Advertisement
โรคเหน็บชา โดย นายแพทย์วิชัย ตันไพจิตร
ผลจากการขาดวิตามินบี๑
วิตามินบี๑ ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตโปรตีน และไขมัน เกิดเป็นกำลังงาน ทำให้สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ ช่วยในการสังเคราะห์สารเคมี ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกรดนิวคลิอิกและกรดไขมัน และมีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำกระแสความรู้สึกของเส้นประสาท เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี๑ จะทำให้การทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและระบบทางเดินอาหารแปรปรวนไปจากปกติ และถ้ารุนแรงมากขึ้น จะมีอาการแสดงของโรคเหน็บชา ซึ่งแตกต่างกันได้ตามอายุของผู้ป่วย
โรคเหน็บชาในเด็กเล็ก
ช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุด คือ ๒-๖ เดือน มักเป็นเด็กที่กินนมแม่ และแม่ขาดวิตามินบี๑ เด็กอาจมีอาการเด่นทางหัวใจ คือ หอบ เหนื่อย หัวใจเต้นเร็วและเขียว ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะถึงแก่กรรมได้ภายใน ๒-๓ ชั่วโมง เด็กอาจมีอาการเด่นทางระบบประสาท คือ เสียงแหบ เวลาร้องไม่มีเสียง อาจมีหนังตาบนตกกลอกลูกตาไปมา มือเท้าเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจ
โรคเหน็บชาในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
เด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเหน็บชา จะมีอาการชาที่ปลายมือ และปลายเท้า และเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง กล้ามเนื้อของแขนและขาไม่มีกำลัง ผู้ป่วยบางราย นอกจากมีอาการชาแล้ว ยังมีอาการบวมร่วมด้วย ถ้าเป็นมากจะมีหัวใจโตและเต้นเร็ว หอบ เหนื่อยและเสียชิวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
สาเหตุของโรคเหน็บชา
สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเป็นโรคเหน็บชาเกิดจากการกินอาหารที่ให้วิตามินบี๑ ไม่พอ ชาวไทยส่วนใหญ่กินข้าวที่ขัดสีแล้วเป็นอาหารหลัก ข้าวที่ขัดสีมีวิตามินบี๑ อยู่น้อย มิหนำซ้ำการซาวข้าว และหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ จะทำให้สูญเสียวิตามินบี๑ ไปอีกส่วนอาหารที่ให้วิตามินบี๑ มาก คือ เนื้อสัตว์และถั่วเมล็ดแห้ง ก็กินน้อย นอกจากนี้ ถ้ากินสารทำลายวิตามิน
บี๑ เป็นประจำ ยิ่งซ้ำเติมให้เป็นโรคเหน็บชาได้ไวขึ้นสารทำลายวิตามินบี๑ นี้ แบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ พวกที่ไม่ทนต่อความร้อน ได้แก่ เอนไซม์ไทอะมิเนส (thaiaminase) ซึ่งมีอยู่ในปลาน้ำจืด หอยลายและปลาร้าส่วนอีกพวกหนึ่งเป็นสารที่ทนต่อความร้อน พบได้ทั้งในปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็มหลายชนิด ใบชา ใบเมี่ยงหมาก และผักบางชนิดเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมลูก ผู้ใช้กำลังงานมาก เช่น นักกีฬา กรรมกร ชาวนา ภาวะที่เกิดโรคติดเชื้อ ภาวะที่มีไข้สูง โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ล้วนมีความต้องการวิตามินบี๑ มากขึ้น จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชาได้ง่าย นอกจากนี้ผู้ดื่มเหล้าเป็นประจำจะขาดวิตามินบี๑ ได้ง่ายเช่นกัน
การป้องกัน
โรคเหน็บชาไม่ใช่โรคที่เกิดจากความอดอยากหากแต่เกิดเพราะการรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วนการป้องกันอาจทำได้โดยส่งเสริมให้กินอาหารที่มีวิตามินบี๑ สูง เช่น เนื้อหมู ถั่วเหลือง ผู้ที่ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยวใบเมี่ยงเป็นประจำ ถ้าเลิกได้เป็นการดีที่สุดถ้าทำไม่ได้ก็ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยวใบเมี่ยงให้น้อยลง และควรทำในระหว่างมื้ออาหาร ผู้ที่ชอบกินปลาร้าดิบ ควรเปลี่ยนเป็นต้มให้สุกเสียก่อน เลิกดื่มเหล้าเป็นประจำเวลาเกิดการเจ็บป่วยก็ไม่อดของแสลง ทั้งๆ ที่อาหารเหล่านั้นมีคุณค่าทางโภชนาการ การหุงต้มทุกชนิดควรใช้น้ำแต่พอประมาณ เช่น ควรหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำส่งเสริมให้กินข้าวซ้อมมือ และรัฐควรวางมาตรฐานการสีข้าวของโรงสีต่างๆ เพื่อสงวนคุณค่าของวิตามินบี๑ ไว้
ตัวนี้เอาอยู่! สำหรับคุณครูที่ทั้ง "ร้อง เล่น เต้น สอน เปิดเพลง" รุ่นนี้เอาอยู่ ลองดู Sherman TS-101 Trolley Speaker Amplifier ลำโพงบลูทูธล้อลาก ขนาด 6.5 นิ้ว กำลังขับ 60W
฿1,790https://s.shopee.co.th/3VUQ2Kf9NU?share_channel_code=6
Advertisement
![กาฬโรคปอด Pneumonic Plague กาฬโรคปอด Pneumonic Plague](news_pic/p38269351446.jpg) เปิดอ่าน 18,011 ครั้ง ![การบริหารกล้ามเนื้อตา การบริหารกล้ามเนื้อตา](news_pic/p31576702101.jpg) เปิดอ่าน 18,498 ครั้ง ![ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 9 การเริ่มเล่นและการเริ่มเล่นใหม่ ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 9 การเริ่มเล่นและการเริ่มเล่นใหม่](news_pic/p63457171123.jpg) เปิดอ่าน 55,907 ครั้ง ![เตือนผู้ป่วยเบาหวานหมั่นตรวจตา ลดความเสี่ยงตาบอด เตือนผู้ป่วยเบาหวานหมั่นตรวจตา ลดความเสี่ยงตาบอด](news_pic/p29894761939.jpg) เปิดอ่าน 11,168 ครั้ง ![กินไข่สุก ๆ ดิบ ๆ มีโทษ กินไข่สุก ๆ ดิบ ๆ มีโทษ](news_pic/p83929920143.jpg) เปิดอ่าน 45,207 ครั้ง ![ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 16 การเตะเข้าเล่น ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 16 การเตะเข้าเล่น](news_pic/p49359531154.jpg) เปิดอ่าน 65,330 ครั้ง ![สรรพคุณของ "ปวยเล้ง" สรรพคุณของ "ปวยเล้ง"](news_pic/p29509560949.jpg) เปิดอ่าน 34,144 ครั้ง ![15 วิธีกับ 15 นาที ออกกำลังกายสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลา 15 วิธีกับ 15 นาที ออกกำลังกายสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลา](news_pic/p98561960611.jpg) เปิดอ่าน 14,927 ครั้ง ![ยาสามัญประจำบ้าน ยาสามัญประจำบ้าน](news_pic/p22383011132.jpg) เปิดอ่าน 26,092 ครั้ง ![โรคมะเร็งจอประสาทตา (Retinoblastoma) โรคมะเร็งจอประสาทตา (Retinoblastoma)](news_pic/p13030070031.jpg) เปิดอ่าน 18,710 ครั้ง ![เด็กกับโรคหวัด เด็กกับโรคหวัด](news_pic/p59875480617.jpg) เปิดอ่าน 16,709 ครั้ง ![สรรพคุณของ "ปลีกล้วย" สรรพคุณของ "ปลีกล้วย"](news_pic/p54945100723.jpg) เปิดอ่าน 80,952 ครั้ง ![ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 6 ผู้ตัดสินที่ 2 (THE SECOND REFEREE) ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 6 ผู้ตัดสินที่ 2 (THE SECOND REFEREE)](news_pic/p61059500228.jpg) เปิดอ่าน 34,557 ครั้ง ![พยาธิเส้นด้าย พยาธิเส้นด้าย](news_pic/p28563121007.jpg) เปิดอ่าน 34,902 ครั้ง ![จุฬาฯวิจัยสารสกัดดอกสะเดา มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ จุฬาฯวิจัยสารสกัดดอกสะเดา มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่](news_pic/p33373390812.jpg) เปิดอ่าน 19,471 ครั้ง ![กินหวานอย่างไรไม่อันตราย กินหวานอย่างไรไม่อันตราย](news_pic/p59625730024.jpg) เปิดอ่าน 19,352 ครั้ง
|
![เทควันโด : ประวัติกีฬาเทควันโด เทควันโด : ประวัติกีฬาเทควันโด](news_pic/p48977301018.jpg)
เปิดอ่าน 29,634 ☕ คลิกอ่านเลย |
!["ไบโอติน" วิตามินหลากหลายประโยชน์ "ไบโอติน" วิตามินหลากหลายประโยชน์](news_pic/p41415781817.jpg)
เปิดอ่าน 3,061 ☕ คลิกอ่านเลย | ![สีเสียด สีเสียด](news_pic/p22771941739.jpg)
เปิดอ่าน 19,572 ☕ คลิกอ่านเลย | ![ศึก เอล กลาซิโก้ คืออะไร ศึก เอล กลาซิโก้ คืออะไร](news_pic/p30283390649.jpg)
เปิดอ่าน 46,088 ☕ คลิกอ่านเลย | ![ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 1 สนามแข่งขัน (The Pitch) ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 1 สนามแข่งขัน (The Pitch)](news_pic/p46587621055.jpg)
เปิดอ่าน 136,784 ☕ คลิกอ่านเลย | ![อาหารกับการออกกำลัง อาหารกับการออกกำลัง](news_pic/p70237501646.jpg)
เปิดอ่าน 14,081 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ ![ความหมายของเทคโนโลยี ความหมายของเทคโนโลยี](news_pic/p18711521717.jpg)
เปิดอ่าน 55,641 ครั้ง | ![ประวัติความเป็นมา วันแม่ ประวัติความเป็นมา วันแม่](news_pic/p64258640920.jpg)
เปิดอ่าน 9,545 ครั้ง | ![หน้ามน-หน้ามล หน้ามน-หน้ามล](news_pic/p18510880023.jpg)
เปิดอ่าน 81,795 ครั้ง | ![บำรุงเลือดลม ช่วยย่อยอาหาร บำรุงเลือดลม ช่วยย่อยอาหาร](news_pic/p67267281018.jpg)
เปิดอ่าน 13,469 ครั้ง | ![สรุปสาระสำคัญเกณฑ์ย้ายครู ไม่ต้องรอ 4 ปี สรุปสาระสำคัญเกณฑ์ย้ายครู ไม่ต้องรอ 4 ปี](news_pic/p42405520507.jpg)
เปิดอ่าน 6,554 ครั้ง |
|
|