Advertisement
สดุดีพระพุทธศาสนา
ของ
นักปราชญ์ชาติต่างๆ ในยุโรป และสหรัฐอเมริกา
[English] [Thai] [E-mail]
|
Albert Einstein
"The religion of the future will be a cosmic religion. It should transcend a personal God and avoid dogmas and theology. Covering both the natural and the spiritual, it should be based on a religious sense arising from the experience of all things, natural and spiritual as a meaningful unity. Buddhism answers this description ………… If there is any religion that could cope with modern scientific needs, it would be Buddhism."
“ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล. ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา (คืออ้างเทวดาเป็นหลักใหญ่). ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนความสำนึกทางศาสนา ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย. พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้. -- ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา”
อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ (๑๘๗๙-๑๙๕๕)
นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน
ผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ
|
|
|
Professor Max Muller
“The Buddha’s moral code is the most perfect which the world has ever known.”
“ประมวลศีลธรรมของพระพุทธเจ้า สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยรู้จักมา.”
แมกซมึลเลอร์ (๑๘๒๓-๑๙๐๐)
ศาสตราจารย์ทางนิรุกติศาสตร์
ชาวเยอรมัน
ผู้นำในการศึกษาความรู้เกี่ยวกับตะวันออก
|
|
|
Albert Schweitzer
“………He gave expression to truths of everlasting value and advanced the ethics of not India alone but of humanity. Buddha was one of the greatest ethical men of genius ever bestowed upon the world.”
“……………พระองค์ (พระพุทธเจ้า) ได้ทรงแสดงออกซึ่งสัจธรรมอันมีคุณค่าเป็นนิรันดร และได้ทำให้จริยธรรมมิใช่ของอินเดียเท่านั้น แต่ของมนุษยชาติก้าวหน้าไป. พระพุทธเจ้าเป็นผู้หนึ่งในบรรดาอัจฉริยมนุษย์ทางศีลธรรม ที่โลกเคยได้มา.”
อัลแบร์ต ชไวเซอร์ (๑๘๗๕-๑๙๖๕)
แพทย์ นักสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส
นักเทววิทยา และนักดนตรี ผู้ได้รับ
รางวัลโนเบลทางสันติภาพ ในปี ๑๙๕๒ (พ.ศ. ๒๔๙๕)
|
|
|
Aldous Huxley
"Alone of all the great world religions, Buddhism made its way without persecution, censorship or inquisition. In all these respects its record is enormously superior to other religions, which made its way among people addicted to militarism."
“ในบรรดาศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของโลกทั้งหมด พระพุทธศาสนาเพียงศาสนาเดียว ที่ดำเนินไปโดยปราศจากการเบียดเบียนทางศาสนา การตรวจควบคุม และการซักถามสอบสวน (ซึ่งมีลูกขุนหรือ เจ้าหน้าที่ดำเนินการ เพื่อจะเอาผิด หรือควบคุมผู้ไม่นับถือ). ในแง่เหล่านี้ทั้งหมด ประวัติของ พระพุทธศาสนา ยิ่งใหญ่มากเหนือศาสนาอื่นซึ่งดำเนินไปในระหว่างประชาชน ผู้ติดอยู่กับระบบทหาร.”
อัลดัส ฮักซลี่ย์ (๑๘๙๔-๑๙๖๓)
นักนวนิยาย ชาวอังกฤษ
|
|
|
Professor Carl Gustav Jung
"As a student of comparative religions, I believe that Buddhism is the most perfect one the world has ever seen. The philosophy of the Buddha, the theory of evolution and the law of Karma were far superior to any other creed."
“ในฐานะเป็นนักศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระพุทธศาสนา
เป็นศาสนาที่สมบูรณ์ มากที่สุด ที่โลกเคยพบเห็นมา. ปรัชญาของพระพุทธเจ้า, ทฤษฎีวิวัฒนาการและกฎแห่งกรรม(ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) ยิ่งใหญ่เหนือลัทธิอื่นอย่างห่างไกล.”
ศาสตราจารย์คาร์ล กุสตาฟ จุง
(๑๘๗๕-๑๙๖๑)
นักจิตวิทยา ชาวสวิสส์
|
|
|
Buddhism in the eyes of ……….
พระพุทธศาสนาในสายตาของ ……..
|
|
|
Bertrand Russell
" Buddhism is a combination of both speculative and scientific philosophy. It advocates the scientific method and pursues that to a finality that may be called rationalistic. In it are to be found answers to such questions of interest as “What are mind and matter? Of them which is of greater importance? Is the Universe moving towards a goal? What is man’s position? Is there living that is noble ? It takes up where science cannot lead because of the limitations of the latter’s instruments. Its conquests are those of the mind."
“พระพุทธศาสนาเป็นการรวมกันของปรัชญาแบบเก็งความจริงกับวิทยาศาสตร์. ศาสนานั้นสนับสนุน วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และติดตามวิธีการนั้นจนถึงที่สุด ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุผล.ในพระพุทธศาสนาเราจะได้พบคำตอบที่น่าสนใจ เช่น “จิตใจกับวัตถุคืออะไร? ระหว่างจิตจกับวัตถุนั้นอย่างไหนสำคัญมากกว่ากัน? เอกภพเคลื่อนไปหาจุดหมายปลายทางหรือไม่? พระพุทธศาสนาพูดถึงเรื่องที่วิทยาศาสตร์ยังนำทางไปได้ไม่ เพราะความจำกัดแห่งเครื่องมือของวิทยาศาสตร์, ชัยชนะของ พระพุทธศาสนาเป็นชัยชนะทางจิตใจ.”
เบอร์ทรันด์ รัสเซล (๑๘๗๒-๑๙๗๐)
นักปรัชญา นักเขียน นักคณิตศาสตร์ และนักต่อสู้คัดค้านอาวุธนิวเคลียร์ ชาวอังกฤษ
ผู้ได้รับรางวัลโนเบลทางวรรณกรรม ในปี ๑๙๕๐ (พ.ศ.๒๔๙๓)
|
|
|
H. G. Wells
"Buddhism has done more for the advance of world civilization and true culture than any other influences in the chronicles of mankind."
“พระพุทธศาสนาได้กระทำไว้มาก ยิ่งกว่าอิทธิพลอื่นใดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
เพื่อความก้าวหน้าแห่งอารยธรรมของโลก และวัฒนธรรมที่แท้จริง.”
เอช. จี. เวลส์ (๑๘๖๖-๑๙๔๖)
นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ และนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ
ผู้ริเริ่มการเขียนนวนิยายทางวิทยาศาสตร์
|
|
|
Professor Carl Gustav Jung
"Buddha is the more complete human being. He is a historical personality and therefore easier for men to understand. Christ is at once a historical man and god, and therefore more difficult to comprehend."
“พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มาก. พระองค์เป็นบุคคลที่มีตัวจริงทางประวัติศาสตร์ ฉะนั้น จึงเป็นการง่ายที่คนทั้งหลายจะเข้าใจ. พระคริสต์เป็นบุคคลที่มีตัวจริงทางประวัติศาสตร์ และเป็นเทวดาในขณะเดียวกัน ฉะนั้น จึงยากมากที่จะเข้าใจได้.”
ศาสตราจารย์คาร์ล กุสตาฟ จุง
(๑๘๗๕-๑๙๖๑)
นักจิตวิทยา ชาวสวิสส์
|
|
|
J. Robert Oppenheimer
"If we ask, for instance, whether the position of the electron remains the same, we must say “no”; if we ask whether the electron’s position changes with time, we must say “no”; if we ask whether the electron is at rest, we must say “no”; if we ask whether it is in motion, we must say “no”. The Buddha has given such answer when interrogated as to the conditions of a man’s self after death; but they are not familiar answers for the tradition of 17th and 18th century science."
“ขอยกตัวอย่าง, เช่นเราถามว่า ฐานะของอีเลกตรอนเป็นอันเดียวกันใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่า ฐานะของอีเลกตรอนเปลี่ยนไปพร้อมกับกาลเวลาใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่. ถ้าถามว่า อีเลกตรอนหยุดพักใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่ามันเคลื่อนไหวใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่. พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานคำตอบเช่นเดียวกัน เมื่อทรงได้รับคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ของตัวตนของมนุษย์ภายหลังความตาย แต่คำตอบเหล่านั้นมิใช่คำตอบที่คุ้นกับจารีตประเพณีของวิทยาศาสตร์ สมัยศตวรรษที่ ๑๗
และ ๑๘.”
เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์
(๑๙๐๔-๑๙๗๖)
นักฟิสิกส์ ชาวอเมริกัน ผู้นำในการพัฒนาระเบิดปรมาณู
|
|
|
Arthur Schopenhauer
"If I am to take the results of my philosophy as the standard of truth, I should be obliged to concede to Buddhism the pre-eminence over the rest. In any case, it must be satisfaction to me to find my teaching in such close agreement with a religion professed by the majority of men. This agreement must be all the more satisfactory because in my philosophizing, I have certainly not been under its influence."
“ถ้าข้าพเจ้าจะถือเอาผลแห่งปรัชญาของข้าพเจ้าว่าเป็นมาตรฐานแห่งความจริง ข้าพเจ้าก็ควรมีข้อผูกพันที่ต้องยอมรับพระพุทธศาสนาว่าเด่นเป็นพิเศษเหนือศาสนาที่เหลือ. อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องเป็นที่น่ายินดีสำหรับข้าพเจ้าที่ได้พบว่า คำสอนของข้าพเจ้า เข้ากันได้อย่างใกล้ชิดกับศาสนาซึ่งมนุษย์ส่วนมากนับถือ. การเข้ากันได้นี้ ต้องเป็นที่น่าพอใจมาก เพราะในการคิดปรัชญานั้น
ข้าพเจ้ามิได้อยู่ใต้อิทธิพลของศาสนานั้น (พระพุทธศาสนา) อย่างแน่นอน.”
อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์
(๑๗๘๘-๑๘๖๐)
นักปรัชญา ชาวเยอรมัน
|
|
[English ] [Thai] [E-mail]
mahamakuta.inet.co.th: A foundation established in support of Buddhistic education and practice.
วันที่ 16 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,170 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 18,904 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,283 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,958 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,528 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,240 ครั้ง |
|
|