ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

นิ้วล๊อค...!! ...>>>>


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,154 ครั้ง
Advertisement

นิ้วล๊อค...!! ...>>>>

Advertisement

ภาวะนิ้วล๊อค

   
   

ภาวะนิ้วล๊อค หรือโรคนิ้วล๊อคกำลังเป็นที่สนใจในขณะนี้ เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้บ่อย รบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก
ภาวะนิ้วล๊อคหรือ “Trigger Digit” รวมทั้งที่เกิดที่นิ้วหัวแม่มือ (Trigger Thumb) และนิ้วมือ (Trigger Finger) ซึ่งความหมายคำว่า “Trigger” นั้น แปลตามพจนานุกรมคือ ภาวะที่มีการสะดุดหรือติดสะดุด สามารถเรียกโรคนี้ได้ว่า “โรคนิ้วติดสะดุด” ส่วนอาการล๊อคนั้นจะเป็นระยะสุดท้ายของโรค ซึ่งข้อนิ้วมือจะไม่สามารถเหยียดออกเองได้ หรือออกมาได้ด้วยความยากลำบาก
โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุประมาณ 40-50 ปี โดยมากจะเกิดกับผู้ที่ใช้มือทำงาน ในลักษณะที่เกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น กลุ่มแม่บ้านที่ต้องทำงานบ้าน แม่ครัวที่ต้องใช้มือทำงานมากๆ เป็นต้น กลุ่มนี้สาเหตุอยู่ที่การหนาตัวขึ้นของปลอดหุ้มเส้นเอ็นตรงบริเวณปลายมือ (A1-pulley) คนปกติมีปลอกหุ้มเส้นเอ็นชนิดนี้หุ้มเส้นเอ็นด้วยกันทุกคน แต่เส้นเอ็นจะสามรถลอดผ่านได้อย่างง่ายโดยไม่มีการบีบรัด ซึ่งในภาวะนิ้วติดสะดุดนี้ จะมีการหนาตัวของปลอกหุ้มเส้นเอ็นมากขึ้นจากสาเหตุที่มีการเสียดสี หรือมีแรงกดภายในปลอกหุ้มเส้นเอ็นเป็นเวลานานๆ เช่น พฤติกรรมการใช้มือดังกล่าวมาแล้ว โดยอาจมีความหนาเพิ่มขึ้นจากปกติ 5-7 เท่า นอกจากความหนาที่เพิ่มขึ้นแล้ว ความยืดหยุ่นก็ลดลง ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ จะเกิดการบีบรัดเส้นเอ็นขึ้นทีละเล็กทีละน้อย จนทำให้เกิดอาการตามมาดังต่อไปนี้

  • ระยะแรก จะมีอาการปวดบริเวณปลายมือและนิ้วมือที่ถูกบีบรัด ถ้าใช้นิ้วมืออีกข้างกดไปที่บริเวณปลายมือจะมีอาการเจ็บขึ้นมา ระยะนี้ยังไม่มีอาการติดสะดุดให้เห็น สามารถตอบสนองดีต่อการรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ การพักการใช้นิ้วมือ การปรับกิจกรรม การใช้นิ้วมือให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งการฉีดสเตียรอยด์เข้าเฉพาะที่
  • ระยะที่ 2 อาการปวดมักจะเพิ่มมากขึ้น ระยะนี้จะเริ่มมีก้อนคลำได้ที่ปลายมือ ถ้างอนิ้วไปมาจะคลำได้ก้อนที่วิ่งผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็น ระยะนี้จะมีการติดสะดุด ซึ่งอาการมีได้ตั้งแต่สะดุดเล็กน้อยจนถึงอาการสะดุดมากจนน่ารำคาญ ควรให้การรักษาเหมือนระยะแรก แต่ผลการรักษาจะแย่กว่า โดยเฉพาะถ้ามีอาการติดสะดุดมากกว่า 3 เดือน มักจะไม่หายสะดุด ซึ่งอาจต้องได้รับการผ่าตัดตัดปลอกหุ้มเอ็นออก
  • ระยะที่ 3 จะมีการล็อคของนิ้ว ในบางรายจะไม่สามารถเหยียดนิ้วออกมาได้ หรือทำได้ด้วยความลำบาก ระยะนี้มักจะลงเอยด้วยการผ่าตัด ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นออก

การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ ในการรักษาโรคนิ้วติดสะดุด
เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก ส่วนมากผู้ป่วยมักจะหายเจ็บและบางรายจะรู้สึกว่าอาการติดสะดุดลดลง ส่วนข้อจำกัดการฉีดยาแบบนี้ก็มี เช่น ไม่สามารถฉีดได้บ่อยๆ การฉีดไม่ควรเกิน 1-2 ครั้งในรอบ 1 ปี โดยประสบการณ์ส่วนตัวจะฉีดไม่เกิน 1-2 ครั้ง ถ้าไม่ดีขึ้น จะแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน หรือพวกที่มีเยื่อหุ้มเอ็นอักเสบ เช่น รูมาตอยด์ การฉีดยาแบบนี้จะได้ผลไม่ดีเท่าในผู้ป่วยปกต


วิธีการฉีดยา        
โดยทั่วไปจะใช้ยาผสมกับสเตียรอยด์ในหลอดเดียวกัน ฉีดผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นผ่านเนื้อเส้นเอ็นเข้าไปในช่องว่าง วิธีนี้จะต้องแทงเข็มผ่านเส้นเอ็นและยาจะเข้าไปในพื้นที่ที่จำกัด จะทำให้มีความดันเกิดขึ้นมาก ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดค่อนข้างมาก และถ้าฉีดเข้าไปในเนื้อเส้นเอ็นจะเกิดการฉีกขาดของเส้นเอ็น
เนื่องจากความเจ็บปวดและข้อแทรกซ้อนดังกล่าว จึงได้มีการคิดวิธีฉีดแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งรายงานแล้วได้ผลดีไม่แตกต่างจากวิธีอื่น และยังลดอาการปวดของผู้ป่วยได้ดีขึ้น เช่น การฉีดยาชานำไปก่อนที่บริเวณง่ามนิ้วมือและฉีดยาผ่านเข้าไป โดยไม่ต้องแทงเข็มผ่านตัวเนื้อเส้นเอ็น ซึ่งจากการฉีดยาแบบนี้พบว่าให้ผลการรักษาที่ดีไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บมากเหมือนวิธีดั้งเดิม และน่าจะลดโอกาสเกิดการขาดของเส้นเอ็นได้

การรักษาโดยการผ่าตัด
วิธีการผ่าตัดมาตรฐาน ผู้ป่วยควรได้รับการผ่าตัดในห้องผ่าตัดที่มีระบบควบคุมการติดเชื้อเป็นอย่างดี มีการใช้เสื้อคลุมผ่าตัดที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้ว โดยขั้นตอนการผ่าตัดนั้นไม่ยุ่งยาก สามารถฉีดยาชาเฉพาะที่ได้ และผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวดเลยขณะผ่าตัด หลังจากฉีดยาชาเสร็จแล้ว ทำการลงมีดผ่าตัดโดยแผลจะยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตร จากนั้นจะใช้ตัวกันเพื่อให้เส้นประสาทที่วิ่งอยู่ทั้งสองข้างออกไป จะเห็นปลอกหุ้มเส้นเอ็นอย่างชัดเจน จากนั้นทำการตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นออก และศัลยแพทย์ยังสามารถมองเห็นการเคลื่อนที่ไปมาของเส้นเอ็นได้โดยตรง และทำการเย็บปิดประมาณ 2-3 เข็ม ซึ่งถ้าทำโดยศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญแล้ว โอกาสเกิดข้อแทรกซ้อนแทบจะไม่มีเลย

วิธีการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่สงสัยมีเยื่อหุ้มเอ็นอักเสบร่วมด้วย
การรักษาจะเหมือนกับวิธีแรก แต่การลงแผลจะลงใหญ่กว่า เพื่อสามารถตัดปลอกหุ้มเอ็นและเยื่อหุ้มเอ็นได้หมด ถ้าไม่สามารถตัดได้หมด อาจมีปัญหาตามมาได้ หรือต้องได้รับการผ่าตัดรอบที่ 2

วิธีการผ่าตัดแบบปิด
วิธีการนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันในประเทศไทย เริ่มแรกจะทำการใช้เข็มเข้าไปเขี่ยและตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นออก โดยไม่ต้องมีแผล พบว่ามีข้อแทรกซ้อนค่อนข้างสูง คือมีการบาดเจ็บของเส้นประสาท โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งตำแหน่งของเส้นประสาทจะใกล้กับปลอกหุ้มเส้นเอ็นมากประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยังมีการบาดเจ็บของเส้นเอ็นที่อยู่ใต้ปลอกหุ้มเส้นเอ็นด้วย ต่อมามีการพัฒนาเครื่องมือให้ดีขึ้นและพบว่ามีข้อแทรกซ้อนที่น้อยลง
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นการรักษาแบบวิธีปิด ซึ่งใช้ความรู้สึกและประสาทสัมผัสในขณะผ่าตัด โดยที่ไม่สามารถเข้าไปมองเห็นปลอกหุ้มเส้นเอ็นได้โดยตรง ประกอบทั้งปลอกหุ้มเส้นเอ็นในบริเวณนี้ (A1 pulley) มีการเคลื่อนที่ไปมาได้ มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทหรือเส้นเอ็นภายในโดยไม่ได้ตั้งใจ อีกทั้งยังมีปัญหาในเรื่องความสะอาด ซึ่งถ้ามีเชื้อโรคหลุดเข้าไปในเนื้อเยื่อหุ้มเส้นเอ็นนั้น จะเกิดอาการติดเชื้อที่มีข้อแทรกซ้อนที่รุนแรงมากตามมาได้
ดังนั้น โดยความเห็นส่วนตัวและความเห็นของศัลยแพทย์ทางมือ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ส่วนมากยังไม่แนะนำให้เป็นวิธีรักษามาตรฐานของการรักษาโรคนิ้วติดสะดุดหรือโรคนิ้วล็อค แต่ทำการผ่าตัดได้แผลยาวแค่ 0.8-1 เซนติเมตร ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 5-10 นาที สามารถใช้ยาชาเฉพาะที่ได้ และทำในห้องผ่าตัดที่สะอาดจะปลอดภัยกว่ามาก ซึ่งต่างจากการผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ ที่สามารถผ่าตัดโดยวิธีแบบกึ่งเปิดกึ่งปิด (Limited open carpal tunnel release) ปลอดภัยกว่าและให้ผลที่คุ้มค่ากว่า

การดูแลหลังผ่าตัด
ผู้ป่วยควรกำมือบ่อยๆ และยกมือสูง ไม่ควรให้แผลถูกน้ำ โดยทั่วไปจะตัดไหมประมาณ 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด

พังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ

สาเหตุของโรค
พังผืดภายในบริเวณข้อมือมีการหนาตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้ความดันภายในช่องข้อมือสูงขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณเส้นประสาทไม่ดี ทำให้มีอาการชาขึ้นมาได้ หรือสาเหตุทางทุติยภูมิอื่นๆ เช่น มีเยื่อหุ้มรอบเส้นเอ็นหนาตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้มีความดันสูงขึ้น โดยพังผืดไม่จำเป็นต้องหนาขึ้นก็ได้
อาการของโรค
โรคนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยกลางคน อาการเริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการชานิ้วมือ ซึ่งมักจะเป็นที่นิ้วกลางและนิ้วนาง รวมทั้งนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือก็ชาได้ เริ่มแรกอาการมักจะชาตอนกลางคืน สะบัดข้อมืออาการจะดีขึ้น หรือชาตอนทำงาน ต่อมาอาการชาจะเป็นมากขึ้นและบ่อยขึ้น จนกระทั่งชาเกือบตลอดเวลา นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีแรง มีของหลุดจากมือโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเป็นนานๆ โดยไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการอุ้งมือด้านข้างลีบได้
การรักษาเบื้องต้น
ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยก่อนว่าใช่โรคนี้หรือไม่ เนื่องจากอาจเป็นโรคอื่น หรือการกดทับเส้นประสาทที่ตำแหน่งอื่นก็ได้ นอกจากนี้ ยังต้องแยกสาเหตุทางทุติยภูมิออกไปด้วย ถ้าแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ การรักษาเบื้องต้นได้แก่
การลดความดันในโพรงข้อมือ ได้แก่

  1. การดามข้อมือ พบว่า ถ้าให้ข้อมืออยู่นิ่งๆ ตรงๆ จะมีความดันในโพรงข้อมือต่ำสุด ซึ่งจะทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงเส้นประสาทดีขึ้น ถ้าเป็นระยะแรก (พังผืดยังไม่หนามากนัก จะได้ผลค่อนข้างดี)
  2. ปรับการใช้ข้อมือในการทำงานและชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง พบว่า การทำงานที่ต้องใช้ข้อมือกระดกขึ้น หรืองอข้อมือซ้ำๆ กันนานๆ รวมทั้งงานที่มีการสั่นกระแทก จะทำให้ความดันในโพรงข้อมือสูงขึ้นได้ การปรับอุปกรณ์การทำงานให้ถูกตามหลักอาชีวศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
  3. ไม่พบว่ามียาที่ลดความดันในข้อมือที่ได้ผลจริงๆ ยกเว้นในรายที่เป็นโรคนี้แบบทุติยภูมิ เช่น จากภาวะรูมาตอยด์ และมีเยื่อหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น การให้ยาต้านโรครูมาตอยด์จะช่วยลดความดันในบริเวณข้อมือได้

การป้องกันการหนาตัวของพังผืด
ปกติใต้พังผืดจะมีเส้นเอ็นที่เราใช้งอนิ้วลอดผ่านอยู่ ถ้ามีการเกร็งจะทำให้มีแรงมากระทำต่อพังผืดนี้ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดการหนาตัวขึ้นมาได้ ในปัจจุบันทำได้เพียงให้ผู้ป่วยปรับกิจกรรมการทำงานให้มีการเกร็งและงอนิ้วมือลดลง การทำให้เส้นประสาทอยู่ในภาวะที่เหมาะที่สุด ได้แก่ การกินอาหารที่ดีครบหมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่เครียด หรือการเสริมวิตามิน B จะช่วยได้

การใช้ยาชาผสมสเตียรอยด์ฉีดเข้าไปในโพรงข้อมือ
วิธีนี้แพทย์จะใช้ยาชาผสมกับยาสเตียรอยด์ฉีดเข้าไป โดยจะหลีกเลี่ยงการฉีดตรงเส้นประสาท แต่จะฉีดไปในโพรงข้อมือรอบๆ แทน วิธีนี้พบว่าได้ผลดีเฉลี่ยประมาณ 40-50% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรค และปัจจัยอื่นๆ เช่น พบว่าในผู้ป่วยเบาหวาน รูมาตอยด์ จะตอบสนองต่อยาฉีดนี้น้อยลง
ถ้าการรักษาเบื้อต้นไม่ประสบความสำเร็จ และผู้ป่วยมีอาการชามากขึ้น ซึ่งในกรณีนี้อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยวิธีผ่าตัด

การผ่าตัดโรคพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ
โดยทั่วไปหลักการของการผ่าตัดโรคพังผืดทับเส้นประสาทในข้อมือ คือ การเข้าไปตัดพังผืดที่พาดผ่านบริเวณด้านหน้าข้อมือออก ซึ่งจะทำให้ช่องว่างในโพรงข้อมือเพิ่มขึ้นประมาณ 15-20% ทำให้ความดันในโพรงข้อมือลดลง และเลือดสามารถมาเลี้ยงเส้นประสาทได้ดีขึ้น

วิธีการผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ
มีหลายวิธี โดยวิธีที่ศัลยแพทย์นิยมทำกัน และยังถือว่าเป็นวิธีมาตรฐาน ได้แก่ การผ่าตัดแบบเปิด (open carpal tunnel release) ซึ่งทำในห้องผ่าตัด โดยวิธีการวางยาสลบ หรือฉีดยาที่เส้นประสาทบริเวณคอ-รักแร้ หรืออาจทำภายใต้ยาชาก็ได้ ซึ่งปัจจุบันนิยมทำภายใต้ยาชามากขึ้น เนื่องจากวิธีการฉีดยาชาค่อนข้างปลอดภัย ผู้ป่วยไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร และการผ่าตัดสามารถทำได้ด้วยความราบรื่น
นอกจากนี้ วิธีนี้มีประโยชน์กว่าวิธีอื่น คือ สาเหตุเปิดเห็นเส้นประสาทได้โดยตรง โอกาสบาดเจ็บต่อเส้นประสาทควรจะน้อยกว่า และสามารถทำผ่าตัดอื่นร่วมด้วยได้ เช่น ตัดเยื่อหุ้มเอ็นออกด้วย เป็นต้น

วิธีการผ่าตัดทางเลือกอื่น

  1. การผ่าตัดแบบเปิดแผลจำกัด (Limited open carpal tunnel release) วิธีนี้จะเปิดแผลประมาณ 1.5 เซนติเมตร ที่ฝ่ามือและสามารถตัดพังผืดออกได้เช่นเดียวกับวิธีแรก แต่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการตัด วิธีนี้จะมีแผลที่เล็กกว่า ผู้ป่วยกลับไปทำงานเร็วขึ้น ส่วนผลการรักษาก็พอๆ กับวิธีแรก
  2. การผ่าตัดผ่านกล้อง (Arthroscopic carpal tunnel release) วิธีนี้จะใช้กล้องส่องเข้าไปใต้ต่อพังผืดข้อมือ และตัดพังผืดออกจากด้านใน วิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยกลับไปทำงานตามปกติได้เร็วขึ้น และเนื่องจากปราศจากแผลผ่าตัดที่มือ ผู้ป่วยจึงไม่เกิดการปวดที่ฝ่ามือหลังผ่าตัด ซึ่งเป็นปัจจัยที่พบได้บ่อยในการผ่าตัดแบบเดิม

ควรจะเลือกวิธีไหน
สามารถทำได้ทุกวิธี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความชำนาญของศัลยแพทย์เป็นหลัก

      
   
 
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก HAND CENTER โรงพยาบาลเวชธานี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2734-0000

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1712 วันที่ 17 พ.ค. 2552

ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6


นิ้วล๊อค...!! ...>>>>นิ้วล๊อค...!!...>>>>

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ด้วยรอยยิ้ม

ด้วยรอยยิ้ม


เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง
ขออนุโมทนาบุญ

ขออนุโมทนาบุญ


เปิดอ่าน 7,191 ครั้ง
การพัฒนาคุณธรรม

การพัฒนาคุณธรรม


เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง
เคล็ดลับ....การแก้เผ็ด

เคล็ดลับ....การแก้เผ็ด


เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง
ถุงยางขวดเบียร์

ถุงยางขวดเบียร์


เปิดอ่าน 7,187 ครั้ง
นัดรอ...บ่พ้ออ้าย

นัดรอ...บ่พ้ออ้าย


เปิดอ่าน 7,173 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

มหัศจรรย์แห่งความงาม...วัดล้านขวด

มหัศจรรย์แห่งความงาม...วัดล้านขวด

เปิดอ่าน 7,193 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เทคนิคง่ายๆ"การตัดแต่งภาพเพื่อเปลี่ยนพื้นหลัง..".
เทคนิคง่ายๆ"การตัดแต่งภาพเพื่อเปลี่ยนพื้นหลัง..".
เปิดอ่าน 7,202 ☕ คลิกอ่านเลย

ผักใบเขียวอุดมอาหารสมอง กินมากช่วยปกป้องความจำ
ผักใบเขียวอุดมอาหารสมอง กินมากช่วยปกป้องความจำ
เปิดอ่าน 7,170 ☕ คลิกอ่านเลย

ขอเชิญดาว์นโหลด ....คู่มือฝึกโยคะเพื่อสุขภาพได้ที่นี่
ขอเชิญดาว์นโหลด ....คู่มือฝึกโยคะเพื่อสุขภาพได้ที่นี่
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย

เจ็บ
เจ็บ 'ตาปลา' ทำไงดี?
เปิดอ่าน 7,175 ☕ คลิกอ่านเลย

ท่องเที่ยว : พักหัวใจ ปล่อยวางชีวิตสบายๆ กับ "10 หาดสวยในเอเชีย-แปซิฟิค"
ท่องเที่ยว : พักหัวใจ ปล่อยวางชีวิตสบายๆ กับ "10 หาดสวยในเอเชีย-แปซิฟิค"
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย

แปลงข้อมูลจากหนังสือมาเป็นเอกสารใน MS Word
แปลงข้อมูลจากหนังสือมาเป็นเอกสารใน MS Word
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

รู้ไหม? ทำไมดาวอังคารไม่มีชั้นบรรยากาศ
รู้ไหม? ทำไมดาวอังคารไม่มีชั้นบรรยากาศ
เปิดอ่าน 24,833 ครั้ง

สาระดีๆ สำหรับครูที่ต้องการจัดทำผลงาน(คศ.3)
สาระดีๆ สำหรับครูที่ต้องการจัดทำผลงาน(คศ.3)
เปิดอ่าน 176,509 ครั้ง

ง่ายๆ นวดกดจุดฝ่าเท้าบำบัดโรคความดันโลหิตสูง
ง่ายๆ นวดกดจุดฝ่าเท้าบำบัดโรคความดันโลหิตสูง
เปิดอ่าน 11,902 ครั้ง

โอเมก้า 3 ใน ปลา ก็มีโทษ
โอเมก้า 3 ใน ปลา ก็มีโทษ
เปิดอ่าน 18,119 ครั้ง

เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา ปี 2555 (ว7-ว8)
เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา ปี 2555 (ว7-ว8)
เปิดอ่าน 20,035 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ