กลับมาพบเป็นฉบับที่ ๒ ถือเป็นพุทธธรรมที่จะนำเอาสาระแห่งธรรมมาฝากท่านผู้อ่าน ช่วงนี้เป็นบรรยากาศของการปิดภาคเรียน นับว่าเป็นเวลาของการพักผ่อน เมืองเชียงใหม่เป็นดินแดนของมนต์เสน่ห์มีธรรมชาติ หรือที่นักวิชาการเรียกจนติดปากว่า “ทุนทางสังคม” มีสังคม วัฒนธรรม ประเพณี แม้กระทั้งความเชื่อที่มาศึกษาเรียนรู้ ผู้ใดได้ผ่านประตูเข้าสู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ เมื่อกลับไปมักจะถูกมนต์เสน่ห์แห่งนี้ดึงให้กลับมาอีกครั้ง นั้นเป็นบทเกลิ่นนำ
วันนี้ผู้อ่านทั้งหลายมาเริ่มด้วยพุทธภาษิตที่ว่า
โย สหสฺสํ สหสฺกสน สงฺคาเม มานุเส ชิเน
เอถญจ เชยฺยมตฺตานํ ส เว สงฺคามชุตฺตโม.
ผู้ใดพึงชนะหมู่มนุษย์ในสงครามถึงล้านคน ส่วนผู้ชนะตนคนเดียวซื่อว่าเป็นผู้สูงสุด กว่าผู้ชนะในสงครามนั้น อีกภาษิตหนึ่งที่ว่า อตฺตาหเว ชิตํ เสยฺโย ยาจารยํ อิตรา ปชา. ตนแล อันใดชำนะแล้วประเสริฐ ส่วนหมู่สัตว์ที่เขาชำนะแล้วไม่ประเสริฐเท่า เป็นความจริงที่มิอาจปฏิเสธได้ว่าความสุขของชีวิตเราอีกประการหนึ่งคือการเอาชนะตนเองทั้งทางกาย วาจาและใจ ความสุขในความพอใจ พออยู่พอกิน หรือพออย่างอื่น
ดังนั้นถ้าเราจะเอาชนะตนได้ที่ต่อจากเรื่องที่ผ่านมาที่ว่าด้วยความรักต่อมีข้อที่ควรพิจารณาประการหนึ่งว่าผู้ที่ปรารถนาความรักนั้น ที่แท้แล้วต้องการอะไร? หลายคนอาจตอบว่าต้องการความสุข ซึ่งความรักและสิ่งที่รักนั้นจะบันดาลให้เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่ายังไม่มีความสมบูรณ์ในตน จึงต้องการสิ่งภายนอกมาชดเชยเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ก็คือเมื่อทราบแน่ว่าผู้อื่น หรือสิ่งอื่นไม่สามารถสนองความต้องการอันพร่องอยู่ของตนให้เต็มแล้ว ผู้นั้นก็มักจะเลิกรักหรือเกลียดชังสิ่งนั้นไปเลยก็มี ดังนั้นความปรารถนาในความรัก จึงมีความหมายเท่ากับความต้องากรความสมบูรณ์แห่งตน ต้องการเพิ่มสิ่งที่ตนรู้สึกว่ายังขาดอยู่ เช่น คนขาดความรักในทำนองบุตรก็ปรารถนาบุตร ขาดความรักในทำนองคู่รักก็ปรารถนาคู่รัก ขาดความรักในลักษณะพี่น้องก็ปรารถนาพี่น้องเป็นต้น โดยนัยนี้ คนทีมีความสมบูรณ์ในตน จึงไม่ปรารถนาความรักหรือสิ่งที่รัก กล่าวคือ สามารถมีความสงบสุขอยู่ได้โดยลำพังตนเอง
อุปกรณ์ หรือปัจจัยสำคัญของความสมบูรณ์ในตนก็คือดวงใจที่รักความสงบ มีความดำริในการปลีกตนออกจากกามหรือสิ่งยั่วยวนต่าง ๆ (เนกขัมมสังกัปปะ) เพราะเห็นสิ่งเหล่านั้นว่าความสุก ( ก ไก่) ร้อนไม่สุขเย็น เห็นอย่างชัดเจนด้วยปัญญาและด้วยดวงใจที่อบรมดีแล้วว่าการปรารถนาความสุขจากภายนอกนั้นไม่มีวันสนองความยากให้เต็มบริบูรณ์ได้เพราะโดยสภาวนแล้วสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องอยู่ในตนเพื่อได้สิ่งที่นั้นมา จึงต้องรับเอาความบกพร่องเข้ามาด้วย ตัวอย่างเช่นคนที่ต้องการความสุขจากการมีรถยนต์ ย่อมจะต้องมีทุกข์ มีภาระกังวลกับรถยนต์นั้นด้วยเป็นธรรมดา ผู้ต้องการความสุขจากการมีบุตร มีภรรยาหรือสามีก็ทำนองเดียวกัน ฯลฯ
เกี่ยวกับความรักต้องบุคคลอื่นนี้มีผู้พูดเสมอว่า ความรักของเขาบริสุทธิ์ (ซึ่งมีความหมายเพียงว่าเขารักจริงไม่ได้หลอกลวงหรือมีความคิดไม่ดีแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ด้วย) ปัญญาว่า ความรักต่อบุคคลอื่นที่เจือด้วยความใคร่ ความปรารถนา สนองตอบทางผัสสะนั้นเป็นของไม่บริสุทธิ์อยู่ในตัวเองแล้ว ความรักที่บริสุทธิ์ทำนองนั้นจะมีได้หรือไม เป็นไปได้หรือไม่ความรักทีมาในรูปของเมตตาหรือ กรุณา ซึ่งแผ่ตัวออกมาเป็นความปรารถนาดีและอยากให้สัตว์อื่นพ้นทุกข์นั้นแหละน่าจะพอเรียกได้ว่าเป็นความรักอันบริสุทธิ์ เพราะประกอบด้วยเหตุผลและปัญญา