Advertisement
การวิจัยมีกี่ประเภทกันแน่?
การแบ่งประเภทของการวิจัยขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ในการแบ่ง ซึ่งโดยทั่วไปมี 3 วิธี คือ แบ่งตามการนำผลการวิจัยไปใช้ ซึ่งมี 2 ประเภท คือ การวิจัยเชิงทฤษฏีหรือการวิจัยพื้นฐาน และการวิจัยประยุกต์ ถ้าแบ่งตามวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล จะมี 4 ประเภทคือ การวิจัยเอกสารหรือการวิจัยห้องสมุด การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงทดลอง และการวิจัยเชิงสังเกต ถ้าแบ่งตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย จะมี 3 ประเภท คือ การวิจัยเชิงบุกเบิก การวิจัยเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ถ้าแบ่งตามลักษณะของข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิจัย จะมี 2 ประเภท คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทั่วๆ ไปมักนิยมแบ่งประเภทของการวิจัยออกตามลักษณะของข้อมูลที่นำมาใช้ เนื่องจากเครื่องมือเชิงสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อการวิจัยแบ่งได้เป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ อาจจะกล่าวได้ว่า “เครื่องมือเชิงสถิติส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นวิธีวิเคราะห์สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ” แต่อย่างไรก็ตามการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพต่างก็มีทั้งข้อดี และข้อเสียในการนำไปใช้ ดังนั้น หากงานวิจัยสามารถใช้ทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพก็จะทำให้ผลงานวิจัยมีความถูกต้องเชื่อถือได้มากขึ้น กล่าวคือสัดส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณในงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรมากกว่าการวิจัยเชิงคุณภาพ แต่สัดส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพในงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ควรมากกว่าการวิจัยเชิงปริมาณ ยกเว้นงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ค่อนไปทางวิทยาศาสตร์ เช่น เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพจะเป็นดังนี้
ด้าน
|
การวิจัยเชิงปริมาณ
|
การวิจัยเชิงคุณภาพ
|
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
|
ส่วนใหญ่ใช้เวลามากกว่า
|
ส่วนใหญ่ใช้เวลาน้อยกว่า
|
ค่าใช้จ่ายในการทำวิจัย
|
ส่วนใหญ่ใช้งบประมาณมากกว่า
|
ส่วนใหญ่ใช้งบประมาณน้อยกว่า
|
เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย
|
ส่วนใหญ่ยุ่งยากและซับซ้อนกว่า
|
ส่วนใหญ่ไม่ค่อยยุ่งยากและซับซ้อน
|
ผลการวิจัย
|
ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์และความเชื่อถือได้ของข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์
|
ขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของผู้วิจัย
|
การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
|
ใช้ได้ในขอบเขตหรือพื้นที่ที่กว้างกว่า
|
ใช้ได้เฉพาะในขอบเขตและพื้นที่ๆ ทำการวิจัยเท่านั้น
|
วันที่ 16 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 29,073 ครั้ง |
เปิดอ่าน 69,561 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,961 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,208 ครั้ง |
เปิดอ่าน 69,134 ครั้ง |
|
|