Advertisement
❝ ขุนเขา ภูผาไม่หวั่นไหวเพราะแรงลม ฉันใด บัณฑิตผู้ฝึกตนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยคำนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น? ❞
หลักธรรมเสริมสร้างกำลังภายใน
ในวงการยุทธจักร จอมยุทธ์ที่มีกำลังภายในสูงสุด ย่อมเป็นผู้ที่มีพลังเหนือกว่า แต่ผู้ที่เข้าถึงเคล็ดลับวิชา ย่อมเป็นอาจารย์ของจอมยุทธ์ทั้งปวง ในสังคมมนุษย์ผู้ที่มีบารมีสูงสุด ย่อมเป็นคนเหนือคนหรือเป็นหัวหน้าคน แต่ในหมู่มนุษย์ผู้ที่เป็นหนึ่งไม่มีสองรองใคร คือ พระพุทธเจ้า เหตุที่พระพุทธองค์เพียบพร้อมไปด้วยพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ทั้งยังทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และเป็นบรมครูของโลก หาบุคคลเปรียบไม่ได้ ถ้าหากถามว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงเป็นผู้เหนือคนอื่น และสรรพสิ่ง เพราะพระพุทธองค์ทรงรู้ชัดแจ้งในความจริงอันประเสริฐ หลุดพ้นจากวงจรของการเวียนว่ายตายเกิด แล้วได้นำหลักธรรมที่ทรงค้นพบมาสั่งสอนมวลมนุษย์ให้รู้ตามและนำไปปฏิบัติตามเพื่อที่จะเข้าถึงความจริงอันประเสริฐ เพื่อที่จะได้ซึมซับรสพระธรรม แต่ในสังคมมนุษย์ที่มีการแก่งแย่งแข่งขันกันสูง เพื่อตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก ซึ่งถือว่าเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เป็นโลกไร้พรมแดน (Globalization) ที่ต้องวิ่งตามให้ทันการเปลี่ยนแปลง เป็นยุคที่หาความแน่นอนไม่ได้ บอกว่าไม่มีการปฏิวัติ ก็ยังมีการปฏิวัติเกิดขึ้น เป็นยุคที่ต้องการภูมคุ้มกันภายใน มีหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้ทันยุคทันเหตุการณ์ คือ กำลัง 5 ประการ คือ:
ประการที่ 1 กำลังคือความเชื่อ (Power of Faith) หรือภาษาบาลีว่า สัทธาพละ ตามหลักของสามัญชนโดยทั่วไปแล้ว ตราบใดที่ยังได้เป็นพระอรหันต์ (The Holy one) คนธรรมดาทั่วไปจิตใจยังหวั่นไหวได้ แต่ถ้าเรามีหลักคิดหลักให้แก่ใจ ก็ย่อมสามารถทำให้จิตใจไม่ให้หวั่นไหวไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลง ของโลกได้ ด้วยการสร้างกำลังความเชื่อ 4 ประการตามหลักการของพระพุทธศาสนา :
1. กัมมสัทธา คือ เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม และเชื่อว่าผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยการอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค
2. วิปากสัทธา เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง กรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
3. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของกรรมจะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน
4. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในความเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรมบัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์บำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง
ประการที่ 2. กำลังของความเพียรพยายาม (Power of energy or Diligence) หรือภาษาบาลีเรียกว่า วิริยาพละ มีคำกล่าวว่า “ลิขิตฟ้า หรือจะสู้มานะตน” ไม่ว่าจะอาศัยอะไรก็แล้วแต่ต้องอาศัยความพยายาม เหมือนนักไต่เขาอาชีพจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ การได้พิชิตยอดภูเขาที่สูงที่สุดในโลก ยอดภูเขาเอฟเวอร์เรสต์นั่นเอง ถ้าหากว่าเขาต้องการบรรลุจุดมุ่งหมายต้องอาศัยความเพียร ต้องพยายามปีนภูเขาลูกนั้นให้ได้ ความหมายของความเพียรคือการทำอย่างสม่ำเสมอ เหมือนกับการสั่งสมน้ำผึ้งของแมลงผึ้ง ก็ต้องอาศัยความเพียรพยายามเช่นเดียวกัน คนเรียนหนังสือถ้าไม่รู้จักอ่านหนังสือ ก็จะสอบตกได้ หรืออาจจะจบมาด้วยเกรดเฉลี่ยที่ไม่น่าภูมิใจ มีคำกล่าวไว้ว่า “กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จ ภายในวันเดียว” แต่ต้องอาศัยการทำไปทีละเล็กทีละน้อย สรุปได้ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ต้องอาศัยความเพียร
ประการที่ 3 กำลังคือความระลึกได้ (Power of Mindfulness) ภาษาบาลีเรียกว่า สติพละ ได้มีคำกล่าวว่า รู้ตัวเองให้ชัด บอกตัวเองให้ได้ คบตัวเองให้เป็น คุมตัวเองให้อยู่ เช่นตอนที่เราเป็นนักเรียนก็ต้องรู้ตัวเองให้ชัดว่าเราเป็นใคร บอกตัวเองให้ได้ว่าเรามีหน้าที่หลักคือเรียนหนังสือ หรือมีหน้าที่รับผิดชอบในหน้าที่การงานของตัวเอง ต้องใช้ตัวเองให้คุ้ม ทำงานหรือเรียนหนังสือให้เต็มความสามารถ นำตัวเองมาวิเคราะห์แยกแยะให้เห็นจุดเด่นจุดด้อยว่าเราเป็นคนอย่างไรคือ ต้องคบตัวเองให้ได้ มีคำกลอนที่นักปราชญ์กล่าวไว้ว่า “ตนของตน เตือนตน ให้พ้นผิด ตนเตือนจิต ตนได้ใครจะเหมือน ตนเตือนตนไม่ได้ ใครจะเตือน ตนแชเชือน ใครจะช่วยให้ป่วยการณ์” อาจจะเป็นคำโบราณซักหน่อยแต่ก็ยังใช้ได้เสมอ คุมตัวเองให้อยู่ ใช้สติเป็นเครื่องควบคุมจิตใจและกายเมื่อสามารถควบคุมจิตใจได้ ทุกอย่างจะเป็นไปตามอำนาจของจิตใจ ถือว่าสติเป็นกำลังภายในที่สำคัญประการหนึ่ง
ประการที่ 4 กำลังของความตั้งใจมั่น (Power of concentration) ภาษาบาลีเรียกว่า สมาธิพละ คือ จิตใจตั้งมั่นในฌาน 4 แต่ในฐานะที่เราเป็นปุถุชน ที่ยังต้องต่อสู้ดิ้นรนขวนขวายอยู่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ด้วยการทำจิตใจให้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามโลกธรรม 8 ประการคือ มีสุข ก็ต้องมีทุกข์, มีนินทา ก็ต้องมีสรรเสริญ, มีลาภ ก็ต้องมีเสื่อมลาภ, มียศ ก็ต้องมีเสื่อมยศ, ซึ่งสอดคล้องกับพุทธภาษิตที่ว่า “ขุนเขา ภูผาไม่หวั่นไหวเพราะแรงลม ฉันใด บัณฑิตผู้ฝึกตนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยคำนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น” ต้องเป็นคนที่ไม่มีจิตใจที่วอกแวกไปตามคำพูดหรือสิ่งที่มากระทบ ต้องมีอุดมการณ์ (Ideology) เมื่อตั้งจุดหมายอย่างใดไว้แล้ว ต้องทำให้สำเร็จให้ได้ เช่น มีคนจีนคนหนึ่งในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง อยู่ใกล้ ๆ กับแม่น้ำแยงซีเกียง ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้มีภูเขาขวางกั้นอยู่ ต้องการที่จะผันน้ำจากแม่น้ำมาใช้ มีผู้ชายคนหนึ่งเสนอความคิดว่า ต้องเจาะภูเขา ทะลุไปหาแม่น้ำ แล้วผันน้ำให้ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน มีคนบางคนบอกว่าเป็นไปไม่ได้ขอให้ล้มเลิกความตั้งใจเสียใหม่ แต่เขาก็ไม่ได้ล้มเลิกความตั้งใจ ลงมือเจาะภูเขาด้วยตัวของเขาเอง ทำการเจาะทุก ๆ วัน เป็นเวลา 10 ปี จนกระทั่งสามารถผันน้ำในแม่น้ำให้ไหลผ่านมาในกลางหมู่บ้านได้ นี้คือความที่มีจิตใจตั้งมั่น
ประการที่ 5 กำลังคือปัญญา (Power of wisdom) ภาษาบาลีเรียกว่า ปัญญาพละ มีพุทธภาษิตว่า “นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา ไม่มีแสงสว่างใด ที่จะส่องแสงสว่างได้เท่าปัญญา” แทบจะเรียกได้วาทุกอย่างในโลกนี้ เกิดขึ้นมาด้วยการใช้ปัญญาของมนุษย์ ไม่ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องบิน จรวด รถยนต์ สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นของมนุษย์ อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ ล้วนเกิดจากปัญญาของมนุษย์ที่เกิดจากการคิด อัลเบิร์ต ไอร์สไตร์ คิดค้นสูตรระเบิดปรมาณูขึ้นมาได้ก็ด้วยการใช้ปัญญาของมนุษย์ ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากการอ้อนวอนจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปัญญาเกิดจากการฟัง ปัญญาเกิดจากคิด และปัญญาเกิดจากลงมือปฏิบัติ เพียงแค่การฟัง เพียงแค่การคิด แต่ไม่ได้ลงมือทำ ก็ยังไม่บรรลุจุดหมายของการสร้างปัญญาหรือผลสำเร็จของปัญญา ดังมีคำกล่าวที่ว่า แสงไฟ แสงอาทิตย์ เป็นเพียงแสงสว่างที่ทำให้ตามองเห็นโลก ส่วนปัญญาเป็นแสงสว่างทางจิตวิญญาณช่วยให้เห็นธรรม เห็นทั้งโลกิยะ แลโลกุตระ ซึ่งสอดคล้องกับพุทธภาษิตที่กล่าวไว้ว่า “ไม่มีแสงสว่างใด ที่จะส่องแสงสว่างได้เท่าปัญญา” ด้วยที่เหตุที่ว่าปัญญาเป็นแก้วอันประเสริฐของมนุษย์
มนุษย์ทุกหมู่เหล่าหากมีการสร้างเสริมกำลังภายในตามหลักธรรมดังกล่าวมา ย่อมมีหลักประกันชีวิตทำให้เกิดความมั่นใจ ความแน่วแน่ ความเชื่อมั่นในศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่มีอยู่ในตนเอง ไม่มีความหวาดหวั่นต่อปัญหาอุปสรรค์ใด ๆ ทั้งสิ้นในการดำเนินชีวิต
วันที่ 16 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,214 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 9,027 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,719 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,352 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,026 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,948 ครั้ง |
|
|