Advertisement
❝ ?งดจับปลาฤดูมีไข่ อนุรักษ์ไว้ใช้อย่างยั่งยืน" ❞
16 พ.ค. -15 ก.ย. 52 วันคุ้มครองปลาน้ำจืดมีไข่ทั่วประเทศ
กรมประมงได้ดำเนินนโยบายในการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อการอนุรักษ์ ด้วยการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการทรัพยากร สัตว์น้ำ ด้วยการควบคุมเครื่องมือทำการประมง การดูแลและเพิ่มความเข้มงวดในช่วงฤดูปลาน้ำจืดมีไข่ วางไข่และเลี้ยงตัววัยอ่อน รวมไปถึงการปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนได้ตระหนักและเข้าใจถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อรักษาไว้ใช้อย่างยั่งยืนต่อไปอย่างต่อเนื่องมาทุกปี
พร้อมกันนี้ทางกรมประมงยังได้ดำเนินการควบคุม ป้องกัน ตรวจติดตามและเฝ้าระวังการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำจืดในพื้นที่น้ำจืดไม่น้อยกว่า 3.5 ล้านไร่ ในแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศ และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และหวงแหนทรัพยากรสัตว์น้ำ ในท้องถิ่นของตนเอง โดยการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรประมง และอาสาสมัครอนุรักษ์สัตว์น้ำ เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่กรมประมงในการดูแล และแจ้งเบาะแสการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งกรมประมงได้เข้าไปดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำประมงอย่าง ถูกต้อง
ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า แม้ทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นทรัพยากร ธรรมชาติที่สามารถเกิดทดแทนได้ใหม่ในเวลาอันรวดเร็วก็ตาม แต่ถ้ามีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างมาก จนเกินสมดุลที่ธรรมชาติจะผลิตได้ทัน ทรัพยากรก็สามารถลดน้อยลงจนหมดไปได้ในที่สุดเช่นกัน ฉะนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นการนำทรัพยากรเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในปริมาณพอสมควรที่ธรรมชาติสร้างขึ้นทดแทนได้ ก็จะส่งผลให้ผลผลิตของทรัพยากร สัตว์น้ำคงอยู่คู่กับแหล่งน้ำสืบไป
“การจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้สามารถ ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และยาวนานนั้นสามารถ ทำได้หลายวิธี อาทิ การดูแลแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำในธรรมชาติ การปล่อยสัตว์น้ำทดแทน การควบคุมเครื่องมือทำการประมง การดูแลแหล่งวางไข่และเลี้ยงตัววัยอ่อน รวมถึงการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำด้วย” อธิบดีกรมประมง ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อสงวนพันธุ์สัตว์น้ำจืดที่กำลังมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัววัยอ่อนไว้ไม่ให้ถูกทำลายเกินควร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง กำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม-15 กันยายน ของทุกปีเป็นฤดูปลามีไข่ในน่านน้ำจืดในท้องที่ทุกจังหวัด
และในช่วงดังกล่าวนี้ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงด้วยเครื่องมือทำการประมง หรือด้วยวิธีใด ๆ ในที่จับสัตว์น้ำจืดในท้องที่ทุกจังหวัด โดยยกเว้นการทำการประมงในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือการทำการประมงเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือรวบรวมลูกสัตว์น้ำหรือสัตว์น้ำวัยอ่อนเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพาะเลี้ยงซึ่งต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมประมงก่อน รวมทั้งยกเว้นเครื่องมือประมงบางประเภท อาทิ เบ็ดทุกชนิด เว้นแต่เบ็ดราว ตะแกรง สวิง ช้อน ยอ และ ชะนาง ซึ่งมีขนาดปากกว้างไม่เกิน 2 เมตร ไซ ตุ้ม อีจู้ ลัน โปง และโทง
แต่ทั้งนี้เนื่องจากสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ของประเทศไทยในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกัน ช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงของสภาพน้ำที่เป็นผลสำคัญในการเอื้อต่อการวางไข่และเลี้ยงตัววัยอ่อนของสัตว์น้ำก็ย่อมที่จะแตกต่างกันด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเห็นชอบให้จังหวัดต่าง ๆ จำนวน 10 จังหวัดของประเทศกำหนดฤดูปลาน้ำจืดมีไข่และวางไข่เลี้ยงลูกเป็นการเฉพาะ ประกอบด้วย จังหวัดนคร นายก ลำปาง พังงา ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม-31 สิงหาคม จังหวัดลำพูน นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน-30 กันยายน จังหวัดหนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน-15 ตุลาคม จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 1 กันยายน-31 ธันวาคม จังหวัดพัทลุง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม-31 มกราคม ทั้งนี้หากมีผู้ฝ่าฝืนตามประกาศดังกล่าวนี้ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาทถึง 10,000 บาทหรือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
“การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำจะ ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถใช้ ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และยั่งยืน กรมประมงจึงได้จัดงานวันคุ้มครองปลาน้ำจืดมีไข่ โดยปีนี้ จัดในวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 ณ บริเวณ วัดหงษ์ปทุมาวาส อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เพื่อให้ประชาชนได้เกิดความรู้ความเข้าใจในมาตรการดังกล่าวอย่างกว้างขวาง โดยได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มชาวประมงและประชาชนในท้องถิ่นทั่วประเทศ ให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากร ตลอดจนตระหนักถึงความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำไว้ใช้อย่างยั่งยืนต่อไป จึงขอฝากคำขวัญไว้สั้น ๆ ว่า “งดจับปลาฤดูมีไข่ อนุรักษ์ไว้ใช้อย่างยั่งยืน” ดร.สมหญิง อธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้าย.
ขอบคุณเดลินิวส์ออนไลน์
วันที่ 16 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,171 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 20,763 ครั้ง |
เปิดอ่าน 57,687 ครั้ง |
เปิดอ่าน 57,758 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,526 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,014 ครั้ง |
|
|