Advertisement
มนุษย์เราทุกคนล้วนอยากมีชีวิตที่ดี และมีความสุขด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็น่าแปลกว่า ในขณะที่เราต้องการ “ ความสุข ” หรือ “ ความสบายกายสบายใจ ” นั้น มนุษย์เรากลับดำเนินชีวิตที่พาตัวเราเอง ไปสู่หนทางแห่งความทุกข์เสียเป็นส่วนใหญ่ เช่น มีเงินเดือนพออยู่พอกินอยู่แล้ว แต่อยากจะเป็นเจ้าของ พวกเครื่องอำนวยความสะดวก หรือความทันสมัยทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นรถ มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ กระเป๋าเสื้อผ้าแบรนด์เนม จนต้องตั้งหน้าตั้งตาหาเงินตัวเป็นเกลียว หัวเป็นน็อต เพื่อให้ได้ของเหล่านี้มา ทำให้ตัวเองต้องลำบากหรือเป็นหนี้เป็นสิน และมีทุกข์ไม่จบสิ้น ดังนี้เป็นต้น ถ้าในทางพุทธศาสนา เขาก็ว่ากิเลส ตัณหา ความอยากมี อยากเป็น อยากได้ หรือไม่อยากมี ไม่อยากเป็น และไม่อยากได้นั่นเอง ที่ทำให้คนเราเป็นทุกข์ ซึ่งพระพุทธองค์ ก็ทรงมีแนวทางให้พุทธศาสนิกชนได้เลือกปฏิบัติ เพื่อความหลุดพ้นความทุกข์ในระดับต่างๆ กัน แต่ในที่นี้ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอนำ “เคล็ดลับแห่งความสุข” ที่แม้มิใช่ธรรมะโดยตรง แต่ก็เป็นกลวิธีที่เราทุกคน สามารถนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิด “ความสุขในเบื้องต้น” ได้อย่างง่ายๆ ดังนี้
1. เขาบอกว่า เคล็ดลับของความสุขข้อแรกคือ ต้องรู้จักการ เป็น “ ผู้ให้ ”การ“ ให้ ” ในที่นี้ จะเป็นสิ่งของ ความรู้ น้ำใจ ข้อแนะนำ หรือสิ่งอื่นใดก็ได้ที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นโทษต่อผู้รับ พระพุทธเจ้าบอกว่า “ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ ” นั่นก็หมายความว่า ใครก็ตามที่เป็น “ผู้ให้ ” ย่อมสร้างไมตรีให้เกิดขึ้นในใจของผู้รับ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี และเป็นมิตรต่อกัน ถ้าใครเคย “ให้” จะรู้ว่าใบหน้าที่เบิกบาน ยินดีของผู้รับ จะทำให้เราผู้ให้เกิดความสุข และปลื้มปีติเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ในยุทธภพเขาว่า “ ความสุขเป็นสิ่งประหลาดยิ่ง มันหาได้ลดน้อยลง เพราะท่านแบ่งปันแก่ผู้อื่นไม่ ท่านยิ่งแบ่งปันกับผู้อื่นมากขึ้น ความสุขที่ท่านมียิ่งเพิ่มพูน ”
2. หากัลยาณมิตร การมีเพื่อนที่ดี ย่อมทำให้ชีวิตของเรามีความสุข และมีความหมายยิ่งขึ้น เพราะอย่างน้อยเมื่อเราประสบความสำเร็จ ก็มีเพื่อนร่วมแสดงความยินดีด้วยอย่างจริงใจ หรือหากผิดหวัง พลาดพลั้งในชีวิต กัลยาณมิตรก็จะช่วยปลุกปลอบให้กำลังใจ หรือคอยแนะนำช่วยเหลือ ทำให้เราไม่รู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยวในโลกกว้างใบนี้ ในยุทธจักรเขาว่า “ท่ามกลางลมหนาวและพายุร้าย หากที่นั่นมีสหาย ทั้งหมดจะกลายเป็นลมหายใจอันอบอุ่น ที่ซึ่งมีมิตรแท้ จักอบอุ่นและเจิดจ้าตลอดกาล ”
3. ใช้ชีวิตเรียบง่าย ถ้าพูดแบบสมัยนี้ก็คือ ให้ดำรงชีวิตแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ รู้จักความเพียงพอ โดยเฉพาะในเรื่องปัจจัยสี่ อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค บางคนอาจจะสงสัยว่า เพียงพอในเรื่องยารักษาโรคนี่เป็นอย่างไร ก็คงต้องบอกว่าในปัจจุบัน หลายคนกินยาสารพัดทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น เพราะมีให้เลือกมากมาย ดังนั้น จึงต้องรู้จักประมาณตนในทุกเรื่อง อย่าตกเป็นทาสของลัทธิบริโภคนิยม ที่ต้องวิ่งตามโลกไม่ได้หยุดได้หย่อน เพราะจะทำให้เราเหนื่อยเกินไป และสร้างความท้อแท้ให้แก่ชีวิตได้ง่าย ยุทธจักรเขาบอกว่า “ในโลกนี้ก็มีแต่คนที่รู้จักพอ จึงสามารถได้ลิ้มรสความเบิกบานที่แท้จริง”
4. คาดหวังให้น้อยลง ชีวิตคนเราที่เป็นทุกข์สารพัดทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการ “คาดหวัง” เช่น หวังว่าจะสอบได้ที่ 1, หวังว่าจะได้ตำแหน่ง, หวังว่าเขาจะรักเรา, หวังว่าจะได้มรดก, หวังว่าเจ้านายจะขึ้นเงินเดือน, หวังว่าพ่อจะซื้อรถให้ ฯลฯ ความคาดหวังเหล่านี้ทำให้เราต้องพบกับ “ความผิดหวัง” อยู่เสมอ และทำให้เราหดหู่ ห่อเหี่ยวใจเมื่อไม่สมปรารถนา ดังนั้น หวังได้ แต่หวังให้น้อยลง และจงตั้ง “ความหวัง” ในสิ่งที่เป็นไปได้ และไม่ยากจนเกินความสามารถของเรา หากไม่ได้ดังหวังก็ต้องหัด “ปลง” เสียบ้าง ในยุทธภพจึงสอนว่า “ คนผู้หนึ่งขอเพียงปลงได้ตก ในโลกก็ไม่มีเรื่องใดควรคู่ให้ปวดร้าวกลัดกลุ้มอีก ”
5. จง "ละ “ ความโกรธ เกลียด ” ลงบ้างหลายๆ ครั้งในชีวิตเราอาจจะต้องเจอะเจอกับบุคคล เหตุการณ์หรือสถานที่ที่เราไม่พึงใจ ทำให้เราเกิดความรู้สึกโกรธ เกลียดในสิ่งที่พบ อยากจะหลีกลี้หนีห่าง แต่บางครั้งก็ไม่อาจจะหลบไปได้ ต้องทนอยู่กับคนหรือสิ่งที่เราเกลียดอยู่เสมอ ทำให้เกิดความเครียด และทุกข์ใจ ดังนั้น วิธีแก้ตรงจุดที่สุด คือ ต้องลดความโกรธหรือความเกลียด ที่เป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ให้น้อยลง ด้วยการอย่ามัวแต่เพ่งจับผิด แต่ให้ใช้หลักเมตตา และให้อภัย โดยเฉพาะกับคน หรือสัตว์ หรือหากยังทำใจเมตตาไม่ได้ อย่างน้อยก็ให้ “วางเฉย” คิดเสมอว่าอย่าให้สิ่งเหล่านี้ มามีอิทธิพลเหนือจิตใจเรา ซึ่งคนในยุทธภพเขาว่า “ความเปลี่ยนแปลง และการประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ คือชีวิตของคน หากท่านเข้าใจชีวิตคนอย่างถ่องแท้ ความเศร้าเสียใจของท่านจะลดน้อยลง และความสุขในใจจะเกิดขึ้น”
6. จง “ รักและพอใจงานที่ทำ ” เพราะมันเป็นส่วนสำคัญ และกินเวลาเกือบครึ่งค่อนของชีวิตของเรา หากเราไม่ “รักงาน” ของเราแล้ว ชีวิตที่เหลือคงเป็นทุกข์ไม่จบสิ้น และเราก็ต้องจมปลักไปกับความเบื่อที่ยาวนาน การที่เราจะรักงานที่เราทำได้ เราจะต้องพยายามศึกษาหาความรู้ในงานของเรา เพื่อให้รู้จักงานของเราอย่างถ่องแท้ จนพัฒนางานให้ก้าวหน้า อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จ และความภาคภูมิใจให้แก่ตัวเราเองได้ ยุทธจักรเขาว่า “ โชคของคน ย่อมไม่ร่วงหล่นลงมาจากฟ้าเอง ”
7. ทำตน “ใฝ่รู้” อยู่เสมอ เช่น อ่านหนังสือทุกชนิด เรียนคอมพิวเตอร์ อบรมภาษา ฯลฯ เพราะจะทำให้เราไม่ล้าสมัย หรือตกยุค แต่จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวาอยู่ตลอดเวลา ไม่เป็นคนอมทุกข์ เหงาหงอย เพราะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้ากับใครก็ได้ แวดวงยุทธจักรเขาว่า “คมดาบ ยิ่งฝนยิ่งแหลมคม คน ไยมิเป็นเช่นเดียวกัน ”
เคล็ดลับแห่งความสุขข้างต้น เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ยาก แต่เคล็ดลับของเคล็ดลับก็คือ ความตั้งใจที่จะเริ่มปฏิบัติตามกฎที่ว่า มิฉะนั้นแล้ว ความสุขที่เราปรารถนา ก็ยังจะเป็นทุกข์ที่เราเรียกหามันอยู่ทุกวัน เพราะความสำเร็จทั้งปวงก็ล้วนเริ่มต้นมาจากหยดน้ำเล็กๆ หาใช่เริ่มจากมหาสมุทรไม่
วันที่ 17 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,241 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,393 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,217 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 50,702 ครั้ง |
เปิดอ่าน 111,938 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,964 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,799 ครั้ง |
เปิดอ่าน 250,226 ครั้ง |
|
|