสมองที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ลิ่มเลือดจากหัวใจ และก้อนเกล็ดเลือดจากผนังหลอดเลือด สาเหตุอื่นๆ ที่พบน้อยกว่า ได้แก่ ก้อนเซลล์มะเร็ง ฟองไขมัน ฟองอากาศ เป็นต้น
"ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจร่างกายอยู่เป็นประจำ เพื่อดูว่ามีโรคที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบตันอุดตันหรือไม่ ถ้าพบและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ นอกจากนี้ การปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกสุขลักษณะก็มีส่วนทำให้หลอดเลือดสมองแข็งตัวจนเกิดการอุดตันได้ ได้แก่ การสูบบุหรี่ การกินอาหารที่มีไขมันมากเป็นประจำ การมีน้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์ การไม่ออกกำลังกาย ภาวะเครียดเป็นประจำ หากปรับเปลี่ยนให้สิ่งเหล่านี้ จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงได้" น.พ.จิระพัฒน์กล่าวแนะนำ
|
วันที่ 17 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 11,191 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,134 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 21,910 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,168 ครั้ง |
เปิดอ่าน 45,443 ครั้ง |
เปิดอ่าน 57,511 ครั้ง |
เปิดอ่าน 349,986 ครั้ง |
|
|