กูรู
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กูรู (गुरू สันสกฤต) เป็นคำทับศัพท์ หมายถึง ครู หรือ อาจารย์ ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู มาจากปรัชญาความเชื่อในความสำคัญของการเข้าถึงความรู้ โดยมี กูรู หรือ อาจารย์เป็นผู้ชักนำไปสู่จุดสูงสุด ในประเทศอินเดียในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู และซิกข์ คำ กูรู นี้ยังคงความหมายของความศักดิ์สิทธิ์
อนึ่ง คำว่า
กูรู นี้เป็นการทับศัพท์ในภาษาอังกฤษ โดยสะกดว่า "
guru" ซึ่งหากทับศัพท์มาใช้ในภาษาไทย ก็จะต้องเขียน "คุรุ" ซึ่งมีศัพท์นี้อยู่แล้วในภาษาไทย เช่น คุรุสภา, คุรุศึกษา เป็นต้น (ในภาษาบาลีใช้ "ครุ" เช่น ครุศาสตร์, ครุภัณฑ์) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีความนิยมใช้คำว่า กูรู นี้ในเชิงการบริหารและการศึกษา หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขานั้นๆ
กูรู ในภาษาสันสกฤตนั้นยังใช้หมายถึง พฤหัสบดี ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งตรงกับเทพเจ้าจูปิเตอร์ของชาวโรมันนั่นเอง ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูนั้น ดาว จูปีเตอร์/กูรู/พฤหัสบดี ถือว่าเป็นดาวที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ในภาษาต่างๆ ของอินเดีย คำว่า พฤหัสปติวาร(วันพฤหัสบดี) จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าว่า คุรุวาร(วันกูรู) โดย วาร นั้นหมายถึงวัน
กูรู ในอินเดียในทุกวันนี้ใช้ในความหมายทั่วไป หมายถึง "ครู"
ในประเทศตะวันตก
กูรู ยังใช้ในความหมายที่กว้างขึ้นหมายถึง บุคคลที่เผยแพร่ศาสนา หรือ กลุ่มความเชื่อตามปรัชญาต่างๆ คำนี้ยังใช้ในความหมายเชิงอุปมา หมายถึงบุคคลผู้ซึ่งอยู่ในสถานะที่เชื่อถือได้ เนื่องมาจากความรู้ และความชำนาญ ที่เป็นที่ประจักษ์ และ ยอมรับ
ดึงข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B9