การบริหาร : การจัดองค์กรโรงเรียน
เรียบเรียงโดย พระครูปลัดจิตติชัย จิตฺติชโย
“การบริหาร” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Administration” คำนี้นิยมใช้กับองค์การทางรัฐกิจ หรือราชการ มีหัวหน้าที่เรียกว่า “ผู้บริหาร” (Administrator) รับผิดชอบ ส่วนอีกด้านหนึ่งมีการใช้คำว่า “การจัดการ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Management” คำนี้นิยมใช้กับองค์การทางธุรกิจ มีหัวหน้าที่เรียกว่า “ผู้จัดการ” (Manager) ทั้งสองคำมีความหมายเหมือนกันแต่นิยมใช้ต่างกัน ในที่นี้เรื่องของการบริหารสถานศึกษา ส่วนใหญ่จะเน้นโรงเรียนที่เป็นของรัฐบาล จึงขอใช้คำว่าการบริหารตลอดไป คำนี้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายทัศนะด้วยกัน ดังนี้
1. ชุบ กาญจนประกร กล่าวว่า “การบริหารหมายถึง การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ฉะนั้นคำว่าการบริหารงานนี้ จึงใช้กำกับแสดงให้เห็นลักษณะการบริหารงานแต่ละประเภทได้เสมอแล้วแต่กรณีไป แต่ถ้าเป็นการทำงานโดยบุคคลคนเดียว เราเรียกการทำงานเฉย ๆ เท่านั้น”
2. สมพงศ์ เกษมสิน กล่าวว่า “การบริหารคือการใช้ศาสตร์และศิลปะ นำเอาทรัพยากรการบริหารมาประกอบการตามกระบวนการบริหาร ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ”
3. จุมพล สวัสดิยากร กล่าวว่า “การบริหารคือการที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงานเพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน”
4. พนัส หันนาคินทร์ กล่าวว่า “การบริหารหมายถึงกระบวนการที่ผู้บริหารให้อำนาจตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ ที่มีอยู่หรือคาดว่าจะมี จัดการดำเนินงานของสถาบันหรือหน่วยงานนั้น ๆ ให้ดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ” (หวน พินธุพันธุ์, 2528 : 2 – 3)
จากความหมายที่กล่าวแล้ว พอสรุปได้ว่า การบริหารเป็นเรื่องของ
(1) คณะบุคคล มิใช่คนใดคนหนึ่ง
(2) มีเป้าหมายที่คณะบุคคลกำหนดร่วมกัน เห็นพ้องต้องกัน
(3) มีกิจกรรม การงาน หรือการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายนั้น ซึ่งทุกคนต้องร่วมกันทำร่วมกันรับผิดชอบ โดยมีผู้บริหารเป็นผู้นำซึ่งต้องอาศัยหลักวิชาความรู้ที่ว่าด้วยศาสตร์และศิลป์ จึงจะทำให้การบริหารประสบความสำเร็จ
5. ภิญโญ สาธร กล่าวว่า “การบริหารการศึกษาคือกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน และสมาชิกของสังคมในทุก ๆ ด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดี และมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผน (หวน พินธุพันธุ์, 2528 : 7)
6. สมบูรณ์ พรรณาภพ กล่าวว่า “การบริหารการศึกษาคือการดำเนินการต่าง ๆ ของกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมให้มีความเจริญงอกงามในด้านต่าง ๆ อย่างเต็มที่ และเหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างเอกัตบุคคล เพื่อให้เขเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม” (หวน พินธุพันธุ์, 2528 : 7 – 8)
จากความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า การบริหารการศึกษาเป็นการดำเนินการของคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา จัดให้กับทุกคนที่เป็นสมาชิกของสังคมหรือชุมชน โดยมุ่งหวังที่จะให้เจริญงอกงามและเป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของชุมชน
ดังนั้นโรงเรียนหรือสถาบันทางการศึกษาในระดับต่าง ๆ ซึ่งต้องทำหน้าที่การบริหารการศึกษา มีผู้บริหารการศึกษาของโรงเรียนรับผิดชอบสูงสุดร่วมกับคณะครูและผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ รวมทั้งตัวแทนประชาชนด้านที่เข้ามาร่วมกิจกรรมการดำเนินในลักษณะต่าง ๆ จัดบริการทั้งทางวิชาการและอื่น ๆ ให้แก่คนทุกเพศทุกวัยในชุมชนนั้น ตลอดจนความต้องการของชุมชน และเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
งานบริหารโรงเรียน บางครั้งก็เรียกว่า “งานบริหารการศึกษา” หรือ “ภารกิจของการบริหารการศึกษา” ได้มีการแบ่งขอบข่ายของงานไว้หลายทัศนะด้วยกัน ดังนี้
1. Kimbrough และ Nunnery ได้แบ่งงานบริหารโรงเรียนไว้ 8 ประการด้วยกันคือ
1.1 งานพัฒนาองค์การและธำรงไว้ซึ่งองค์การ
1.2 งานบริหารหลักสูตรและการสอน
1.3 งานบริหารเศรษฐกิจการศึกษา
1.4 งานธุรการ
1.5 งานบริหารบุคลากร
1.6 งานกิจการนักเรียน
1.7 งานสร้างภาวะผู้นำในด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
1.8 งานด้านการประเมินผล การวิจัย และสร้างความเชื่อถือจากประชาชน
2. Ramseyer และคณะ ได้ทำการวิจัยงานบริหารโรงเรียน สรุปได้ 8 ประการดังนี้
2.1 งานพัฒนาการสอนและหลักสูตร
2.2 งานธุรการ การเงิน และบริการต่าง ๆ ของโรงเรียน
2.3 งานการเป็นผู้นำของชุมชน
2.4 งานบุคคล
2.5 งานอาคารสถานที่
2.6 งานจัดรถรับส่งนักเรียน
2.7 งานจัดระบบบริหารโรงเรียนให้ถูกต้อง
2.8 งานปกครองดูแลนักเรียน
3. Smith กับคณะ ได้แบ่งงานของผู้บริหารการศึกษาไว้ 7 ประการ คือ
3.1 งานวิชาการ
3.2 งานบุคคล
3.3 งานกิจการนักเรียน
3.4 งานการเงิน
3.5 งานอาคารสถานที่
3.6 งานสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
4. Campbell และคณะ ได้แบ่งภารกิจของงานบริหารการศึกษาไว้ 6 งานใหญ่ คือ
4.1 งานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมนุมชน
4.2 งานด้านหลักสูตรและการสอน
4.3 งานด้านกิจการนักเรียน
4.4 งานด้านการบริหารงานบุคคล
4.5 งานด้านการบริการอาคารสถานที่ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
4.6 งานด้านธุรการและการเงิน (เชาวน์ มณีวงษ์, 2528 : 7)
5. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้แบ่งงานบริหารการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาไว้ 6 งาน และได้แบ่งสัดส่วนให้ความสำคัญกับงานต่าง ๆ ดังนี้
5.1 งานวิชาการ
5.2 งานบริหารบุคคล
5.3 งานบริหารกิจการนักเรียน
5.4 งานธุรการ – การเงิน
5.5 งานอาคารและสถานที่
5.6 งานสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
|
40 %
20 %
20 %
10 %
5 %
5 %
|
6. การวิจัยของนิสิตนักศึกษาวิชาบริหารการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับงานบริหารการศึกษาของอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษาต่าง ๆ พบว่ามีงาน 5 ประเภท และจัดอันดับความสำคัญของงานไว้ดังนี้
งานด้านต่าง ๆ
|
เขตการศึกษา
|
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
11
|
12
|
กทม.
|
1. งานด้านวิชาการ
2. งานบริหารงานบุคคล
3. งานบริหารกิจการนักเรียน
4. งานธุรการ การเงินและการบริการ
5. งานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
|
3
2
4
1
5
|
4
2
3
1
5
|
4
3
1
2
5
|
2
1
4
3
5
|
2
3
4
1
5
|
4
1
3
1
5
|
3
1
4
2
5
|
3
2
1
4
5
|
2
1
2
4
5
|
3
2
1
4
5
|
4
1
3
2
5
|
4
2
3
1
5
|
3
4
2
1
5
|
(นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์, 2525 : 98 – 99)
7. งานของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบไปด้วย
7.1 งานการผลิตกำลังคน ตามความต้องการของสังคม ในสาขาวิชาการและวิชาชีพต่าง ๆ
7.2 งานการพัฒนาบุคคล ให้มีความรู้และคุณธรรมที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาประเทศ
7.3 งานค้นคว้าวิจัย
7.4 งานบริการทางวิชาการแก่สังคม
7.5 งานทำนุบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม
ซึ่งอาจสรุปได้ว่า มีงานการสอน งานค้นคว้าวิจัย งานบริการทางวิชาการแก่สังคม และงานทำนุบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2522 : 42 – 45)
จากการศึกษางานบริหารการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับแล้ว โรงเรียนหรือสถานศึกษาทุกระดับ มีงานหลัก 4 ประการ ดังนี้
1. งานวิชาการ
2. งานบริการชุมชน
3. งานค้นคว้าวิจัย ทั้งในส่วนที่ผลิตเอง และส่วนที่นำผลวิจัยมาใช้เผยแพร่
4. งานทำนุบำรุงรักษามรดกทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี (เชาวน์ มณีวงษ์, 2528 : 6)
<<กลับ | 1 | 2 | ถัดไป>>